จีนร้องอาเซียนร่วมมือสร้างสันติสุขในทะเลจีนใต้
นายกรัฐมนตรีหลี่ เคอะเฉียง ของจีน ยื่นไมตรีผุ้นำเอเชียระหว่างการประชุมในบรูไน ยืนยันต้องการให้ทะเลจีนใต้ มีความสงบ มิตรภาพและความร่วมมือ
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากกรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน เมื่อวันที่ 9 ต.ค.ว่า บรรดาผู้นำเอเชียมีท่าทีผ่อนคลายกรณีความขัดแย้งการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเล ที่สร้างความแตกแยก ในวันนี้ ขณะที่จีนมีความยืดหยุ่นทางการทูตมากขึ้น เนื่องจากการไม่มีประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ เข้าร่วมประชุมด้วย โดยนายกรัฐมนตรีหลี่ เคอะเฉียง ของจีน รับไม้ต่อจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางในการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปก บนเกาะบาหลีของอินโดนีเซีย เพราะประธานาธิบดีโอบามาติดภารกิจในประเทศ เนื่องจากการปิดหน่วยงานรัฐบาลกลาง เข้าร่วมประชุมในบรูไน
2 วันของการเจรจากันในบรูไน ซึ่งมีสหรัฐ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เข้าร่วมประชุมด้วย โดยนายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศ จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนแบกรับความผิดชอบที่ต้องแสดงให้เห็นว่า สหรัฐยังคงให้การสนับสนุนพันธมิตรในเอเชียอยู่ หลังจากที่ภูมิภาคเอเชียยังมีความวิตกกังวลกรณีการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนเกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ ที่ยังไม่มีการประนีประนอมของจีน
แต่นายกรัฐมนตรีหลี่ ก็ส่งสัญญาณว่า เขาจะขยายนโยบายประสานประโยชน์และความร่วมมือ (charm offensive) ที่ประธานาธิบดีสี เริ่มต้นไว้เมื่อต้นสัปดาห์นี้ โดยกล่าวว่า ความสัมพันธ์ของจีนกับภูมิภาคเอเชียอยู่ในจุดเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์ จีนไม่มีทางที่จะใช้รูปแบบเดิม ๆ ด้วยการใช้อำนาจบาตรใหญ่ หลังก้าวขึ้นเป็นประเทศที่แข็งแกร่ง
ขณะเดียวกัน นายหลี่ยังได้เรียกร้องให้สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ “สงบ, มิตรภาพ และความร่วมมือ” ขณะที่ เขายื่นไมตรีต่อบรรดาผู้นำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความกังวลเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในน่านน้ำยุทธศาสตร์ทะเลจีนใต้ นายหลี่กล่าวกับผู้นำระหว่างประชุมในบรูไนว่า ทะเลจีนใต้ที่สงบสุข เป็นความปรารถนาของทุกคน “เราต้องร่วมมือกันเพื่อทำให้ทะเลจีนใต้มีแต่ความสงบ มิตรภาพและความร่วมมือ” เขากล่าว
ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ต่างก็อ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ในทะเลจีนใต้เช่นกัน
ด้านกลุ่มประเทศอาเซียน ตกลงร่วมกันเมื่อวันพุธว่า จะใช้ระบบใหม่เพื่อปรับปรุงการตรวจสอบหมอกควันจากไฟป่า ซึ่งเป็นความพยายามหนึ่งที่จะทำให้บริษัทป่าไม้เข้ามารับผิดชอบมากขึ้น หลังจากเกิดวิกฤติมลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในภูมิภาคในรอบ 16 ปี
ขอขอบคุณที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
- สื่อจีนเดือดแนะรัฐให้บทเรียนเวียดนาม เหตุขัดแย้งแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลจีนใต้
- จีน-ลาวหารือสร้างทางรถไฟ
- จีนไม่ล้มแผนส่งแพนด้าให้มาเลย์ แม้เสียงโห่ร้องวิกฤต MH370 ดังกึกก้อง
- จีนสกัดเรือฟิลิปปินส์-อ้างล้ำน่านน้ำ
- 'ฟิลิปปินส์' ยื่นฟ้อง 'จีน' ต่อศาลUNแล้ว หนึ่งวันหลังกองกำลัง 2 ฝ่าย 'เผชิญหน้า' ในทะเลจีนใต้