ประชุมเออาร์เอฟมุ่งถกจีน-หมอกควันอินโดฯ
ประชุมเออาร์เอฟมุ่งหารือข้อพิพาทเขตแดนจีนกับเพื่อนบ้าน และกดดันอินโดฯให้ปฏิบัติการควบคุมปัญหาการเผาป่า
นักวิเคราะห์คาด ที่ประชุมระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิซิก ที่จะเปิดฉากขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ที่บรูไน จะเน้นหารือในเรื่องข้อพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างจีนกับเพื่อนบ้าน และปัญหาหมอกควันจากอินโดนีเซีย
การประชุมจะเริ่มต้นด้วยการหารือของ 10 ชาติสมาชิกอาเซียนในวันพรุ่งนี้ (30 มิ.ย.) ก่อนที่ในวันจันทร์ (1 ก.ค.) จะมีจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เข้าร่วมด้วย ก่อนจะถึงการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก และสหภาพยุโรป (อียู)
ในการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมือง และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเออาร์เอฟ ที่มีกำหนดหารือในวันสุดท้าย จะเป็นการประชุมร่วมกับจีน สหรัฐ รัสเซีย และประเทศสำคัญอื่นๆ ซึ่งคาดว่าการประชุมจะเต็มไปด้วยความดุเดือดอีกครั้ง จากการตอบโต้กันของจีนและสหรัฐ กรณีจีนปล่อยให้นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่สภาความมั่นคง หรือ เอ็นเอสเอ ที่โดนสหรัฐตั้งข้อหาจารกรรม เดินทางออกนอกประเทศ หลังเมจากปีที่แล้วเวทีเออาร์เอฟเกิดรอยร้าวจากความแตกแยกภายในอาเซียน กรณีการอ้างสิทธิของจีนในทะเลจีนใต้
นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ระยะหลังอาเซียนดูเหมือนว่ามีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น และจะกดดันจีนในการประชุมครั้งนี้ ให้เจรจาอย่างเร่งด่วนเรื่อง "หลักปฏิบัติ" ซึ่งมีความหมายถึงการผ่อนคลายความตึงเครียด พร้อมกล่าวว่าอาเซียนจำเป็นต้องยุติการทดสอบเจตจำนองของกันและกันในรูปแบบเช่นนี้ ซึ่งค่อนข้างอันตรายอย่างยิ่ง และอาจนำไปสู่การตีความผิดได้
นอกจากนี้ที่ประชุมจะพูดถึงความพยายามอินโดนีเซีย ในการสกัดการถางและเผาป่าเพื่อทำการเพาะปลูกที่ทำให้เกิดหมอกควันปกคลุมไปทั่วมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยทั้งสองประเทศถูกประชาชนเรียกร้องให้ใช้เวทีประชุมที่บรูไน กดดันอินโดนีเซียให้ปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและเชิงรุกมากขึ้น เพื่อควบคุมปัญหาการเผาป่า
ขอขอบคุณที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
- สื่อจีนเดือดแนะรัฐให้บทเรียนเวียดนาม เหตุขัดแย้งแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลจีนใต้
- จีน-ลาวหารือสร้างทางรถไฟ
- จีนไม่ล้มแผนส่งแพนด้าให้มาเลย์ แม้เสียงโห่ร้องวิกฤต MH370 ดังกึกก้อง
- จีนสกัดเรือฟิลิปปินส์-อ้างล้ำน่านน้ำ
- 'ฟิลิปปินส์' ยื่นฟ้อง 'จีน' ต่อศาลUNแล้ว หนึ่งวันหลังกองกำลัง 2 ฝ่าย 'เผชิญหน้า' ในทะเลจีนใต้