บทความน่ารู้จาก Exim: วิเคราะห์ต้นทุนรอบคอบขลงทุนในมาเลเซียราบรื่น
มาเลเซียนับเป็นอีกประเทศหนึ่งในอาเซียนซึ่งมีความน่าสนใจในการเข้าไปลงทุน ด้วยปจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์อันดีกับไทย เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย The Ecmist Itelliece Uit (EIU) คาดว่าเศรษฐกิจในช่วงปี 2556-2560 มีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ยราวร้อยละ 5 ต่อปี นอกจากนี้ มาเลเซียยังเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง ด้วยรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีในปี 2555 สูงถึง 10,390 ดอลลาร์สหรัฐ
เทียบกับไทยที่ระดับ 5,480 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันรัฐบาลมาเลเซียยังให้ความสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจประเภทต่างๆ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการก้าวไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในอนาคต ส่งผลให้ปัจจุบันโอกาสการลงทุนในมาเลเซียยังเปิดกว้าง โดยเฉพาะธุรกิจอาหารฮาลาลและธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีศักยภาพสำหรับนักลงทุนไทย เนื่องจากชาวมุสลิมในมาเลเซียมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่มาเลเซียมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และเป็น แหล่งรวมวัฒนธรรมหลายเชื้อชาติทั้งมาเลย์ จีน และอินเดีย ไว้ด้วยกัน ทำให้มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นผู้ประกอบการจึงไม่ควรมองข้ามโอกาสการลงทุนในมาเลเซียซึ่งเป็น อีกหนึ่งประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของไทย
การเข้าไปลงทุนในมาเลเซีย นอกจากผู้ลงทุนควรทราบข้อมูลด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดรอบคอบ อาทิ ความต้องการของตลาด หรือกฎระเบียบด้านการลงทุน สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ คือ ต้นทุนด้านต่างๆ ทั้งนี้ ต้นทุนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในมาเลเซีย มีดังนี้
- ค่าจดทะเบียนบริษัท ก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจในมาเลเซีย ผู้ประกอบการต่างชาติต้องติดต่อ Cmpaies Cmmissi f Malaysia (SSM) เพื่อจดทะเบียนบริษัท โดยมีค่าใช้จ่ายในการจองชื่อบริษัท 30 ริงกิต (ราว 300 บาท) และค่าจดทะเบียนบริษัทตามมูลค่าทุนเรือนหุ้น (Nmial Shae Capital) ดังนี้
มูลค่าทุนเรือนหุ้น (ริงกิต*) ค่าจดทะเบียน (ริงกิต)
ไม่เกิน 100,000 1,000
100,001 - 500,000 3,000
500,001 - 1,000,000 5,000
1,000,001 - 5,000,000 8,000
5,000,001 - 10,000,000 10,000
10,000,001 - 25,000,000 20,000
25,000,001 - 50,000,000 40,000
50,000,001 - 100,000,000 50,000
100,000,001 ขึ้นไป 70,000
หมายเหตุ : * อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2556 อยู่ที่ 3.2 ริงกิตต่อดอลลาร์สหรัฐ และ 9.9 บาทต่อริงกิต
ที่มา : Malaysia Ivestmet Develpmet Authity (MIDA), Suuhajaya Syaikat Malaysia (SSM)
ภาษีประเภทต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ
- ภาษีกำไร (Pfit Tax) ผู้ประกอบการท้องถิ่นและผู้ประกอบการต่างชาติต้องแสดงรายได้แก่ Ila Reveue Ba f Malaysia (IRBM) และเสียภาษีกำไรในอัตรา ดังนี้
ประเภทบริษัท อัตราภาษี (ร้อยละ)
บริษัทท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติ 25
บริษัทท้องถิ่นที่มีทุนชำระแล้ว (Pai-up Capital) ไม่เกิน 2,500,000 ริงกิต ตั้งแต่เข้าปีภาษี
- ส่วนที่ไม่เกิน 500,000 ริงกิตแรกของรายได้ที่ต้องเสียภาษี 20
- ส่วนที่เกิน 500,000 ริงกิตแรกของรายได้ที่ต้องเสียภาษี 25
ที่มา : MIDA, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (กระทรวงพาณิชย์)
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Pesal Icme Tax) ชาวต่างชาติที่ทำงานในมาเลเซียต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 26 (ไม่มีสิทธิ์หักค่าลดหย่อนส่วนบุคคล) ขณะที่ชาวมาเลเซียที่มีรายได้ตั้งแต่ 16,667 ริงกิตขึ้นไปหลังหักค่าลดหย่อนส่วนบุคคล เสียภาษีดังกล่าวในอัตราร้อยละ 1-26
- ภาษีการขาย (Sales Tax) และภาษีการบริการ (Sevice Tax) ภาษีการขายอยู่ที่ ร้อยละ 5-10 ขณะที่ภาษีการบริการอยู่ที่ร้อยละ 6
- ภาษีสรรพสามิต (Excise Duty) ผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้ายานพาหนะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในอัตรา ดังนี้
ประเภทยานพาหนะ อัตราภาษี (ร้อยละ)
รถมอเตอร์ไซค์ 20-30
รถยนต์ประเภทระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ (Fu Wheel Dive) 60-105
รถยนต์ทั่วไป 75-105
ที่มา : MIDA
- ต้นทุนด้านบุคลากร ค่าแรงขั้นต่ำของมาเลเซียอยู่ที่ 900 ริงกิต/เดือน ยกเว้นรัฐ Sabah รัฐ Saawak และเกาะ Labua อยู่ที่ 800 ริงกิต/เดือน
อัตราค่าจ้างแรงงานโดยประมาณจำแนกตามระดับตำแหน่ง อาทิ
ตำแหน่ง อัตราค่าจ้าง (ริงกิต/เดือน)
พนักงานรักษาความปลอดภัย (Secuity Gua) 742-1,827
เสมียน (Geeal Clek) 1,043-2,377
เลขานุการ (Secetay) 1,826-3,615
วิศวกรเครื่องกล (Mechaical Eiee) 3,192-5,920
ผู้จัดการด้านการเงิน/บัญชี (Fiace/Accuts Maae) 6,235-10,825
ผู้จัดการทั่วไป (Geeal Maae) 13,700-24,844
ที่มา : MIDA
ในการจ้างงานผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานของมาเลเซียอย่างเคร่งครัด โดย กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างมีจำนวนชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน หรือ 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องให้สิทธิ์ขั้นต่ำในการหยุดงานแก่ลูกจ้าง อาทิ
การลา (กรณีได้รับค่าจ้างแม้หยุดงาน) จำนวน (วัน/ปี)
ลาพักร้อน
ลูกจ้างทำงานน้อยกว่า 2 ปี 8
ลูกจ้างทำงานมากกว่า 2 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี 12
ลูกจ้างทำงานมากกว่า 5 ปี 16
ลาป่วย
ลูกจ้างทำงานน้อยกว่า 2 ปี 14
ลูกจ้างทำงานมากกว่า 2 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี 18
ลูกจ้างทำงานมากกว่า 5 ปี 22
ลาคลอด
ลูกจ้างทุกระดับอายุงาน 60
ที่มา : MIDA
ต้นทุนด้านพื้นที่ ค่าเช่าสำนักงานจำแนกตามพื้นที่ อาทิ
พื้นที่ ค่าเช่าเฉลี่ย
(ริงกิต/ตารางเมตร/เดือน)
Georgetown 27.00 - 30.00
Johor Bahru 27.00 - 32.30
Kota Kinabalu 27.00 - 32.30
Petaling Jaya 37.70 - 53.80
Kuala Lumpur** 64.60 - 102.25
หมายเหตุ : ** ไม่รวมค่าเช่าสำนักงานที่ตึก Petronas Twin Towers
ที่มา : MIDA
ทั้งนี้ ยังมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการลงทุนในมาเลเซียที่ผู้ประกอบการควรศึกษา อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ โดยสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.mia.v.my/ev3/ ของ Malaysia Ivestmet Develpmet Authity (MIDA)
Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด