[INFOQUEST] สกู๊ปพิเศษ: กรมตรวจบัญชีฯ เตรียมพร้อมก้าวสู่ AEC

ภารกิจบนความท้าท้ายของสำคัญของกรมตรวจบัญชีในปีนี้ นอกจากได้รประกาศเป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ โดยปรับทิศทางการดำเนินงานให้สอดรับและทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ยังได้เตรียมความพร้อมธุรกิจสหกรณ์ไทย และเร่งพัฒนาระบบบัญชีพร้อมเตรียมสู่การเปิดประชมคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี (AEC) ในปี 2558 อีกด้วย โดยมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข้งและความโปร่งใสในด้านการบริหารจัดการการเงินและการบัญชีให้กับสหกรณ์และเกษตรกรทั่วประเทศ ทั้งยังมุ่งยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้กับระบบบัญชี พร้อมพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่จะเข้าไปตรวจสอบบัญชีประจำปีเน้นให้สหกรณ์มีความโปร่งใสเพื่อลดปัญหาการทุจริตและให้การบริหารจัดการด้านการเงินและการบัญชีมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้เร่งเตรียมความพร้อมสนับสนุนประเทศไทยในการเข้าสู่เวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี (AEC) ในปี 2558 เบื้องต้นมีแผนเร่งพัฒนาศักยภาพผู้สอบบัญชีของกรมฯให้ได้มาตรฐาน ผู้สอบบัญชีระดับสากลเพื่อให้เป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant หรือ CPA) ตามมาตรฐานของสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งจะช่วยยกระดับองค์ความรู้ผู้สอบบัญชีกรมฯ ให้ทันต่อความก้าวหน้าของธุรกิจของสหกรณ์ที่มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ทั้งยังพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้มีความเข้มแข็ง และภายหลังผู้สอบบัญชีเกษียณอายุราชการ ยังมีความรู้ติดตัว และสามารถประกอบอาชีพหล่อเลี้ยงครอบครัวต่อไปได้

ปัจจุบันกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มีผู้สอบบัญชี ประมาณ 700-800 คน รองรับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรกว่า 11,000 แห่ง แต่มีผู้สอบบัญชีเพียงบางส่วนที่ได้รับการรับรองเป็น CPA จากสภาวิชาชีพบัญชีแล้ว อย่างไรก็ตามกรมฯ จำเป็นต้องเร่งผลักดันผู้สอบบัญชีสหกรณ์ให้เป็น CPA เพิ่มมากขึ้น และเป็นผู้สอบบัญชีอย่างมืออาชีพด้วย ซึ่งต้องใช้เวลาระยะพอสมควร เนื่องจากต้องผ่านการทดสอบหลายขั้นตอนและทำได้ค่อนข้างยาก

ทั้งนี้ การที่จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ต้องผ่านการฝึกหัดงานและผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสภาวิชาชีพบัญชี ดังนั้น ผู้สอบบัญชีต้องการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต้องมีความพยายามอย่างสูงและใส่ใจในการเรียนรู้ด้วย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีระดับสากล

อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวด้วยว่านอกจากจะพัฒนายกระดับผู้สอบบัญชีสหกรณ์ให้เป็น CPA แล้ว กรมฯยังมีแผนร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับการเลือกตั้งขึ้นมาตั้งแต่ 1-5 ราย/สหกรณ์ ถือเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญที่จะตรวจสอบการดำเนินงานของสหกรณ์อย่างต่อเนื่องว่ามีความโปร่งใสหรือไม่ น่าจะเป็นกลไกช่วยในการตรวจสอบและพัฒนาระบบควบคุมภายในของสหกรณ์ให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์อีกด้วย

กรมตำรวจบัญชีสหกรณ์ ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาผลกระทบภาคสหกรณ์ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอีกด้วย เพื่อศึกษาผลกระทบต่อภาคสหกรร์ไทยทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า สกรณ์มีโอกาสได้รับการสนับสนุนทางการเงินการบัญชีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ขณะที่ภาครัฐจะมีโอกาสไดรับการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในภูมิภาคอาเซียน ในการพัฒนาด้านการเงินบัญชีของสหกรณ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและทันต่อการเปลี่ยนแปลง และภาคเอกชนในประเทศจะมีการบูรณาการงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมสนับสนุนภาคสหกรณ์ให้ดำเนินกิจการด้วย

ส่วนผลกระทบด้านลบของสหกรณ์ คือ การขาดสภาพคล่องทางการเงินของแต่ละสหกรณ์และเกิดการขาดแคลนพนักงานการเงินการบัญชีที่มีความสามารถสหกรณ์ที่ไม่มีความพร้อมจะไม่สามารถแข่งขันได้ นาอกจากนั้น ยังพบว่า สหกรณ์ต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง สำหรับภาครัฐจะขาดการกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ทั้งยังขาดศักยภาพในการปฏิบัติงานและขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ใช้เงินงบประมาณไม่คุ้มค่า ขาดการสร้างนวัตกรรมที่จะส่งเสริมพัฒนาภาคสหกรณ์ให้ประสบความสำเร็จ และยังขาดการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการเงินการบัญชีของสหกรณ์ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

ทั้งนี้ คณะทำงานฯ เสนอแนะว่า ประเด็นเร่งด่วยที่ไทยต้องดำเนินการพัฒนาก่อนเข้าสู่ AEC  คือ ต้องพัฒนโครงพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ทั้งยังต้องเร่งผลักดันการออก/ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับให้สอดคล้องและเอื้อต่อการดำเนินกิจการของสหกรณ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ขณะเดียวกันต้องเร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งเจ้าหน้าที่สหกรณ์ และบุคลากรของรัฐให้มีความสามารถและมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ ในอาเซียน พร้อมเร่งพัฒนาระบบการบริหารภาครัฐให้เป็น E-Government และมีการให้บริการประชาชนในรูปแบบ E-Service รวมถึงการจัดตั้ง ASEAN Unit และพัฒนาบุคลากรเพื่อประสานงานเรื่องอาเซียนโดยเฉพาะด้วย" อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กล่าว

นายวิณะโรจน์ ยังได้แนะนำแนวทางการปรับตัวของภาคสหกรณ์ในการเข้าสู่ AEC ว่า สหกรณ์ไทยต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มสินค้าเกษตรที่มีโอกาส เพื่อยกระดับความสามารถของธุรกิจสหกรร์และการนำประโยชน์ไปสู่สมาชิก สำหรับสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจให้มีความเหมาะสมเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC นอกจากนั้น สหกรณ์ยังต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค และความเสี่ยงเชิงระบบ  อีกทั้งยังต้องเข้าถึงแหล่งเรีนนรู้และข้อมูลข่าวสาร สามารถเข้าถึงแหล่งปัจจัยการผลิต แหล่งทุน และตลาดเพื่อยกระดบสมรรถนะการแข่งขันให้สามารถขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียน และขยายฐานตลาดไปสู่ประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนด้วยอย่างไรก็ตาม ภาคสหกรณ์ต้องเร่งปฏิรูประบบการเรียนรู้แก่ผู้นำสหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกาเข้าสู่ AEC ซึ่งจะสามารถปรับตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม สำหรับสมาชิกสหกรร์จำเป็นต้องเร่งปรับลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงเพื่อเพิ่มผลกำไร ทั้งยงต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น พร้อมพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยขณะเดียวกันยังต้องเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และข้อมูลข่าวสาร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน ส่วนภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมการบูรณาการอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาภาคสหกรณ์ไทยให้มีศํกยภาพการดำเนินธุรกิจ ให้บรรลุเป้าหมายร่วมของการเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่จะช่วยภาคสหกรณ์เกิดความมั่นคงในที่สุด

ทั้งหมดถือเป็นภารกิจสำคัญที่กรมตรวจบัญชีได้เตรียมความพร้อม เพื่อหวังพัฒนาและผลักดันขบวนการสหกรณ์ไทยทั้งระบบให้แข็งแกร่งสามารถแข่งขันและยึดยัดอยู่ในเวทีประชาคมอาเซียนได้อย่างยั่งยืนได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ ryt9.com ดูทั้งหมด

932

views
Credit : ryt9.com


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน