รายงานพิเศษ : ชูไทยผู้นำด้านสหกรณ์ในอาเซียน
ปัจจุบันสหกรณ์ได้เข้าไปมีบทบาทในเศรษฐกิจสาขาต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านผลิตการบริโภค การค้า และการบริการด้านต่าง ๆ การพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เพียงแต่การส่งเสริมขยายตัวของวิสาหกิจเท่านั้น แต่มุ่งให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างฉลาด การเพิ่มผลิตภาพการกระจายความมั่งคั่งที่เกิดจากการประกอบการทางเศรษฐกิจอย่างเที่ยงธรรม ขบวนการสหกรณ์ที่เข้มแข็งนอกจากจะส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์เต็มที่เช่นเดียวกับวิสาหกิจอื่นแล้ว สหกรณ์ยังสามารถรักษาเสถียรภาพและตรึงราคาสินค้าและบริการ และช่วยลดระดับราคาสินค้าบริโภคในตลาด ในขณะเดียวกันจะช่วยยกระดับราคาผลิตผลทางเกษตรให้สูงขึ้น เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ หรือการกระจายรายได้ของประชาชาชนอย่างเป็นธรรมและถาวร เพราะระบบสหกรณ์จะกระจายผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนอย่างเที่ยงธรรม โดยการที่ประชาชนมีส่วนเป็นเจ้าของและควบคุมธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม และบริการของตนเอง ผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจึงตกเป็นของประชาชนผู้เป็นสมาชิกนั่นเอง
นายสมชาย? ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการจัดอบรม กระทรวงการเกษตร ป่าไม้และประมง ประเทศญี่ปุ่น (MAFF Japan) สหภาพกลางสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศญี่ปุ่น (JA-Zenchu) และสำนักเลขาธิการอาเซียนได้ร่วมดำเนินโครงการ Strengthening Capacity Building in Agriculture Sector in ASEAN Countries (CB Project)? โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งด้านการเกษตรให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้แก่ เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์การเกษตร ผู้นำเกษตรกร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของประเทศสมาชิกอาเซียน กำหนดระยะเวลาโครงการ 3 ปี โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 และสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2556
ทั้งนี้จากการประชุม Annual Coordination Meeting ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประชุมเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาแบบบูรณาการสำหรับสหกรณ์และสถาบันการเกษตร “Inteqrated Developmemt for Coopertives? and Farmer Instiutions” กำหนดจัดฝึกอบรมระหว่างวันที่ 14-27 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา ?และให้ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอาเซียนและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง? ประเทศญี่ปุ่น
“การฝึกอบรมในครั้งนี้ อยู่ในโปรแกรมของอาเซียนที่มีมาอย่างตลอดอย่างน้อย 3 ปี นั่นก็คือเรื่องการสร้างเสถียรภาพในเรื่องการดำเนินการ และเราต้องการให้ประเทศไทยนั้น? เป็นศูนย์กลางในเรื่องการฝึกอบรมในด้านสหกรณ์ในอาเซียน โดยใช้ศูนย์ฯที่นครราชสีมาเป็นศูนย์กลาง เราก็นำเสนอเรื่องนี้ไปยังประเทศที่เขาให้ทุน เช่นญี่ปุ่น หรือทางอาเซียนเอง เพื่อที่จะให้ทำความใจว่าประเทศไทยนั้นมีความก้าวหน้าและในทุกปี 2 ปีที่ผ่านมาเขาดำเนินการในลักษณะที่ให้วิทยากรของไทยเดินทางไปอบรมยังประเทศอื่น ครั้งนี้จึงต้องการจัดในประเทศไทยเพื่อที่จะแสดงศักยภาพให้เห็นว่าสหกรณ์ไทยนั้นมีความก้าวหน้า มีวิวัฒนาการและมีประสิทธิภาพเพื่อให้อีก 9 ประเทศมาเรียนรู้จากประเทศไทย? หลักที่ทำตรงนี้ อย่างน้อยเพื่อเป็นการเผยแพร่หลักการสหกรณ์ อันที่สองเป็นการสร้างความมั่นใจว่าในอนาคตที่เราจะก้าวไปสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆเช่น ร่วมมือด้านธุรกิจ ความร่วมมือที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาด้านสหกรณ์ด้วยกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ประการที่สาม ในช่วงการฝึกอบรม นอกเหนือจากมาเรียนรู้จากประเทศไทย ประเทศไทยก็ส่งคนของเราเข้าฝึกอบรมด้วยเพื่อให้มีโอกาสเรียนรู้ระหว่างกัน ซึ่งก็จะได้ประโยชน์ร่วมกัน”? นายสมชาย กล่าว
ทั้งนี้จากการที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพนั้น จะมีผู้สนับสนุนจากกระทรวงเกษตรของประเทศญี่ปุ่น โดยสำนักงานเลขานุการของอาเซียนเป็นผู้ให้ทุนในการดำเนินการ ซึ่งหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรมนั้นจะใช้หลักสูตรตามมาตรฐานกลาง เช่น?? หลักสูตรในเรื่องของการพัฒนาสหกรณ์ หรือหลักสูตรเฉพาะเรื่องเช่น? การทำธุรกิจ หลักสูตรเรื่องการทำฟาร์มโคนม หลักสูตรเรื่องของสหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์แต่ละประเภทและนอกจากนี้จะมีหลักสูตรฝึกอบรมที่เป็นเนื้อหาตามที่ผู้เข้าฝึกอบรมต้องการจะเรียนรู้เฉพาะเรื่อง ทางศูนย์ฯก็จะจัดให้ตามที่ผู้เข้าฝึกอบรมต้องการ
สำหรับประโยชน์ที่ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ หลักๆ แล้วจะทำให้เห็นถึงวิวัฒนาการว่าเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เราเข้าใจเขา เขาเข้าใจเรา เกิดการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นและอย่างน้อยเมื่อเขากลับไปบ้าน จากการที่เขาได้เรียนรู้จากเรา แล้วนำไปพัฒนาบ้านเขา เราจะได้เห็นว่าวิวัฒนาการของแต่ละประเทศเป็นยังไงบ้าง และจะมีการประเมินผล ?โดยทางประเทศญี่ปุ่นเอง เขามีระเบียบเลยว่าทุกโครงการที่เขาให้ทุนในการอบรมของสมาชิก หลังจากนั้น เขาก็ดูว่าเมื่อกลับไปแล้วต้องดำเนินการตามนั้นได้หรือไม่ และจะมีการส่งทีมเข้าไปประเมิน ในส่วนของเราเองในฐานะที่ประเทศญี่ปุ่น ผู้ให้ทุน เขาเชื่อมั่นว่าประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านสหกรณ์ เขาจึงเลือกประเทศไทยให้เป็นเจ้าภาพในการฝึกอบรมและให้เป็นศูนย์กลางในอาเซียนและในฐานะที่เราเป็นศูนย์ฝึกอบรม เราก็จะประเมินด้วยว่าศูนย์ฝึกอบรมได้ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ครบถ้วนหรือไม่ด้วย
ในการพัฒนาสหกรณ์และสถาบันเกษตรให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและบูรณาการร่วมกันระหว่างสมาชิกสหกรณ์ ผู้บริหารและบุคลากรฝ่ายจัดการของสหกรณ์ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกต้องมีความรู้และความเข้าใจในสถานะขององค์ในอดีต ปัจจุบันอนาคต ซึ่งหลักสูตรนี้จะนำเสนอบริบทเกี่ยวกับการพัฒนาสหกรณ์แบบบูรนาการ ความสำคัญของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการให้องค์กรเข้มแข็งต่อไป