กรอบการเจรจาความตกลงการค้าบริการอาเซียน

๑. แนวนโยบายของรัฐบาลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ รัฐบาลได้แถลงนโยบายด้นการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่อรัฐสภาว่า รัฐบาลจะสรงความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อใหบรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ภายใต้กรอบความร่วมมือดนต่างๆ และเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้สู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งในดนเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความมั่นคง


เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างปฏิญญาว่าดวยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อขอความเห็นชอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๙๐ วรรคสอง โดยที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติใหความเห็นชอบร่างปฏิญญาว่าดวยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และต่อมาไทยและผูนำอาเซียนอื่นๆ ได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียนและปฏิญญาว่าดวยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ซึ่งในแผนงานดังกล่าว ไดระบุให้ประเทศภาคีสนับสนุนใหเกิดการเคลื่อนย้ยเสรีดนการคบริการ

การเจรจาเปิดตลาดการคบริการในอาเซียนไดดำเนินการภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ ณ กรุงเทพฯ โดยสมาชิกทยอยเปิดตลาดในระดับที่สูงขึ้นตามแผนเปิดตลาดอาเซียน เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายในปี ๒๕๕๘ โดยปัจจุบันอาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำขอผูกพันการเปิดตลาดชุดที่ ๙ ใหแลวเสร็จภายในปี ๒๕๕๖

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ ๔๔ ณ เมืองเสียมราฐราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเห็นชอบร่วมกันที่จะใหมีทบทวนและการยกระดับกรอบความตกลงว่าดวยการค้บริการอาเซียน (AFAS) เป็นความตกลงการคบริการอาเซียนฉบับใหม่ เพื่อยกระดับและพัฒนาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนตามแนวทางเดียวกับการยกระดับความตกลงว่าดวยการใช้

อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน สำหรับเขตการคเสรีอาเซียน (CEPT-AFTA) ไปเป็นความตกลงว่าดวยการคสินคอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA)

การเจรจาความตกลงการคบริการอาเซียนฉบับใหม่ดังกล่าว เขข่ายความตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ วรรคสาม บัญญัติไวว่า “ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสองคณะรัฐมนตรีต้องใหข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และตองชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอ

กรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบดวย”
๒. เหตุผลความจำเป็นของไทยในการร่วมกับกับประเทศสมาชิกอาเซียนจัดทำความตกลงการค้าบริการอาเซียน

เพื่อเป็นการดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตามที่ไทยและผูนำอาเซียนอื่นๆ ได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียนและปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ทั้งนี้ ในแผนงานดังกล่าว ได้ระบุใหประเทศภาคีสนับสนุนใหเกิดการเคลื่อนย้ยเสรีด้นการคบริการ ซึ่งการเจรจาทบทวนและยกระดับกรอบความตกลง AFAS เป็นความตกลงการคบริการ

อาเซียนฉบับใหม่ให้มีความครบถวนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายการเคลื่อนย้ยเสรีด้นการคบริการ ภายใต้การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ ๔๔ ณ เมืองเสียมราฐราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (รวมทั้งไทย) เห็นชอบร่วมกันที่จะใหมีทบทวนและการยกระดับกรอบความตกลงว่าด้วยการค้บริการอาเซียน (AFAS) เป็นความตกลงการค้บริการอาเซียนฉบับใหม่เพื่อยกระดับและพัฒนาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน

ไทยในฐานะสมาชิกอาเซียน ได้มีบทบาทสำคัญและมีส่วนร่วมอย่างเขมแข็งมาตลอดในกระบวนการรวมกลุ่มของอาเซียน และร่วมผลักดันการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งอาเซียนได้พิจารณาร่วมกันและเห็นพ้องต้องกันว่าการยกระดับความตกลงดังกล่าว เป็นสิ่งจำเป็นต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะช่วยพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชนในภูมิภาค อันจะเป็นประโยชน์ต่อความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน

ในด้นบทบาทระหว่างประเทศ ไทยจะรักษาความน่าเชื่อถือและสถานะความเป็นประเทศที่มีบทบาทนำในอาเซียน และจะส่งผลต่อเนื่องไปยังดนเศรษฐกิจ อันจะส่งผลดีต่อความสามารถในการแข็งขันของไทยในอนาคต

๓. วัตถุประสงค์และเป้าหมายการเจรจาในภาพรวม
การดำเนินการเจรจาความตกลงการค้บริการอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เสริมสรงความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ และก่อใหเกิดโอกาสการคบริการที่เพิ่มมากขึ้น
- ขยายการคและการลงทุน และส่งเสริมใหเกิดการขยายตลาดที่ใหญ่ขึ้น
- ยกเลิกอุปสรรคทางดนการคบริการและสร้งบรรยากาศทางการคบริการที่สามารถคาดการณ์ได
- สรงกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสรงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศภาคีความตกลง

ทั้งนี้ เพื่อใหเกิดผลประโยชน์สูงสุดในภาพรวมกับประเทศ จะคำนึงถึงระดับการพัฒนาของไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน หลักการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน มีภูมิคุมกัน และความพร้อมของกฎหมายภายใน รวมถึงการมีระยะเวลาในการปรับตัวและมาตรการรองรับผลกระทบ

๔. กรอบการเจรจา
การเจรจาจัดทำความตกลงการค้บริการอาเซียน เป็นการสร้งและกำหนดกฎเกณฑ์และกติกาดนการค้บริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อใชแทนที่กรอบความตกลงว่าดวยการคบริการอาเซียน (AFAS)โดย

- จะร่วมกับสมาชิกอาเซียนในการกำหนดกฎและกติกาในความตกลง โดยอ้งอิงจากความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้บริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS) ภายใต้องค์การการคโลก (WTO) และความตกลงอื่นๆ ที่ไทยเป็นภาคี ซึ่งจะครอบคลุมหลักการที่สำคัญ เช่น หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination Principle) การประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment)การเขสู่ตลาดการค้บริการ (Market Access) และการเปิดเสรีและการจัดทำขอผูกพันการค้บริการ (Liberalisation and Specific Commitments) และเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของไทยภายใตความตกลง ความตกลงจะบรรจุกฎเกณฑ์ว่าด้วยการดูแลเสถียรภาพดนการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้ง ความมั่นคง วัฒนธรรม ประเพณี และผลประโยชน์ต่อผูบริโภคภายในประเทศ

กรมเจรจาการค้ระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
สิงหาคม ๒๕๕๖
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ ryt9.com ดูทั้งหมด

601

views
Credit : ryt9.com


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน