พาณิชย์ชี้ช่องธุรกิจ “แฟรนไชน์”รุ่ง
พาณิชย์ชี้ช่องธุรกิจ “แฟรนไชน์”รุ่ง
ทุนข้ามชาติจ่อใช้ไทยเป็นฐาน
การลงทุนรองรับการเปิดAEC
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ? เปิดเผยถึงการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชน์ เพื่อขยายธุรกิจในตลาดอาเซียน ว่า การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน? (เออีซี) ปี 2558 คาดว่าต่างชาติสนใจใช้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุนด้านระบบแฟรนไชส์เพื่อขยายธุรกิจนี้ในตลาดอาเซียน? โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด?? 3? อันดับแรกจาก 18 ประเภทของประเทศไทย? ได้แก่? ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม/เบเกอรี่? เครื่องใช้และเครื่องประดับ ซึ่งผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในแถบเอเชีย? ได้แก่? มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และจีน? จากทิศทางดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างธุรกิจของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี)? ให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเป็นธุรกิจที่มีการขยายตัวอย่างมีระบบ และยังสามารถสร้างรายได้ให้เจ้าของแฟรนไชส์ได้เป็นอย่างดี? ขณะที่สินค้าและบริการจากประเทศไทยได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักแพร่หลายในตลาดอาเซียน ดังนั้น การทำตลาดผ่านคู่ค้าในต่างประเทศ จึงไม่ใช่เรื่องยาก
สำหรับแฟรนไชส์แบรนด์ของไทยมีโอกาสในตลาดอาเซียนอย่างมาก อาทิ อินโดนีเซีย เนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องร้อยละ 6.3-6.5 ใน 2-3 ปีที่ผ่านมาชาวอินโดนีเซียระดับชนชั้นกลางมีรายได้เพิ่มมากขึ้น กลุ่มสินค้าบริการที่มีศักยภาพ? เช่น ร้านอาหาร? ร้านกาแฟ เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์การศึกษา สปา และร้านเสริมสวยและ ความงาม เป็นต้น แฟรนไชส์ไทยที่เข้ามายังตลาดอินโดนีเซียแล้วในกลุ่มร้านอาหารและร้านกาแฟ เช่น Coca Suki, Mango Tree, Black Canyon, Coffee World และ Thai Express สำหรับสินค้ากลุ่มสินค้าอื่น เช่น? ผลิตภัณฑ์สปา Harnn&Tharn, เสื้อผ้าเด็ก AIIZ เครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น Ocean Glass และ Zebra เป็นต้น
“การขยายธุรกิจประเภทแฟรนไชส์ไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีทั้งความง่ายและความยาก กรณีบางประเทศ เช่น ลาว พม่า กัมพูชา สินค้าไทยเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอยู่แล้ว ดังนั้น การเปิดตัวธุรกิจประเภทแฟรนไชส์ของไทยจะทำได้ง่ายกว่าในประเทศอื่น? ๆ? ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการวางแผนทางการตลาดของผู้ซื้อสิทธิ์ที่จะนำจุดเด่นและจุดขายของสินค้าให้เข้าถึงรสนิยมผู้บริโภคในตลาดนั้น ๆ”
ส่วนแนวโน้มปีนี้ คาดว่าจะมีนักลงทุนเพิ่มขึ้นในธุรกิจแฟรนไชส์ร้อยละ 30 และมีนักลงทุนที่สนใจระบบแฟรนไชส์ที่มีความพร้อมและสนใจลงทุนระบบแฟรนไชส์ไม่น้อยกว่า 40,000 ราย โดยในภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์มีโอกาสเติบโตได้ถึงร้อยละ 20-30 และอาจส่งผลให้ทั้งจำนวนและประเภทธุรกิจมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น โดยในปี 2555 ธุรกิจแฟรนไชส์มีมูลค่าธุรกิจหมุนเวียนอยู่ที่ประมาณ 168,000 ล้านบาท