โครงการศึกษาจัดทำแผนการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานคร ในปี 2558
แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น
จากการที่รัฐบาลมีจุดมุ่งหมายในการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ซึ่งทุกภาคส่วนจำเป็นต้องเร่งดำเนินการและเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งสามเสาหลัก อันได้แก่ เสาประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community — APSC) เสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) และเสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) กรุงเทพมหานครจึงได้จัดทำโครงการศึกษาจัดทำแผนการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานคร ในปี 2558 และให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นกรอบทิศทางและแนวทางในการดำเนินงานเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่เหมาะสมสำหรับหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และเพื่อให้ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครเกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN) และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดแผนบริหารงานของกรุงเทพมหานครเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ต่อไป
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุม พิจารณาร่างแผนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานค (ASEAN Socio-Cultural Community ในปี 2558 ซึ่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กทม. สถาบันให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศูนย์อาเซียนศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมจัดทำขึ้น ม.ร.วสุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีการประชุมเชิงปฎิบัติการหลายครั้งเพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และยกร่างแผนฯ จากทุกภาคส่วน ก่อนนำเสนอต่อการประชุมใหญ่การระดมความคิดเห็นอีกครั้ง เพื่อให้แผนการเข้าสู่ประชาคมเอเซียนของกรุงเทพมหานครครอบคลุม ทุกมิติ กรุงเทพมหานครมีศักยภาพในเชิงจุดศูนย์กลางอาเซียน ที่สามารถเชื่อมที่มีความได้เปรียบเป็นจุดศูนย์กลางของอาเซียน ที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างตะวันออกและตะวันตก รวมถึงเชื่อมโยงสาธารณรัฐประชาชนจีนทางตอนใต้และเมืองอื่นๆ ในแต่ละเมืองของอาเซียนที่มีศักยภาพแตกต่างกันดังนั้นกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงของประเทศ เป็นศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆ ทั้งการศึกษาและสาธารณสุข เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การคมนาคมขนส่ง การเมืองการปกครองและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องรักษาจุดแข็ง และกทม.จะสนับสนุนด้านสาธาณูปโภคต่างๆ และการอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว การฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งกับเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไป และร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในงานยังมีโดยมี รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการในการจัดทำร่างแผนฯ และเป็นผู้นำเสนอร่างแผนฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิ หัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร บุคลากรของกรุงเทพมหานคร ตัวแทนประชาชน ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขต ตัวแทนกลุ่มที่เกี่ยวข้องตามเสาหลักประชาคมอาเซียน (ด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน) ร่วมประชุม