7 โรค ที่ (อาจ) มากับ ประชาคมอาเซียน
พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน บอกว่า การแพร่ของโรคจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่งนั้นมีมานานแล้ว แต่เมื่อมีการเปิดประเทศจะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรคได้ง่ายขึ้น
ระบบ สุขภาพไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศโดยรอบอย่าง ลาว เวียดนาม พม่า กัมพูชา ถือว่าประเทศไทยก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ ทั้งในแง่ของระบบบริการทางการแพทย์ และระบบสาธารณสุขในเชิงควบคุมป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายังไม่ได้เปิดประเทศอย่างเป็นทางการ แต่ความเชื่อมโยงในลักษณะของรัฐที่มีดินแดนติดต่อกัน ได้ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
เมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ประชาชนในภูมิภาคกว่า 600 ล้านคน มีการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งการไปมาหาสู่นี่เอง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเคลื่อนย้ายของโรคระบาดหรืออุบัติโรคใหม่ที่อาจจะตามมาด้วย
โดยเฉพาะ 7 โรค ที่อยากแนะนำให้รู้จักในส่วนของลักษณะอาการ และสำคัญที่สุดคือ วิธีการป้องกัน
1.ไข้หวัดใหญ่
มีอาการเหมือนกับไข้หวัดทั่วไป แต่จะเร็วกว่าและมีไข้สูงกว่า โดยอาการสำคัญ ผู้ป่วยจะอ่อนเพลียเฉียบพลัน เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา ไข้สูง 39-40 องศา ในเด็ก ส่วนผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา มีอาการคอแดง น้ำมูกไหล ไอแห้งๆ ตาแดง ในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
การป้องกัน โดยการล้างมือให้ถูกวิธี การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และการใช้หน้ากากอนามัย
2.โรคหัด
มีอาการเริ่มด้วยการมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ และกลัวแสง อาการต่างๆ จะค่อยๆ มากขึ้น โดยอาการไข้จะขึ้นสูงเต็มที่เมื่อผื่นขึ้นในราววันที่ 4 ของการเป็นไข้ มีลักษณะของผื่นนูนแดง maculo-papular ติดกันเป็นปื้นๆ บริเวณหน้า ลำตัว แขน ขา โดยผื่นในระยะแรกจะมีสีแดงและค่อยๆ เข้มขึ้นเป็นสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลแดง กินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ บางครั้งจะพบผิวหนังลอกเป็นขุย
การป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย และฉีดวัคซีนป้องกัน
3.โรคมาลาเรีย
มีอาการหลังการได้รับเชื้อมาลาเรียประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการนำคล้ายกับเป็นหวัด คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารได้ ลักษณะเฉพาะของโรคที่เรียกว่าไข้จับสั่นคือ มีอาการหนาวสั่น ไข้สูงและตามด้วยเหงื่อออก จะพบได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
การป้องกัน ควรสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด ใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ทายากันยุง นอนในมุ้ง หรือพ่นยากันยุง
4.โรคไข้เลือดออก
ในการติดเชื้อไวรัสเดงกีครั้งแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80-90%) จะไม่แสดงอาการ ผู้มีอาการจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนังได้ แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่สอง โดยที่เชื้อต่างสายพันธุ์กับครั้งแรกอาจเป็นไข้เลือดออก อาการสำคัญแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ
1. ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุด เลือดออกตามลำตัว แขน ขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 2-7 วัน,
2.ระยะช็อก ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรงจะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อก และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง และ
3.ระยะพักฟื้น อาการต่างๆ จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว
การป้องกัน โดยป้องกันไม่ให้ยุงกัด นอนในมุ้ง หรือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งบริเวณรอบๆ บ้าน
5.โรควัณโรค
อาการที่พบได้บ่อยคือ มีต่อมน้ำเหลืองโตที่ขั้วปอด ที่คอ และที่อื่นๆ แล้วจึงพบผิดปกติที่ปอดและอวัยวะอื่นๆ
การป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่กำลังมีอาการไอ หรือให้วัคซีน BCG ป้องกัน
6.โรคเท้าช้าง
อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวรและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ
การป้องกัน ควรป้องกันและหลีกเลี่ยงยุงที่เป็นพาหะ ควบคุมและกำจัดยุงโดยการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตามฝาผนังบ้าน หรือหากอยู่ในแหล่งระบาดของโรคเท้าช้าง อาจต้องกินยาป้องกัน
7.โรคคอตีบ
อาการหลังระยะฟักตัวจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเสียงก้องเจ็บคอ เบื่ออาหาร บางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองโตที่คอด้วย จะพบมีอาการอักเสบในจมูก ทำให้มีน้ำมูกเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น
การป้องกัน ควรแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หลังมีอาการหรือตรวจพบเชื้อ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน และในเด็กทั่วไปควรฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 4 ขวบ
นับเป็น 7 โรคที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเคลื่อนย้ายมาพร้อมกับประชากรในภูมิภาคอาเซียน ที่ต้องระแวดระวังไว้บ้าง
มติชน 10 พฤษภาคม 2556
photo credit : mercola.com
เรื่องก่อนหน้า บาร์บี้ ตุ๊กตาน่ารัก หรือ สัญลักษณ์กีดกันทางเพศ!
ระบบ สุขภาพไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศโดยรอบอย่าง ลาว เวียดนาม พม่า กัมพูชา ถือว่าประเทศไทยก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ ทั้งในแง่ของระบบบริการทางการแพทย์ และระบบสาธารณสุขในเชิงควบคุมป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายังไม่ได้เปิดประเทศอย่างเป็นทางการ แต่ความเชื่อมโยงในลักษณะของรัฐที่มีดินแดนติดต่อกัน ได้ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
7 โรคไร้พรมแดน ที่(อาจ)มากับ ประชาคมอาเซียน
เมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ประชาชนในภูมิภาคกว่า 600 ล้านคน มีการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งการไปมาหาสู่นี่เอง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเคลื่อนย้ายของโรคระบาดหรืออุบัติโรคใหม่ที่อาจจะตามมาด้วย
โดยเฉพาะ 7 โรค ที่อยากแนะนำให้รู้จักในส่วนของลักษณะอาการ และสำคัญที่สุดคือ วิธีการป้องกัน
1.ไข้หวัดใหญ่
มีอาการเหมือนกับไข้หวัดทั่วไป แต่จะเร็วกว่าและมีไข้สูงกว่า โดยอาการสำคัญ ผู้ป่วยจะอ่อนเพลียเฉียบพลัน เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา ไข้สูง 39-40 องศา ในเด็ก ส่วนผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา มีอาการคอแดง น้ำมูกไหล ไอแห้งๆ ตาแดง ในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
การป้องกัน โดยการล้างมือให้ถูกวิธี การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และการใช้หน้ากากอนามัย
2.โรคหัด
มีอาการเริ่มด้วยการมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ และกลัวแสง อาการต่างๆ จะค่อยๆ มากขึ้น โดยอาการไข้จะขึ้นสูงเต็มที่เมื่อผื่นขึ้นในราววันที่ 4 ของการเป็นไข้ มีลักษณะของผื่นนูนแดง maculo-papular ติดกันเป็นปื้นๆ บริเวณหน้า ลำตัว แขน ขา โดยผื่นในระยะแรกจะมีสีแดงและค่อยๆ เข้มขึ้นเป็นสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลแดง กินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ บางครั้งจะพบผิวหนังลอกเป็นขุย
การป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย และฉีดวัคซีนป้องกัน
3.โรคมาลาเรีย
มีอาการหลังการได้รับเชื้อมาลาเรียประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการนำคล้ายกับเป็นหวัด คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารได้ ลักษณะเฉพาะของโรคที่เรียกว่าไข้จับสั่นคือ มีอาการหนาวสั่น ไข้สูงและตามด้วยเหงื่อออก จะพบได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
การป้องกัน ควรสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด ใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ทายากันยุง นอนในมุ้ง หรือพ่นยากันยุง
4.โรคไข้เลือดออก
ในการติดเชื้อไวรัสเดงกีครั้งแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80-90%) จะไม่แสดงอาการ ผู้มีอาการจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนังได้ แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่สอง โดยที่เชื้อต่างสายพันธุ์กับครั้งแรกอาจเป็นไข้เลือดออก อาการสำคัญแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ
1. ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุด เลือดออกตามลำตัว แขน ขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 2-7 วัน,
2.ระยะช็อก ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรงจะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อก และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง และ
3.ระยะพักฟื้น อาการต่างๆ จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว
การป้องกัน โดยป้องกันไม่ให้ยุงกัด นอนในมุ้ง หรือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งบริเวณรอบๆ บ้าน
5.โรควัณโรค
อาการที่พบได้บ่อยคือ มีต่อมน้ำเหลืองโตที่ขั้วปอด ที่คอ และที่อื่นๆ แล้วจึงพบผิดปกติที่ปอดและอวัยวะอื่นๆ
การป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่กำลังมีอาการไอ หรือให้วัคซีน BCG ป้องกัน
6.โรคเท้าช้าง
อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวรและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ
การป้องกัน ควรป้องกันและหลีกเลี่ยงยุงที่เป็นพาหะ ควบคุมและกำจัดยุงโดยการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตามฝาผนังบ้าน หรือหากอยู่ในแหล่งระบาดของโรคเท้าช้าง อาจต้องกินยาป้องกัน
7.โรคคอตีบ
อาการหลังระยะฟักตัวจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเสียงก้องเจ็บคอ เบื่ออาหาร บางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองโตที่คอด้วย จะพบมีอาการอักเสบในจมูก ทำให้มีน้ำมูกเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น
การป้องกัน ควรแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หลังมีอาการหรือตรวจพบเชื้อ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน และในเด็กทั่วไปควรฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 4 ขวบ
นับเป็น 7 โรคที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเคลื่อนย้ายมาพร้อมกับประชากรในภูมิภาคอาเซียน ที่ต้องระแวดระวังไว้บ้าง
...
มติชน 10 พฤษภาคม 2556
photo credit : mercola.com
เรื่องก่อนหน้า บาร์บี้ ตุ๊กตาน่ารัก หรือ สัญลักษณ์กีดกันทางเพศ!
ค้นหา สาระน่ารู้ ต้องที่ > KNOWLEDGE สาระน่ารู้ ความรู้รอบตัวทั่วโลก
เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ eduzones ดูทั้งหมด
803
views
Credit : eduzones
News