การเตรียมพร้อมเข้าสู่การเปิดรับประชาคมอาเซียน หรือ AEC
การเตรียมพร้อมเข้าสู่การเปิดรับประชาคมอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Ennomics Community)
บทสัมภาษณ์อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
จากนิตยสาร All Magazine
อีกหนึ่งกระแสที่เราทั้งหลายควรจะให้ความสนใจ เพราะในที่สุดแล้วชาติสมาชิกอาเซียนก็ค่อยๆกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงรวมทั้งจะเกิดการแข่งขันในหลายๆมิติ เกิดจากการเคลื่อนย้ายในตลาดแรงงาน ธุรกิจ อาชีพการงาน และศึกษา จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ผู้ที่คลุกคลีเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา รวมถึงสาขาอาชีพในอนาคตในศตวรรษที่ 21 พูดถึงว่าคนไทยควรจะมีเตรียมพร้อมต้อนรับอนาคตกันอย่างไรเพื่อไม่ให้ตกกระแส
การศึกษาของไทยต้องมีการเปลี่ยน
อ.วิริยะ กล่าวว่า ระบบการศึกษาของประเทศซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นการศึกษาที่ไม่ถูกทาง เพราะเราไม่รู้ปัญหา คืออะไร
"ตอนนี้แต่ละคนพูดถึงปัญหาการศึกษา แต่พูดคนละท่อนก็แก้กันไม่ถูก เพราะไปแก้ปัญหานึงแต่สร้างอีกหลายปัญหา ยกตัวอย่างสอบเข้ามหาวิทยาลัย เราก็บอกว่ามันไม่ยุติธรรมหรอก เขตโรงเรียนนั้นโรงเรียนนี้ไม่เท่ากัน แล้วเอาเกรดสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ยุติธรรม นี่คือการแก้ไขปัญหาย่อย แล้วเราก็เอาเกรดมาปรับแก้กัน ว่าค่าโรงเรียนแต่ละแห่งควรเท่าไหร่ วิธีอย่างนี้มันแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เรามาบอกว่าโรงเรียนกวดวิชามันมีเยอะ มันเปิดมาเยอะแยะ เด็กไปเรียนกวดวิชาเยอะ เราแก้ไขปัญหากันโดยโรงเรียนเปิดกวดวิชาเสียเองเลยนี่มันแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะโรงเรียนมีหน้าที่อย่างนึง แต่ไปทำหน้าที่อีกอย่างนึง ประเทศของเราอยู่ได้เพราะเราผลาญทรัพยากร นั่นยังไม่พอ เรายังไม่สร้างคุณค่า คือเราไม่สร้างมนุษย์ อะไรคือเครื่องมือในการพัฒนา มันคือการศึกษาเราไม่ได้สร้างมนุษย์ เราไม่ได้สร้างคนที่มีคุณภาพ คนของเราก็เลยไม่มีคุณภาพ พอคุณเราไม่มีคุณภาพ มันหนักกว่านั้นเยอะ คนของเราขาดการศึกษา"
"เพราะฉะนั้นเป้าหมายใหญ่ของประเทศนี้คือต้องพัฒนาคนรุ่นนี้ อนาคตต้องดีกว่าวันนี้ อนาคตของชาติก็คือลูกหลานเรา ต้องนี้คือสิ่งสำคัญมากๆที่ผมมองว่าถ้าเราไม่ทำอย่างนี้นะอีก 20-30 ปี เราอาจจะเห็นคนไทยไปขายแรงงานในพม่า พม่าทรัพยากรยังเยอะ เดี๋ยวพอเขาเริ่มสร้างเมืองเปิดเมืองออกมา เลิกทะเลาะกัน เขาก็เอาทรัพยากรมาขายกินได้ แต่คนไทยเรานี่กระหน่ำขายมาตลอด ตอนนี้มีสร้างอะไรที่ไหน มีแต่ทำลายนั่นแหละคือสิ่งที่เราต้องมาตั้งเป้าใหม่ว่าเราจะทำการศึกษาไปเพื่ออะไร ต้องเปลี่ยนความคิดทางการศึกษาของเรา ไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน แต่ต้องเพื่อแบ่งปัน ไม่ใช่เอาคนทุกคนมาแข่งขัน แต่ให้แต่ละคนได้มีวิถีทางของตนเอง เด็กเล่นบอลเก่งแต่พอไปโรงเรียนโรงเรียนกลายเป็นเด็กโง่ โง่ได้ยังไง เขาฉลาดเล่นบอล แต่เพราะโรงเรียนเอาหลักสูตรเป็นศูนย์กลาง เด็กก็กลายเป็นเด็กโง่ เด็กอาจจะชอบใช้กำลัง ไม่ถนัดใช้ความคิด พอเข้าโรงเรียนปุ๊ปโง่ทันที เด็กอาจจะไม่ชอบท่องจำแต่ข้อสอบออกมาท่องจำ เด็กอาจจะมีความคิดดีๆแต่ข้อสอบให้ท่องจำ สิ่งที่เด็กเบื่อที่สุดคือ ท่องหนังสือไปสอบ วิธีการสอนแบบนี้ละครับที่ต้องเปลี่ยน การสอบคัดเลือกคนด้วยวิธีวัดความจำต้องเปลี่ยน เราต้องมาตั้งเป้าหมายใหม่ว่าเราจะทำการศึกษาเพื่ออะไร ถ้าเราจะทำการศึกษาเพื่อคนทั้งประเทศ วันนี้เรามีคนที่อยู่นอกระบบประมาณ 1ล้านคน ลูกกรรมกรบ้าง กลายเป็นเด็กโง่ เรียนแล้วเบื่อบ้างคนพวกนี้เราต้องเอาการศึกษาตามไปให้เขาไม่ใช่ไปตัดสินว่าเอ็งโง่ ไอ้พวกฉลาดก็ไปเรียนมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นมันจะกลายเป็นการศึกษาเพื่อการแบ่งแยก ต้องเอาการศึกษาตามเข้าไปให้ คนขับแท็กซี่ต้องมีการศึกษาดีขึ้นทุกวัน แม่ค้าต้องมีการศึกษาดีขึ้นทุกวัน ชีวิตเขาต้องดีขึ้นเพราะความรู้ ถ้าความรู้นั้นไม่สามารถทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นได้เราอย่าเรียกว่าการศึกษา เราเรียกว่ากาก เป็นกากวิชาที่ฝรั่งมอบให้เรา แล้วเราก็ไปเชื่อกากวิชา วันนี้เราต้องเอาของที่จะทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น "
อ.วิริยะบอกว่าทุกวันนี้เด็กไทยใช้เวลาเรียนมากที่สุดในโลก แต่กลับกลายเป็นการทำลายการศึกษาไปโดยไม่รู้ตัว "เด็กไทยเรียนตั้งแต่เช้าจรดเย็น เลิกเรียนก็ต้องไปเรียนกวดวิชาก็เรียนเรื่องเดิม ยังไม่พอ กลับไปบ้านเจอการบ้าน 8สาระ ถามว่าเขาเอาเวลาไหนมาคิดมาพัฒนาตัวเอง โรงเรียนกลายเป็นอุตสาหกรรมการผลิต การพัฒนาคนมันเป็นศิลปะ มันเป็นเรื่องของคน 1คน ไม่ใช่กลุ่ม อย่าไปมองเป็นกลุ่มคน แล้วพ่อแม่ก็ดันไปเชื่อว่าโรงเรียนสามารถพัฒนาลูกได้ ตัววัดเดียวที่โรงเรียนให้พ่อแม่คือเกรดเฉลี่ย พ่อแม่ก็มาดูว่าวิชาไหนลูกเรียนไม่ดีก็ส่งไปติว วิชาที่ไม่ชอบกลับไปติว เพื่อให้เกรดเฉลี่ยสูงๆแล้วเราก็มาหลอกตัวเองว่าเด็กเกรดเฉลี่ยสูงๆเป็นเด็กอัจฉริยะ จริงๆไม่ใช่อัจฉริยะอะไรเลย เพียงแต่มีความอดทน ตั้งใจ แล้วก็ท่องหนังสือไปสอบ ถ้าอัจฉริยะจริงจะต้องใช้เวลาเรียนน้อยกว่านี้หนึ่งเท่า พวกอัจฉริยะจริงสิโดนกลบไปเลย โดนการศึกษาทำลายสิ้น คนคิดเก่งคิดไม่ออก ต้องมาท่องหนังสือ ต้องกวดวิชาแข่งขัน ไม่มีเวลาจะไปศึกษาความรู้ หมดเวลาไปกับการเรียนภาคบังคับ เราใช้หลักสูตรเป็นศูนย์กลางมาตลอด สิ่งนี้ต้องเปลี่ยน"
"ถ้ารัฐบาลตั้งใจทำ ยอมโดนด่าวันนี้ ยอมเปลี่ยนแปลง ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องมีการต่อต้าน มหาวิทยาลัยแทนที่จะคิดถึงแต่ตัวเอง อาจารย์มหาวิทยาลัยเยอะแยะ ผู้บริหารเยอะแยะ มารวมกันมาคุยกันว่าทิศทางอนาคตสาขาไหนจบมาแล้วมีงานทำ สาขาไหนตกงาน แล้วก็เปิดสาขาให้ทันต่อโลก ส่วนในภาคเอกชนเองอย่าไปคิดนะครับว่าไม่เกี่ยวข้อง การศึกษาคือการการพัฒนาประเทศชาติและเยาวชน บริษัทใหญ่ๆในต่างประเทศเขาให้งบประมาณสนับสนุนการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น คุณไปเกาหลีเจอซัมซุงเขาเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ไปเจอโนเกียก็เปิดศูนย์เรียนรู้ เจอโซนี่ก็เปิดศูนย์เรียนรู้ ส่วนประเทศไทยไม่มีอะไรเลย สังคมเรามีแหล่งเรียนรู้เยอะแค่ไหน มันน้อยมาก เดินออกไปมีแต่ศูนย์การค้าทั้งนั้น ศูนย์การค้าไม่ใช่แหล่งเรียนรู้ แต่เป็นแหล่งฝึกฝนการเรียนรู้ คุณกำลังฝึกฝนให้เด็กของเราเป็นนักวัตถุนิยม ในทีวีโฆษณาเพื่อจะให้เด็กซื้อในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ให้เราหลงใหลไปในวัตถุ มอมเมาให้เราติดอยู่กับเนื้อหนังมังสา แล้วเราก็ลืมพัฒนาเรื่องจิตใจ เพราะฉะนั้นสื่อทั้งหมด สังคมทั้งหมดให้การศึกษาแบบนี้กันลูก โตขึ้นลูกเราจะเป็นคนยังไง เด็กก็กลายเป็นคนวัดกันด้วยเงิน วัดกันที่เกรดเฉลี่ย เพราะฉะนั้นนี่คือการศึกษา อย่าไปยึดกรอบการศึกษาแค่ในมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน สังคมต้องเข้ามาช่วยจัดการศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้ามาช่วย ดูว่าลูกถนัดอะไร ไม่ใช่มาสอบแข่งกับเขาอย่างเดียว ใครแข่งอะไรกันก็ไปสู้กับเขา แล้วมันได้อะไรขึ้นมา ถึงได้มามันก็ไม่ใช่เพราะมันไม่ใช่บุคลิกภาพของเรา บุคลิกภาพของคนเรามันยากเปลี่ยนแปลงนะครับ คนไม่ถนัดพูด ไม่ชอบเข้าสังคม จะเปลี่ยนแปลงเขาให้ไปอยู่ในตำแหน่งนั้นมันไม่ได้ มันฝึกธรรมชาติ หลายคนไปเรียนครู ขอโทษทีคุยกับเพื่อนยังไม่รู้เรื่องเลย แล้วจะไปสอนใครได้ บางคนไปเรียนเกษตร ผู้หญิงเจอมดเจอแมลงก็ร้องยี้แล้ว แล้วคุณจะไปทำได้หรอ เรียนไปก็เสียเวลา 4ปี "
โดย อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ผู้ก่อตั้ง www.eduzones.com
ผู้วิจัยและพัฒนา ห้องเรียนแห่งอนาคต และ ระบบการสอนแบบ Creativity-based Learning
และ หลักสูตร Compass
หลักสูตรที่ค้นหาศักยภาพของผู้เรียน เปิดมุมมอง ช่วยสร้างวิสัยทัศน์ และแรงบันดาลใจ ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบตัวเอง ดูรายละเอียดหลักสูตรที่นี่
ที่มา
บทสัมภาษณ์จาก All Magazine
http://www.all-magazine.com/
บทสัมภาษณ์อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
จากนิตยสาร All Magazine
อีกหนึ่งกระแสที่เราทั้งหลายควรจะให้ความสนใจ เพราะในที่สุดแล้วชาติสมาชิกอาเซียนก็ค่อยๆกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงรวมทั้งจะเกิดการแข่งขันในหลายๆมิติ เกิดจากการเคลื่อนย้ายในตลาดแรงงาน ธุรกิจ อาชีพการงาน และศึกษา จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ผู้ที่คลุกคลีเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา รวมถึงสาขาอาชีพในอนาคตในศตวรรษที่ 21 พูดถึงว่าคนไทยควรจะมีเตรียมพร้อมต้อนรับอนาคตกันอย่างไรเพื่อไม่ให้ตกกระแส
การศึกษาของไทยต้องมีการเปลี่ยน
อ.วิริยะ กล่าวว่า ระบบการศึกษาของประเทศซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นการศึกษาที่ไม่ถูกทาง เพราะเราไม่รู้ปัญหา คืออะไร
"ตอนนี้แต่ละคนพูดถึงปัญหาการศึกษา แต่พูดคนละท่อนก็แก้กันไม่ถูก เพราะไปแก้ปัญหานึงแต่สร้างอีกหลายปัญหา ยกตัวอย่างสอบเข้ามหาวิทยาลัย เราก็บอกว่ามันไม่ยุติธรรมหรอก เขตโรงเรียนนั้นโรงเรียนนี้ไม่เท่ากัน แล้วเอาเกรดสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ยุติธรรม นี่คือการแก้ไขปัญหาย่อย แล้วเราก็เอาเกรดมาปรับแก้กัน ว่าค่าโรงเรียนแต่ละแห่งควรเท่าไหร่ วิธีอย่างนี้มันแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เรามาบอกว่าโรงเรียนกวดวิชามันมีเยอะ มันเปิดมาเยอะแยะ เด็กไปเรียนกวดวิชาเยอะ เราแก้ไขปัญหากันโดยโรงเรียนเปิดกวดวิชาเสียเองเลยนี่มันแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะโรงเรียนมีหน้าที่อย่างนึง แต่ไปทำหน้าที่อีกอย่างนึง ประเทศของเราอยู่ได้เพราะเราผลาญทรัพยากร นั่นยังไม่พอ เรายังไม่สร้างคุณค่า คือเราไม่สร้างมนุษย์ อะไรคือเครื่องมือในการพัฒนา มันคือการศึกษาเราไม่ได้สร้างมนุษย์ เราไม่ได้สร้างคนที่มีคุณภาพ คนของเราก็เลยไม่มีคุณภาพ พอคุณเราไม่มีคุณภาพ มันหนักกว่านั้นเยอะ คนของเราขาดการศึกษา"
"เพราะฉะนั้นเป้าหมายใหญ่ของประเทศนี้คือต้องพัฒนาคนรุ่นนี้ อนาคตต้องดีกว่าวันนี้ อนาคตของชาติก็คือลูกหลานเรา ต้องนี้คือสิ่งสำคัญมากๆที่ผมมองว่าถ้าเราไม่ทำอย่างนี้นะอีก 20-30 ปี เราอาจจะเห็นคนไทยไปขายแรงงานในพม่า พม่าทรัพยากรยังเยอะ เดี๋ยวพอเขาเริ่มสร้างเมืองเปิดเมืองออกมา เลิกทะเลาะกัน เขาก็เอาทรัพยากรมาขายกินได้ แต่คนไทยเรานี่กระหน่ำขายมาตลอด ตอนนี้มีสร้างอะไรที่ไหน มีแต่ทำลายนั่นแหละคือสิ่งที่เราต้องมาตั้งเป้าใหม่ว่าเราจะทำการศึกษาไปเพื่ออะไร ต้องเปลี่ยนความคิดทางการศึกษาของเรา ไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน แต่ต้องเพื่อแบ่งปัน ไม่ใช่เอาคนทุกคนมาแข่งขัน แต่ให้แต่ละคนได้มีวิถีทางของตนเอง เด็กเล่นบอลเก่งแต่พอไปโรงเรียนโรงเรียนกลายเป็นเด็กโง่ โง่ได้ยังไง เขาฉลาดเล่นบอล แต่เพราะโรงเรียนเอาหลักสูตรเป็นศูนย์กลาง เด็กก็กลายเป็นเด็กโง่ เด็กอาจจะชอบใช้กำลัง ไม่ถนัดใช้ความคิด พอเข้าโรงเรียนปุ๊ปโง่ทันที เด็กอาจจะไม่ชอบท่องจำแต่ข้อสอบออกมาท่องจำ เด็กอาจจะมีความคิดดีๆแต่ข้อสอบให้ท่องจำ สิ่งที่เด็กเบื่อที่สุดคือ ท่องหนังสือไปสอบ วิธีการสอนแบบนี้ละครับที่ต้องเปลี่ยน การสอบคัดเลือกคนด้วยวิธีวัดความจำต้องเปลี่ยน เราต้องมาตั้งเป้าหมายใหม่ว่าเราจะทำการศึกษาเพื่ออะไร ถ้าเราจะทำการศึกษาเพื่อคนทั้งประเทศ วันนี้เรามีคนที่อยู่นอกระบบประมาณ 1ล้านคน ลูกกรรมกรบ้าง กลายเป็นเด็กโง่ เรียนแล้วเบื่อบ้างคนพวกนี้เราต้องเอาการศึกษาตามไปให้เขาไม่ใช่ไปตัดสินว่าเอ็งโง่ ไอ้พวกฉลาดก็ไปเรียนมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นมันจะกลายเป็นการศึกษาเพื่อการแบ่งแยก ต้องเอาการศึกษาตามเข้าไปให้ คนขับแท็กซี่ต้องมีการศึกษาดีขึ้นทุกวัน แม่ค้าต้องมีการศึกษาดีขึ้นทุกวัน ชีวิตเขาต้องดีขึ้นเพราะความรู้ ถ้าความรู้นั้นไม่สามารถทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นได้เราอย่าเรียกว่าการศึกษา เราเรียกว่ากาก เป็นกากวิชาที่ฝรั่งมอบให้เรา แล้วเราก็ไปเชื่อกากวิชา วันนี้เราต้องเอาของที่จะทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น "
อ.วิริยะบอกว่าทุกวันนี้เด็กไทยใช้เวลาเรียนมากที่สุดในโลก แต่กลับกลายเป็นการทำลายการศึกษาไปโดยไม่รู้ตัว "เด็กไทยเรียนตั้งแต่เช้าจรดเย็น เลิกเรียนก็ต้องไปเรียนกวดวิชาก็เรียนเรื่องเดิม ยังไม่พอ กลับไปบ้านเจอการบ้าน 8สาระ ถามว่าเขาเอาเวลาไหนมาคิดมาพัฒนาตัวเอง โรงเรียนกลายเป็นอุตสาหกรรมการผลิต การพัฒนาคนมันเป็นศิลปะ มันเป็นเรื่องของคน 1คน ไม่ใช่กลุ่ม อย่าไปมองเป็นกลุ่มคน แล้วพ่อแม่ก็ดันไปเชื่อว่าโรงเรียนสามารถพัฒนาลูกได้ ตัววัดเดียวที่โรงเรียนให้พ่อแม่คือเกรดเฉลี่ย พ่อแม่ก็มาดูว่าวิชาไหนลูกเรียนไม่ดีก็ส่งไปติว วิชาที่ไม่ชอบกลับไปติว เพื่อให้เกรดเฉลี่ยสูงๆแล้วเราก็มาหลอกตัวเองว่าเด็กเกรดเฉลี่ยสูงๆเป็นเด็กอัจฉริยะ จริงๆไม่ใช่อัจฉริยะอะไรเลย เพียงแต่มีความอดทน ตั้งใจ แล้วก็ท่องหนังสือไปสอบ ถ้าอัจฉริยะจริงจะต้องใช้เวลาเรียนน้อยกว่านี้หนึ่งเท่า พวกอัจฉริยะจริงสิโดนกลบไปเลย โดนการศึกษาทำลายสิ้น คนคิดเก่งคิดไม่ออก ต้องมาท่องหนังสือ ต้องกวดวิชาแข่งขัน ไม่มีเวลาจะไปศึกษาความรู้ หมดเวลาไปกับการเรียนภาคบังคับ เราใช้หลักสูตรเป็นศูนย์กลางมาตลอด สิ่งนี้ต้องเปลี่ยน"
"ถ้ารัฐบาลตั้งใจทำ ยอมโดนด่าวันนี้ ยอมเปลี่ยนแปลง ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องมีการต่อต้าน มหาวิทยาลัยแทนที่จะคิดถึงแต่ตัวเอง อาจารย์มหาวิทยาลัยเยอะแยะ ผู้บริหารเยอะแยะ มารวมกันมาคุยกันว่าทิศทางอนาคตสาขาไหนจบมาแล้วมีงานทำ สาขาไหนตกงาน แล้วก็เปิดสาขาให้ทันต่อโลก ส่วนในภาคเอกชนเองอย่าไปคิดนะครับว่าไม่เกี่ยวข้อง การศึกษาคือการการพัฒนาประเทศชาติและเยาวชน บริษัทใหญ่ๆในต่างประเทศเขาให้งบประมาณสนับสนุนการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น คุณไปเกาหลีเจอซัมซุงเขาเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ไปเจอโนเกียก็เปิดศูนย์เรียนรู้ เจอโซนี่ก็เปิดศูนย์เรียนรู้ ส่วนประเทศไทยไม่มีอะไรเลย สังคมเรามีแหล่งเรียนรู้เยอะแค่ไหน มันน้อยมาก เดินออกไปมีแต่ศูนย์การค้าทั้งนั้น ศูนย์การค้าไม่ใช่แหล่งเรียนรู้ แต่เป็นแหล่งฝึกฝนการเรียนรู้ คุณกำลังฝึกฝนให้เด็กของเราเป็นนักวัตถุนิยม ในทีวีโฆษณาเพื่อจะให้เด็กซื้อในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ให้เราหลงใหลไปในวัตถุ มอมเมาให้เราติดอยู่กับเนื้อหนังมังสา แล้วเราก็ลืมพัฒนาเรื่องจิตใจ เพราะฉะนั้นสื่อทั้งหมด สังคมทั้งหมดให้การศึกษาแบบนี้กันลูก โตขึ้นลูกเราจะเป็นคนยังไง เด็กก็กลายเป็นคนวัดกันด้วยเงิน วัดกันที่เกรดเฉลี่ย เพราะฉะนั้นนี่คือการศึกษา อย่าไปยึดกรอบการศึกษาแค่ในมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน สังคมต้องเข้ามาช่วยจัดการศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้ามาช่วย ดูว่าลูกถนัดอะไร ไม่ใช่มาสอบแข่งกับเขาอย่างเดียว ใครแข่งอะไรกันก็ไปสู้กับเขา แล้วมันได้อะไรขึ้นมา ถึงได้มามันก็ไม่ใช่เพราะมันไม่ใช่บุคลิกภาพของเรา บุคลิกภาพของคนเรามันยากเปลี่ยนแปลงนะครับ คนไม่ถนัดพูด ไม่ชอบเข้าสังคม จะเปลี่ยนแปลงเขาให้ไปอยู่ในตำแหน่งนั้นมันไม่ได้ มันฝึกธรรมชาติ หลายคนไปเรียนครู ขอโทษทีคุยกับเพื่อนยังไม่รู้เรื่องเลย แล้วจะไปสอนใครได้ บางคนไปเรียนเกษตร ผู้หญิงเจอมดเจอแมลงก็ร้องยี้แล้ว แล้วคุณจะไปทำได้หรอ เรียนไปก็เสียเวลา 4ปี "
โดย อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ผู้ก่อตั้ง www.eduzones.com
ผู้วิจัยและพัฒนา ห้องเรียนแห่งอนาคต และ ระบบการสอนแบบ Creativity-based Learning
และ หลักสูตร Compass
หลักสูตรที่ค้นหาศักยภาพของผู้เรียน เปิดมุมมอง ช่วยสร้างวิสัยทัศน์ และแรงบันดาลใจ ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบตัวเอง ดูรายละเอียดหลักสูตรที่นี่
ที่มา
บทสัมภาษณ์จาก All Magazine
http://www.all-magazine.com/
เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ eduzones ดูทั้งหมด
1119
views
Credit : eduzones
News