เศรษฐกิจ กลุ่ม CLMV โตเร็วกว่าโครงสร้างพื้นฐาน

ปัจจุบันอาเซียนเป็นเวทีเศรษฐกิจที่มีบทบาทโดดเด่นมากขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการรวมตัวกันเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในช่วงปลายปี 2558 รวมทั้งยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในกลุ่มคาบสมุทรอินโดจีน อันได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากลุ่มประเทศ CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar และ Vietnam)

ปัจจัยดึงดูดการลงทุนเข้ามายังประเทศ CLMV ที่สำคัญ คือ ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่ม CLMV ที่มีระดับการเติบโตสูงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2556) นอกจากนี้ สภาพภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ที่มีความคล้ายคลึงกัน ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในประเทศ จำนวนประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวก็ล้วนส่งผลให้มีแรงงานที่เพียงพอ และการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันการที่ประเทศกลุ่มนี้เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้นและเป็นแหล่งแรงงานที่มีค่าจ้างไม่สูงมากนัก ทำให้เศรษฐกิจในประเทศ CLMV มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการจ้างงานแรงงานท้องถิ่นและกำลังซื้อของประชากรเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้กลุ่มประเทศ CLMV จึงได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกอยู่ในขณะนี้

ล่าสุด การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) ได้ประมาณการตัวเลขเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI Inflows) ที่ไหลเข้ามาในอาเซียนในปี 2555 อยู่ที่ 1,065 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.1 ของ FDI Inflows ของโลก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากร้อยละ 3.1 ในปี 2548 ขณะที่ประเทศปลายทางการลงทุนในอาเซียนที่สามารถดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้อย่างโดดเด่นก็คือกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีน้ำหนักในการดึงดูด FDI Inflows ที่เข้ามาในอาเซียนทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 7 ในปี 2548 เป็นประมาณร้อยละ 13 ในปี 2555

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์คอขวด (Bottleneck Effects) ที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศ CLMV ในปัจจุบันนี้ หรือก็คือปรากฏการณ์ที่การขยายตัวของเศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินกว่าที่ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงกฎระเบียบต่างๆ ทั้งทางภาษีและมิใช่ภาษีจะสามารถรองรับได้ทัน อาจทำให้กลุ่มประเทศ CLMV เป็นเพียงจุดหมายหนึ่งของการลงทุนในอาเซียนเท่านั้น แต่ไม่ใช่ปลายทางสุดท้ายที่เกิดขึ้นจริง จึงต้องเร่งขจัดปัญหาคอขวดที่น่าจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของกลุ่มประเทศ CLMV ในห้วงเวลานี้ ได้แก่

คอขวดที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องเร่งพัฒนาและลงทุนอีกเป็นจำนวนมากเพื่อรองรับการเติบโต พิจารณาได้จากการจัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index : LPI) โดยธนาคารโลกในปี 2555 ที่กลุ่ม CLMV ยังรั้งท้ายในอาเซียนและอยู่อันดับที่ 101, 109, 129 และ 53 ตามล าดับ จากทั้งหมด 155 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะการก่อสร้างถนนและระบบการขนถ่ายสินค้า เส้นทางรถไฟ การขนส่งทางน้ำและอากาศ รวมทั้งท่อก๊าซและระบบไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น สถานีบริการน้ำมัน ที่พักระหว่างทาง รถยกตู้สินค้าบริเวณด่านพรมแดน ตามเส้นทางหลักต่างๆ ที่ยังต้องเร่งก่อสร้างเพิ่มเติมอีกมาก

คอขวดที่ 2 การปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วและโปร่งใส อาทิ มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการผ่านแดน เช่น พิธีการด้านศุลกากร พิธีการตรวจคนเข้าเมือง กฎเกณฑ์ว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน ซึ่งครอบคลุมด้านยานพาหนะ เส้นทางการขนส่ง กฎระเบียบการจราจร ขนาดและน้ าหนักของยานพาหนะ และภาษีอากร เป็นต้น ตลอดจนการวางกฎระเบียบเพื่อรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยเฉพาะด้านอาชญากรรมข้ามชาติและแรงงานผิดกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญที่ผู้ประกอบการมักประสบปัญหา คือ ขั้นตอนผ่านพิธีการศุลกากรยังไม่รวดเร็วเท่าที่ควร ทำให้ใช้เวลานานในการน าเข้าสินค้า ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากกฎระเบียบแต่ละจุดผ่านแดนไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การเข้มงวดสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าสินค้า เป็นต้น ตลอดจนการปฏิบัติการเดินรถบรรทุกข้ามแดนระหว่างประเทศของผู้ประกอบการรถบรรทุกไทยที่ผ่านมายังติดขัดกฎระเบียบการเดินรถของแต่ละท้องถิ่นและการใช้พวงมาลัยขวาของรถบรรทุกจากประเทศไทย

ที่มา :  โพสต์ทูเดย์

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ thai-aec ดูทั้งหมด

640

views
Credit : thai-aec


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน