กูรูที่ปรึกษาสอบบัญชีชี้ AEC บีบผู้ประกอบการขนาดกลาง-เล็ก ควบรวม

ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจปรึกษาตรวจสอบบัญชีชี้อาเซียนเป็นAECปีนี้กดดันผู้เล่นขนาดกลางถึงเล็กต้องปรับตัวเพิ่มขนาดสร้างขีดแข่งขัน ให้สามารถขยายงานบริการลูกค้าให้มากขึ้น สนองตอบความต้องการเชิงกลยุทธ์ให้ลูกค้าเข้าถึงตลาดชาติสมาชิกอื่น แนะบริษัทไทยเร่งทําความเข้าใจ กฎระเบียบเลือกหาที่ปรึกษาบริษัทสอบบัญชีที่เหมาะสม

นับถอยหลังจากปีม้าเข้าสู่ปีแพะ และสิ้นปี 2558 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนโฉมจากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศรวมไทย (อาเซียน) ไปเป็นกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซีซึ่งการเปลี่ยนแปลงระดับภูมิภาคนี้ในมุมมองของเครือข่ายกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาและตรวจสอบบัญชีชั้นนําของโลกต่างเห็นว่าAECจะส่งผลให้เกิดพัฒนาและการควบรวมของผู้เล่นในธุรกิจนี้เพื่อเพิ่มขนาดสร้างความสามารถแข่งขันรับประโยชน์มากมายจากAEC

 : ผนึกเพิ่มขีดแข่งขัน

เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ หัวหน้าสํานักงาน บริษัท เคพีเอ็มจีภูมิไชย สอบบัญชีจํากัด กล่าวถึงบริษัทที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีที่ไม่ใช่ผู้เล่นอยู่ในเครือข่ายกลุ่มบิ๊กโฟร์หรือ ผู้เล่นรายใหญ่สุด 4 อันดับแรกของโลก อาจต้องเผชิญความท้าทายในเรื่องความสามารถ ในการแข่งขัน ดังนั้นจึงอาจจะได้เห็นการ ควบรวมกิจการมีมากขึ้น ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองภายในภูมิภาคและทั่วโลก ถือเป็นความ ท้าทายของบิ๊กโฟร์และผู้เล่นที่ไม่ใช่บิ๊กโฟร์ต้องเผชิญ ดังนั้นไม่มีใครอยู่กับที่ได้แต่ทุกคนต้องปรับตัว

วิไลพร ทวีลาภพันทอง หัวหน้าหุ้นส่วน บริษัทไพร้ซ วอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส หรือ พีดับบลิวซี คอนซัลติ้ง ประเทศไทย กล่าวถึงประเด็นเป็นความท้าทายสําหรับอุตสาหกรรมที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีว่า อยู่ที่สํานักงาน สอบบัญชีขนาดกลางและเล็กต้องเร่งปรับ ตัว และอาจได้เห็นการควบรวมกิจการระหว่างสํานักงานสอบบัญชีไทยด้วยกันเอง เพื่อขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น หรือการร่วมทุนระหว่างสํานักงานสอบบัญชีไทยกับประเทศอื่น ในอาเซียน เพื่อผนึกกําลังแข่งขันกับ สํานักงานตรวจสอบบัญชีอื่นทั้งในและ นอกประเทศ

ในแง่คุณภาพและความเป็นสากล ของนักบัญชีของไทยในภาพรวมไม่น่าเป็นห่วง ประเด็นที่น่าห่วงคือความขวนขวาย ของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาศักยภาพ หาประสบการณ์ความรู้ใหม่ให้แก่ตนเองสิ่งที่นักบัญชีหรือวิชาชีพอื่นๆ ต้องปรับตัวคือ ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต้องเพิ่มพูนความรู้ด้านภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง และเรียนรู้ภาษาวัฒนธรรม ข้อกฎหมายของแต่ละประเทศ ที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้วิไลพร มองว่าAECไม่ถือว่าส่งผลที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานด้านธุรกิจที่ปรึกษา อีกทั้งลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากการใช้บริการ เพราะช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระดับโลกได้อีกด้วย แต่ผู้เล่นในธุรกิจที่ปรึกษาของไทย จําเป็นต้องปรับตัว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการเพราะอาจจะขาดประสบการณ์ในการทํางานข้ามตลาดไปยังประเทศอื่น จึงจําเป็นต้องหาตัวช่วย เช่น เครือข่ายการทํางานจากต่างประเทศ

 : ช่วยให้งานที่ปรึกษาเพิ่มขึ้น

ความเห็นของ วิไลพร สอดรับกับ สุภศักดิ์กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ (ประเทศไทย) เห็นว่าAECจะช่วยให้เกิดการขยายตัวของตลาดที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีจากเดิมที่จํากัด ขอบเขตให้บริการแต่ในประเทศ แต่พอเปิดAECย่อมส่งผลให้โอกาสการบริการแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นและทําได้ทั้งภูมิภาค

นอกจากนี้การเปิดAECทําให้บริษัทหลายแห่งทั้งสัญชาติไทยและจากต่างประเทศ ที่มองเห็นโอกาสขยายธุรกิจไปยังประเทศที่มีอัตราเติบโตดีทําการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจและปรับปรุงรูปแบบดําเนินธุรกิจ ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับของประเทศที่เข้าไปลงทุน จึงจําเป็นต้องใช้ความชํานาญของที่ปรึกษาและผู้ตรวจสอบบัญชีที่มีความชํานาญมาช่วยสนับสนุน สํานักงานดีลอยท์ที่มีอยู่ทั่วอาเซียน ตระหนักถึงผลกระทบและโอกาสที่จะ เกิดขึ้นจากการเปิดAEC และได้ร่วมกัน ก่อตั้ง บริษัทดีลอยท์เซาต์อีสท์เอเชีย ลิมิเต็ด เพื่อให้บริการกับลูกค้าที่มีธุรกิจกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค และมีความต้องการใช้บริการที่ปรึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน และดําเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัวในAEC

 : มั่นใจอาเซียนดึงดูดทุนนอก

ผู้บริหารของดีลอยท์ในไทย ยังมองภาพรวมของการผลักดันอาเซียนให้เป็นAECในปลายปีหน้าว่าน่าจะทําได้สําเร็จ และหลังจากนั้นผู้นํารัฐบาลประเทศสมาชิก จะร่วมมือผลักดันให้เกิดตลาดการบริโภคและการลงทุนขนาดใหญ่ระดับภูมิภาคที่มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของภูมิภาคนี้ในระยะยาว รวมถึงเพิ่มอํานาจต่อรองในการเจรจาการค้ากับกลุ่มประเทศอื่นๆ ขณะที่ ศิวะ อินทรกําธรชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัทพีดับบลิวซีประเทศไทย เชื่อว่าAEC จะทําให้อาเซียนน่าลงทุนมากขึ้น เนื่องจากอาเซียนมีศักยภาพในการเติบโตอยู่แล้ว หากมีการผสมผสานรวมตัวกันทางเศรษฐกิจได้สําเร็จ จะทําให้เป็นกลุ่มที่มีการแข่งขัน มีนวัตกรรมและมีอํานาจแข่งขันในเวทีโลกมากขึ้น และสามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก และทําให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศเข้มแข็งขึ้น เพิ่มฐานรายได้ของประชาชน เพิ่มโอกาสในการทํางาน ส่งเสริมความเท่าเทียมกันลดช่องว่างการพัฒนา

 : แจงปัญหา-อุปสรรค AEC

อย่างไรก็ตาม สุภศักดิ์เห็นว่า ประเด็น ที่น่าเป็นห่วงและสมาชิกต้องร่วมมือกัน อย่างจริงจัง หลังจากได้จัดตั้งAECคือการเปิดเสรีภาคบริการซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ยกเว้นสิงคโปร์นั้น ยังไม่ดําเนินการแก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับภายในประเทศอย่างจริงจัง เพื่อให้สอดรับกับข้อตกลงในการเปิดเสรีภาคบริการของอาเซียน การขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีซึ่งประเทศใช้อยู่ การจัดการศุลกากรของภูมิภาคให้เป็นแบบวันสต็อปเซอร์วิส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนําเข้าและส่งออก รวมถึงการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการลงทะเบียนใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร และสุดท้ายการปรับโครงสร้างสํานักงานเลขาธิการอาเซียน ควรพิจารณาเพิ่มงบประมาณ บุคลากร ขอบเขตความรับผิดชอบ และอํานาจในการบังคับให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามข้อตกลงระดับภูมิภาคที่ได้ลงนามร่วมกัน

มุมมองของ สุภศักดิ์เป็นไปในแนวเดียวกับ ศิวะ คือข้อตกลงในหลายเรื่อง เช่น กฎระเบียบการ ลงทุน ภาษีอากร กฎหมายของแต่ละประเทศยังแตกต่าง อาจมีการกีดกันการค้าของประเทศสมาชิก ที่แต่ละประเทศมุ่งปกป้องผลประโยชน์ของประเทศตัวเอง เช่น ระบบโควตาการนําเข้า เพื่อปกป้องผู้ผลิตในประเทศ หรือกําหนดมาตรฐานต่างๆ ให้เข้มงวด เพื่อกีดกันสินค้าจากต่างชาติ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ thai-aec ดูทั้งหมด

676

views
Credit : thai-aec


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน