แรงงานไทย พร้อมเข้า AEC ?

ในปี 2558 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศคือ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์กัมพูชา และบรูไน จะก้าวเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”  การดําเนินการต่างๆ จะเป็นไปตามความเห็นชอบร่วมกันของประเทศสมาชิก คือ จะมีตลาดและฐานการผลิตสินค้าร่วมกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรีโดยแรงงานจะถูกจัดเป็นกลุ่มสําคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอาเซียน โดยอาชีพที่มีข้อตกลงร่วมกันว่าจะมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีมีอยู่ 8 อาชีพ ได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก การสํารวจ นักบัญชีทันตแพทย์แพทย์และการบริการ/การท่องเที่ยว แต่อาชีพอื่นๆ ก็ต้องเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม เพื่อการทํางานร่วมกันอย่างไม่ติดขัด และเพื่อรองรับการเข้ามาท่องเที่ยวของเพื่อนบ้านจากอาเซียนที่คาดการณ์ว่าจะมีจํานวนเพิ่มขึ้น

“การเข้าสู่AECเป็นทั้งโอกาสและวิกฤต คือ เป็นการกระตุ้นให้คนพัฒนาฝีมือ เพื่อยกระดับการทํางานให้คนไทยเป็นระดับหัวหน้างานและมีแรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานปฏิบัติการ นี่คือโอกาส แต่หากไม่มีการพัฒนาฝีมือก็อาจเกิดเป็นวิกฤตได้”

พล.อ.สุรศักดิ์กาญจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความสําคัญของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยกระทรวงแรงงานมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.) ได้อบรมฝึกภาษาไปจํานวนกว่า 26,218 คน เป็นภาษาอังกฤษจํานวนมากที่สุด 20,592 คน รองลงมาเป็นภาษาพม่า 1,215 คน ภาษาจีน 1,219 คน ภาษาเขมร 355 คน ภาษามลายู 124 คน ภาษาเวียดนาม 144 คน ภาษามาเลเซีย 51 คน ภาษาบาฮาซา 18 คน เป็นต้น ซึ่งหากมองตัวเลขแล้ว เทียบกับจํานวนแรงงานทั้งหมด ต้องถือว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนัก

ม.ล.ปุณฑริก สมิติอธิบดีกพร. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาฝีมือแรงงาน อธิบายถึง แผนการพัฒนาฝีมือแรงงานรองรับการเข้าสู่AECว่า กพร.นําแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ มาปรับเป็นแผนในปีงบประมาณ 2558 โดยวางแผนฝึกพัฒนาฝีมือแรงงานให้ได้ 1,204,302 คน ภายใต้งบประมาณ 693,716,200 ล้านบาท ซึ่งแผนมีทั้งหมด 3 ด้านคือ

  • การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบกิจการ มีเป้าหมาย 260 แห่ง เน้นในส่วนของสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ทําให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า รวมทั้งพัฒนาความสามารถของแรงงาน โดยพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติอิงสมรรถนะตําแหน่งงานรองรับประชาคมอาเซียน 48 สาขา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะทํางานที่ประกอบด้วยผู้แทนจากสภาวิชาชีพต่างๆ ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าสมควรประกาศเป็นอาชีพที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะหรือไม่อาทิช่างไฟฟ้าภายในอาคารช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ช่างซ่อมรถยนต์เป็นต้น เพื่อให้แรงงานได้ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน และเพิ่มศักยภาพฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรม โดยนําร่องในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 6,800 คน โดยในจํานวนนี้จะฝึกครูฝึกด้านยานยนต์ที่สถาบันยานยนต์เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยภายใต้งบประมาณ 3.3 ล้านบาท
  • การเพิ่มศักยภาพกําลังแรงงาน โดยยกระดับฝีมือแรงงานในสถานประกอบการให้เป็นแรงงาน ฝีมือ เป็นการอบรมหลักสูตรระยะสั้นในสถานประกอบการด้านภาษาต่างประเทศ ไอทีและด้านต่างๆ ตั้งเป้าว่าจะอบรม 80,169 คน รวมทั้งพัฒนาฝีมือและศักยภาพกลุ่มเครือข่ายแรงงานนานาชาติคือ การ ฝึกครูฝึก เพื่อให้สอนแรงงานในประเทศเพื่อนบ้านรองรับการลงทุนของผู้ประกอบการชาวไทยทั้งความสามารถ ภาษาและวัฒนธรรม เป้าหมาย 1,980 คน และทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อยกระดับทักษะฝีมือและการประเมินค่าจ้างแรงงาน ให้ได้ค่าจ้างตามฝีมือและสถานประกอบการเต็มใจที่จะจ่าย เป้าหมาย 51,160 คน และส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบการฝึกฝีมือแรงงานเป้าหมาย 1,025,000 คน โดยอยู่ระหว่างจัดทําหลักสูตรให้สถานประกอบการนําไปฝึกฝีมือแรงงานโดยสามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้
  • การพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ ทั้งการพัฒนาฝีมือแรงงานนอกระบบ เป้าหมาย 5,813 คน อาทิด้านภาษา บริการ เป็นต้น เพื่อรองรับจํานวนนักท่องเที่ยวในอนาคตฝึกอบรมฝีมือแรงงานรองรับเศรษฐกิจแนวชายแดน อย่างการพัฒนาด้านโลจิสติกส์พัฒนารองรับการท่องเที่ยวแนวชายแดน รองรับการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีเป้าหมาย 33,380 คน ทั้งนี้หากมองเยาวชนประเทศเพื่อนบ้านจะเห็นว่าเขามีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเอง สําหรับไทยก็ควรมีการกระตุ้นให้แรงงาน สถานประกอบการ และเยาวชนไทย สนใจเรียนรู้ทั้งภาษาอังกฤษที่จะเป็นภาษากลางของอาเซียนและภาษาเพื่อนบ้าน รวมทั้งวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่AEC สิ่งสําคัญไทยจะต้องกระตือรือร้นและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่AECเป็นอย่างมาก ทั้งการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่างๆ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารมวลชน แต่ก็เป็นการเตรียมความพร้อมเฉพาะกลุ่ม เฉพาะด้านเท่านั้น ไม่ใช่การตื่นตัวกันในทุกภาคส่วน นอกจากนี้การพัฒนาภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นภาษากลางของอาเซียนและภาษาเพื่อนบ้าน ก็ยังคงมีคนให้ความสนใจน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเวียดนาม เห็นได้ว่าเยาวชนในระดับมหาวิทยาลัยให้ความสนใจและฝึกฝนภาษาอังกฤษจนสามารถออกเสียงได้ไม่แพ้เจ้าของภาษาเลย
  • ที่มา : ชุติมา สิริทิพากุล

     

    เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ thai-aec ดูทั้งหมด

    829

    views
    Credit : thai-aec


    สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน