โอกาสยางพาราไทยในแคนาดา

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ที่มีการผลิตมากเป็นอันดับ 1 ของโลก และเป็นสินค้าเกษตร ส่งออกของไทยที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด แคนาดาเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าสนใจในการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราและมีลู่ทางการขยายตัวได้ดี อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่สหรัฐอเมริกากับแคนาดาได้มีการจัดทำเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ(NAFTA) ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ย้ายฐานการผลิตจากเมืองดีทรอยด์ รัฐมิชิแกน ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีพรมแดนติดฝั่งแคนาดา ย้ายมาตั้งโรงงานประกอบและผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ในรัฐ Ontario ของแคนาดา เนื่องจากค่าแรงที่ถูกกว่าและอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแคนาดาจนประเทศแคนาดาพัฒนาขึ้นสู่การเป็นประเทศที่สามารถผลิตรถยนต์ได้เป็นอันดับที่ 10 ของโลก

มีจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในปี 2555 จำนวน 2.46 ล้านคัน และเป็นหนึ่งในฐานการผลิตของบริษัทรถยนต์สหรัฐฯ (Big 3) อาทิ General Motors, Ford และ Chrysler ขณะที่ไทยเป็นผู้ผลิตอันดับที่ 9 ของโลก ผลิตได้ในปี 2555 จำนวน 2.48 ล้านคัน โดยในปี 2555 ไทยมีมูลค่าการส่งออกยางพาราไปแคนาดา 3,046 ล้านบาท โดยแคนาดานำเข้ายางพาราจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง ยางพาราที่ไทยส่งออกไปมาก ได้แก่ ยางแผ่นรมควันชั้นที่ 3 ยางแท่ง และยางแผ่นรวมควันชั้นที่ 4 เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตล้อรถ แคนาดายกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ายางธรรมชาติ

อย่างไรก็ตามหากเป็นผลิตภัณฑ์ยางล้อรถบัสหรือรถบรรทุก จะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 7อุตสาหกรรมผู้ใช้ยางพาราในแคนาดาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้ผลิตยางรถ (2) ผู้ผลิตสายพานและท่อยาง และ (3) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ โดยผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปส่วนใหญ่ป้อนเข้าอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ล้อรถ ยางนอก ยางใน ยางรองแท่นเครื่อง ยางรองกระจก และยางรองพื้น ส่วนที่เหลือนำไปใช้ผลิตสายพานล าเลียง การทำป่าไม้ ยางรองหลังคาอาคาร นอกจากนี้ แคนาดายังสามารถใช้ผลิตภัณฑ์อื่นทดแทนยางได้ เช่น ยางสังเคราะห์ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากน้ำมันเพื่อใช้ทดแทนยางธรรมชาติ ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตล้อรถมีความต้องการใช้ยางที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ทนทานต่อน้ ามันทนทานต่อการสึกหรอสูงและทนทานต่ออุณหภูมิ โดยอาจพิจารณานำยางสังเคราะห์ไปใช้แทนยางพาราธรรมชาติได้ ในช่วงที่ราคายางธรรมชาติแพงและใช้ในช่วงที่ยางธรรมชาติขาดตลาด

แคนาดามีสมาคมยางพาราแห่งแคนาดา (Rubber Association of Canada) มีกิจการโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราของแคนาดาที่สำคัญๆ ได้แก่ Air Boss Rubber Compounding, Hamilton Kent, PPD Rubtech, Soucy International และ Royal Mat และมีโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราของคนอเมริกา ได้แก่ Veyance Tech-nologies Inc, Parker Hannefin, National Rubber, American Biltrite (Cannada) และ Cooper Standard Auto motive และมี3โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ ยางพาราของคนญี่ปุ่น ได้แก่ Waterville TG Inc.

โดยประเด็นที่ท้าทายการพัฒนาตลาดยางพาราในแคนาดาเกิดจากกระแสตื่นตัวของผู้บริโภคเรื่องการจัดการผลิตภัณฑ์ยางใช้แล้วและเศษยางเก่า โดยเฉพาะการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ยางเพื่อลดมลพิษ

ขณะนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศอยู่ระหว่างศึกษาความพร้อมของไทยในการขยายโอกาสการค้าและการลงทุนกับแคนาดา ด้วยการจัดทำ FTA โดยมอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการศึกษา ก่อนเสนอรัฐสภาพิจารณาเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-แคนาดา ตามขั้นตอนต่อไป

ที่มา : โพสต์ทูเดย์

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ thai-aec ดูทั้งหมด

455

views
Credit : thai-aec


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน