เตรียมความพร้อมอีกรอบกับ 8 อาชีพ AEC


AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน  ซึ่งก่อตั้งในปี 1967 (พ.ศ.2510) โดยมี 5 ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งคือ ไทย /มาเลเซีย/อินโดนีเซีย/ฟิลิปปินส์/สิงคโปร์ จากนั้นในปี 1984 (พ.ศ.2527) ประเทศบรูไน เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเป็นประเทศที่ 6  , เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกปี 1995 (พ.ศ.2538) ตามมาด้วยลาวและพม่าในปี 1997 (พ.ศ.2540) ปิดท้ายด้วยกัมพูชาในปี 1999 (พ.ศ.2542) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง

การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้นส่งผลกระทบกับประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศโดยสามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีระหว่างกันในประชาคมอาเซียน (Mobility of professions in ASEAN community) โดยวิชาชีพที่มีการตกลงให้เคลื่อนย้ายหรือแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกได้นั้น มี 8 วิชาชีพดังนี้

1. สาขาวิศวกรรม
2. สาขานักสำรวจ
3. สาขาสถาปัตยกรรม
4. สาขาแพทย์
5. สาขาทันตแพทย์
6. สาขาพยาบาล
7. สาขานักบัญชี
8. สาขาวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว 

AEC เกิดจากกระแสโลกในเรื่อง FTA (Free Trade Area-เขตการค้าเสรี) คือการรวมกลุ่มของประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดหรือยกเลิกอุปสรรคการค้า การลงทุนระหว่างกัน เช่น

· ลดภาษ๊ / ยกเลิกภาษี
· ลด/ยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้า-การลงทุนต่างๆ
· การกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้า-การลงทุน
· การร่วมมือกันเพื่อขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ/การค้า/การลงทุน

โดยในปี 2550 ได้ร่วมกันทำ AEC Blueprint ใน”พิมพ์เขียวอาเซียน” ได้กำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน ที่มีสาระสำคัญดังนี้

ยุทธศาสตร์ 1-การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันโดยมี 5 องค์ประกอบหลักคือ

1.1 การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
1.2 การเคลื่อนย้ายบริการเสรี
1.3 การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี
1.4 การเคลื่อนย้ายเงินทุนสรีขึ้น
1.5 การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี

2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

4. การเป็นภมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

กำหนดให้มี 12 สาขาอุตสาหกรรมสำคัญลำดับแรกที่จะทำให้อยู่ภายใต้ตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซี่ยน 

1. เกษตร
2. ประมง
3. ผลิตภัณฑ์ยาง
4. ผลิตภัณฑ์ไม้
5. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
6. อิเล็กทรอนิกส์
7. ยานยนต์
8. การขนส่งทางอากาศ
9. สุขภาพ
10. E-Asean
11. ท่องเที่ยว
12. โลจีสติกส์
และให้มีความร่วมมือในสาขา อาหาร เกษตรและป่าไม้

ยุทธศาสตร์ 2 การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มี 6 องค์ประกอบหลักได้แก่

1. นโยบายการแข่งขัน
2. การคุ้มครองผู้บริโภค
3. สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ( IPR)
4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
5. มาตรการด้านภาษี
6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ยุทธศาสตร์ 3 เป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน มี 2 องค์ประกอบคือ

1. การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
2. ความริเริ่มในการรวมกลุ่มของอาเซี่ยน (Innitiatives for Asean Integration:IAI)เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่ากับสมาชิกใหม่(กัมพูชา พม่า เวียดนาม –CLMV)

ยุทธศาสตร์ 4 การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก มี 2 องค์ประกอบคือ

1. การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และทำความตกลงเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด (CEP)กับประเทศนอกอาเซี่ยน

· FTA ระหว่างอาเซี่ยน-จีน
· FTA ระหว่างอาเซี่ยน-เกาหลี
· FTA ระหว่างอาเซี่ยน-ออสเตรเลีย&นิวซีแลนด์
· FTA ระหว่างอาเซี่ยน-อินเดีย

2. การมีส่วนร่วมในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานโลก

ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังเป็น AEC

o อัตราภาษีระหว่างสมาชิกเป็น 0%(ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวของแต่ละประเทศ ภาษีไม่เกิน5%)
o การค้าสะดวกขึ้น ลดขั้นตอนพิธีการศุลกากร
o ผู้ส่งออกสามารถออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเอง
o มีกฎระเบียนทางการค้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ลดการกีดกันทางการค้า การลงทุนระหว่างกัน
o นักลงทุนอาเซี่ยนเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจบริการในประเทศต่างๆในอาเซี่ยนได้>=70%
o เกิดการย้ายฐานการผลิตเพื่อให้แข่งขันได้
o มีการปรับประสารนโยบายทางการค้า การลงทุนและทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อยกระดับการแข่งขัน
o มีการสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกัน เพื่อลดต้นทุนโลจีสติกส์ อันจะช่วยยกระดับการแข่งขัน
o มีการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศสมาชิกให้เสมอภาค
o มีการเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซี่ยนกับประเทศอื่นๆ

ธุรกิจบริการที่มีกำไร(EBITDA Margin) สูงสุดของไทยเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซี่ยนด้วยกัน

Ø ธุรกิจโรงพยาบาล
Ø ธุรกิจบริการบรรจุหีบห่อโลหะและแก้ว
Ø บริการด้านบันเทิงและโรงภาพยนตร์
Ø ร้านอาหาร

การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีใน ASEAN การเปิดให้เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี รวมถึงการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ ซึ่งจะเกี่ยวพันไปถึงการเปิดเสรีด้านการลงทุนการเคลื่อนย้ายเงินทุนและการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพหรือแรงงานฝีมือในการค้าบริการต่างๆ จะมีรายละเอียดดังนี้

- ให้การเคลื่อนย้ายได้เฉพาะแรงงานวิชาชีพหรือแรงงานฝีมือเท่านั้น โดยนักวิชาชีพที่เป็นคนอาเซียน สามารถไปจดทะเบียนประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนอื่นๆได้ แต่ยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในเกี่ยวกับวิชาชีพในแต่ละประเทศด้วย
- การเคลื่อนย้ายแรงงานต้องปฏิบัติตามระเบียบ ขั้นตอนเงื่อนไขที่กำหนดไว้ร่วมกัน ที่เรียกว่า”“ข้อตกลงยอมรับร่วมหรือ MRAs(Mutual Recognition Arrangements)”หมายถึงรายละเอียดข้อตกลงของแต่ละอาชีพว่ามีอะไรบ้าง

ณ ปัจจุบัน อาเซียนได้สรุปผลการจัดทา MRA และลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ดังนี้

- ข้อตกลงการยอมรับร่วมในสาขาบริการวิชาชีพวิศวกรรม ลงนามเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2548 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

- ข้อตกลงการยอมรับร่วมในสาขาบริการวิชาชีพพยาบาล ลงนามเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2549 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์

- ข้อตกลงการยอมรับร่วมในสาขาบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และกรอบความตกลงสำหรับการยอมรับร่วมในคุณสมบัติวิชาชีพด้านการสำรวจ ลงนามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์

- กรอบความตกลงว่าด้วยข้อตกลงการยอมรับร่วมในสาขาบริการวิชาชีพบัญชี ข้อตกลงการยอมรับร่วมในสาขาบริการวิชาชีพแพทย์ และข้อตกลงการยอมรับร่วมในสาขาวิชาชีพทันตแพทย์ ลงนามเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 ประเทศไทย

- กรอบข้อตกลงการยอมรับร่วมในสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว ในการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2552 ณ กรุงฮานอย ประเทศ เวียดนาม

ขณะนี้ อาเซียนอยู่ระหว่างจัดตั้งกลไกในการดำเนินการตาม MRA ดังกล่าวการสรุปผล MRA ดังกล่าวเป็นการสิ้นสุดการเจรจา MRA ณ ปัจจุบัน ขณะเดียวกัน อาเซียนอาจพิจารณาเริ่มการเจรจา MRA ในสาขาวิชาชีพอื่นในอนาคต ซึ่งขณะนี้จะให้ความสำคัญกับการดำเนินการตาม MRA ที่เสร็จแล้วก่อน เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพในภูมิภาคได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งในอนาคต ถ้าคนจบวิชาชีพต่างๆ ถ้าได้ภาษาอังกฤษด้วยสามารถ go inter ได้แน่นอน และจะมีผลให้ค่าแรงในกลุ่ม AEC จะมีความใกล้เคียงกันมากขึ้นไม่โดดแตกต่างกันมากเหมือนปัจจุบัน

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ Bali Concord II ซึ่งได้มีการกำหนดให้จัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลักภายในปี 2551 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ/แรงงานเชี่ยวชาญ/ผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ทั้งนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการลงนามข้อตกลงสาขาวิศวกรรม เมื่อปี 2548 ลงนาม MRA สาขาวิชาชีพการพยาบาลเมื่อปี 2549 และลงนาม MRA สาขาสถาปัตยกรรมและกรอบข้อตกลงการยอมรับในคุณสมบัติด้านการสำรวจ เมื่อปี 2550

ล่าสุด อาเซียนได้เจรจาจัดทำ MRA วิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และบริการบัญชี ซึ่งสามารถตกลงกันได้ในสาระสำคัญแล้ว โดยในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 40 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551 อาเซียน 9 ประเทศ ยกเว้นไทย ได้ลงนาม MRA วิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และบริการบัญชีแล้ว

โดยปัจจุบันมี MRAs ใน 8 สาขาวิชาชีพ

MRAs สาขาวิศวกรรม
SEAN Mutual Recognition Arrangement on Engineering Services 

คุณสมบัติ

- สำเร็จระดับปริญญาทางวิศวกรรมที่ได้รับการยอมรับโดยองค์กรด้านการรับรองวิศวกรรมวิชาชีพ
- มีการขึ้นทะเบียนหรือมีใบอนุญาตที่ยังมีผลในปัจจุบัน
- มีประสบการณ์ในภาคปฎิบัติและมีความหลากหลายมาไม่ต่ำกว่า 7 ปี หลังจบการศึกษาและจะต้องได้รับผิดชอบงานด้านวิศวกรรมที่เด่นชัดอย่างน้อย 2 ปีด้วย
- ได้รับใบรับรองจากผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพ(PRA-Professional Regulatory Authority)ของประเทศแหล่งกำเนิดและไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรง
- วิศวกรที่มีคุณสมบัติครบมีสิทธิขอสมัครต่อคณะกรรมการประสานงานด้านวิศวกรวิชาชีพอาเซียน(ACPECC)เพื่อได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซี่ยน(ACPER)
- วิศวกรวิชาชีพอาเซียน( ACPE)จะมีสิทธิ์สมัครต่อผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพต่างด้าวจดทะเบียน (REPE)
- จะต้องไม่เป็นการประกอบวิชาชีพเพียงลำพัง แต่จะต้องประกอบวิชาชีพร่วมกับวิศวกรวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายของประเทศผู้รับ

(ตัวอย่าง)หน่วยงาน PRA ของสาขาวิชาชีพวิศวกรรม

Ø บรูไน ดารุสซาราม (กระทรวงพัฒนา
Ø มาเลเซีย (คณะกรรมการวิศวกรมาเลเซีย)
Ø พม่า(สำนักงานใหญ่งานสาธารณะ กระทรวงการก่อสร้าง)
Ø สิงค์โปร์ (คณะกรรมการวิศวกรวิชาชีพสิงคโปร์)
Ø ไทย(สภาวิศวกร)
Ø ฟิลิปปินส์ (คณะกรรมาธิการด้านกฎระเบียบวิชาชีพและคณะกรรมการกำกับดูแลวิชาชีพด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง)
Ø ลาว (สหภาพลาวแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม)

MRAsสาขาวิชาชีพแพทย์ 

คุณสมบัติ

- สำเร็จการศึกษาวิชาชีพแพทย์
- จดทะเบียน และ/หรือได้รับใบอนุญาตจากประเทศแหล่งกำเนิดที่ยังมีผลในปัจจุบัน
- มีประสบการณ์ในภาคปฎิบัติวิชาชีพแพทย์ไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องในประเทศแหล่งกำเนิด ก่อนที่จะสมัครขอขึ้นทะเบียน
- ปฎิบัติสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องของประเทศแหล่งกำเนิดในระดับที่น่าพอใจ
- ได้รับใบรับรองจากผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพแพทย์(PMRA)ของประเทศแหล่งกำเนิดว่าไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรง

MRAsสาขาวิชาชีพพยาบาล 

คุณสมบัติ

- สำเร็จการศึกษาวิชาชีพการพยาบาล
- จดทะเบียน และ/หรือได้รับใบอนุญาตจากประเทศแหล่งกำเนิดที่ยังมีผลในปัจจุบัน
- มีประสบการณ์ในภาคปฎิบัตวิชาชีพพยาบาลไม่น้อยกว่า 3 ปีต่อเนื่อง ก่อนที่จะสมัครขอขึ้นทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาต
- ปฎิบัตสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องของประเทศแหล่งกำเนิดในระดับที่น่าพอใจ
- ได้รับใบรับรองจากผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาล(NRA)จากประเทศแหล่งกำเนิดว่าไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรง

MRAsสาขาวิชาชีพนักบัญชี ยังเป็นหลักการกว้างๆสำหรับการเจรจาในระดับทวิภาคีหรือพหุภาคี
14-3-2556 14-14-14

คุณสมบัติ 

- นักบัญชีอาชีพ(PPA-Practising Professional Accountant)ต้องได้รับการศึกษาตามเงื่อนไขที่มีผลบังคับใช้อยู่ในประเทศแหล่งกำเนิด ซึ่งหนังสือรับรองการศึกษาของบุคคลนั้นอาจถูกประเมินและยอมรับโดยคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี(NAB-National Accountancy Body)และ/หรือสภาวิชาชีพบัญชี(PRA)ของประเทศผู้รับว่าผ่านเกณฑ์เงื่อนไขทางการศึกษาในประเทศผู้รับ
- ต้องมีใบอนุญาตอื่นๆในการประกอบวิชาชีพ
- ต้องมีการกำหนดให้นักบัญชีอาชีพ(PPA)ซึ่งขอให้มีการยอมรับในประเทศนั้น แสดงให้เห็นว่ามีความสามารถในการประกอบวิชาชีพ เพื่อสร้างความมั่นใจว่านักบัญชีอาชีพ(PPA)มีความรู้ความสามารถครบถ้วนตามกฎระเบียบภายในของประเทศผู้รับ
- นักบัญชีอาชีพ(PPA)ที่ต้องการให้มีการยอมรับจะต้องมีประสบการณ์ครบถ้วนตามความต้องการที่ระบุไว้โดยประเทศผู้รับ

MRAsสาขาวิชาชีพบริการด้านการท่องเที่ยว(Tourism Professionals)ซึ่งไทยลงนาม พ.ย.2555 

คำว่าบุคลากรด้านการท่องเที่ยว มีความหมายคลอบคลุม 32 ตำแหน่งงานที่มีอยู่ใน 2 กลุ่มธุรกิจคือ

1. ธุรกิจโรงแรม( Hotel Services)
2. ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว(Travel Services)

ประเทศสมาชิกจะร่วมกันจัดทำสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน(ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professionals;ACCSTP)ซึ่งจะมีประกาศนียบัตรให้แก่บุคลากรที่มีสถานะตามที่กำหนด

ตำแหน่งงานในธุรกิจโรงแรม (Hotel Services)เช่น

§ Front Office Manager/Front Office Supervisor
§ Receptionist /Telephone Operator
§ Bell Boy/ Laundry Attendant
§ Room Attendant/Public Area Cleaner
§ Executive Chef/Baker
§ Butcher/F&B Director
§ Bartender/Waiter
§ ฯลฯ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ,กระทรวงพาณิชย์,กระทรวงต่างประเทศ
ชมรมบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ 
ที่มา วิชาการ.คอม

ติดตามสาระดีๆ สาระเด็ดๆ กดไลท์เลยค้าบ
 

 

 

 

ติดตามสาระดีๆ สาระเด็ดๆ กดไลท์เลยค้าบ
 

 



  
 

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ eduzones ดูทั้งหมด

770

views
Credit : eduzones


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน