คนไทยได้ (หรือไม่ได้) อะไรจากประชาคมอาเซียน
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ผู้แทนกรมอาเซียนได้เข้าร่วมโครงการบัวแก้วสัญจรของกระทรวงการต่างประเทศ และการสัมมนากับชุมชนและสื่อมุสลิม ณ มัสยิดอะมะดียะฮ์ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยได้บรรยายเรื่อง “คนไทย ได้ (หรือไม่ได้) อะไรจากประชาคมอาเซียน” มี รายละเอียด ดังนี้
1. การสร้างประชาคมอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้มีข้อตัดสินใจร่วมกันว่า ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (“มั่นคง”) ประชาคมเศรษฐกิจ (“มั่งคั่ง”) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (“เอื้ออาทรและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง”) ไทยยังให้ความส าคัญกับการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และด้านประชาชน และได้ผลักดันขยายการเชื่อมโยงดังกล่าวไปยังประเทศคู่เจรจาในกรอบอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) โดยได้รับรองเอกสาร ASEAN+3 Partnership on Connectivity ด้วย
2. ความสำคัญของอาเซียนกับประเทศไทย อาเซียนเป็นวาระแห่งชาติและเป็นหัวใจของนโยบายการต่างประเทศของไทย โดยได้ก่อตั้งขึ้นที่ประเทศไทยและไทยได้มีบทบาทนำในหลายประเด็นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงตลอด 45 ปีที่ผ่านมา อาเซียนมีการดำเนินกิจกรรมที่สะท้อนผลประโยชน์ ทั้งเรื่องการเชื่อมโยงการแก้ไขและเตรียมรับมือกับความท้าทายรูปแบบใหม่ และการจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ ไทยย่อมจะได้รับผลพวงที่ดีจากการกรมสารนิเทศสร้างประชาคมอาเซียนโดยรวมทั้ง 3 ด้าน อันจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของไทยในเวทีโลก
3. ด้านการเมืองและความมั่นคง การดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเพื่อให้ภูมิภาคมีสันติภาพและความมั่นคง อาเซียนแก้ไขข้อพิพาทด้วยสันติวิธี มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาลักษณะข้ามชาติ และเพิ่มอำนาจการต่อรอง
อดีตเอกอัครราชทูตหรือการเจรจากับประเทศ/กลุ่มประเทศต่างๆ และเป็นครั้งแรกที่ผู้นำได้รับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนอาเซียน
4. ด้านเศรษฐกิจ การดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ช่วยเพิ่มพูนการค้า การลงทุนระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน ขยายตลาดการค้า ได้ประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาดและดึงดูดนักลงทุนจากภายนอก ลดต้นทุนการผลิต (วัตถุดิบ แรงงาน และเงินทุน) การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ และได้รับประโยชน์จากการจัดทำเขตการค้าเสรี โดยจะเริ่มเจรจาการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแบบรอบด้านกรมสารนิเทศในภูมิภาค(Regional Comprehensive Economic Partnership – RCEP) ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ที่มีเขตการค้าเสรีกับอาเซียนอยู่แล้ว (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ในช่วงต้นปี 2556 โดยให้แล้วเสร็จในปี 2558
5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม การดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนจะช่วยเร่งหรือกระตุ้นเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ การส่งเสริมและคุ้มครองสวัสดิการสังคม การแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคม เช่น โรคระบาด ยาเสพติด การค้ามนุษย์ รวมทั้ง สร้างความร่วมมือในการลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นต้น
หัวใจสำคัญคือ ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิติต่างๆ อย่างรอบด้านในทุกภาคส่วนเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนโดยคงยังเหลือเวลาอีกไม่มากนัก
ที่มา : ลดา ภู่มาศ กรมอาเซียน (มติชน)