เยาวชนไทยเกือบ100%เตรียมเข้าAC ชี้ต้องเน้นทักษะ'ภาษา'ทุกระดับ

 
เยาวชนไทยเกือบ100%เตรียม

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เป็นที่ทราบกันดีว่ามีเป้าหมายเพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนที่เสรีขึ้น 

โดยในประเทศไทยได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่จำเป็นแก่ประชาชนเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

นอกจากนี้ผลจากการรวมกลุ่มฯยังได้ส่งผลต่อระบบการศึกษาของไทย จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสอดรับต่อการเข้าสู่อาเซียน

 ดังนั้นศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร    คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  จึงได้สำรวจความคิดเห็นของเยาวชน  ทั่วประเทศ ในหัวข้อ “เยาวชนไทยกับ AEC” จำนวน 1,181 ราย ระหว่างวันที่ 15 – 30 มิถุนายน 2556 สรุปผลได้ดังนี้    ร้อยละ 97.9 ทราบว่าจะมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 มีเพียงร้อยละ 2.1 เท่านั้นที่ยังไม่ทราบ เมื่อสอบถามการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ของเยาวชน พบว่า เยาวชนร้อยละ 99.3 ได้รับความรู้ ข่าวสาร ต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 60.8 เห็นว่ายังได้รับข้อมูลเชิงลึกเรื่องประชาคมอาเซียนไม่เพียงพอ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น มีเพียงร้อยละ 39.2 ที่เห็นว่าได้รับข้อมูลเพียงพอแล้ว

จากการสอบถามถึง การเตรียมตัวและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่จะส่งผลกระทบต่อเยาวชน พบว่า ร้อยละ 81.6 มีการเตรียมตัวให้เข้าใจและทราบวัตถุประสงค์จำนวนสมาชิกที่เข้ารวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 68.9 ทราบถึงช่วงเวลาที่จะมีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลา เปิด – ปิดภาคเรียนให้สอดคล้องกับอาเซียน ร้อยละ 62.9 ศึกษาผลดีและผลกระทบต่างๆ หลังเกิดการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว และร้อยละ 45.0 เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมตามลำดับ

โดยผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อมูลว่าหน่วยงานการศึกษาได้ให้ความรู้สอดแทรกกับการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามต้องมีการให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะในภาคการศึกษาของไทยก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้งในเรื่องของการปรับเปลี่ยนช่วงเวลา เปิด-ปิด ภาคเรียน การรับนักศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียนเข้ามาเรียนในสถาบันการศึกษา รวมถึงการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมทางการศึกษาและอีกสิ่งที่สำคัญ คือ ด้านภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
จากการที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) ได้ทําการสํารวจความคิดเห็นของเยาวชนต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่าเยาวชนไทยส่วนใหญ่ทราบข้อมูลต่างๆเป็ นอย่างดี เนื่องจากหน่วยงานการศึกษาได้ให้ความรู้ สอดแทรกกับการเรียนการสอน

อย่างไรก็ตามต้องมีการให้ความรู้ อย่างต่อเนื่อง เพราะในภาคการศึกษาของไทยก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้งในเรื่องของการปรับเปลี่ยนช่วงเวลา เปิด-ปิ ด ภาคเรียน การรับนักศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียนเข้ามาเรียนในสถาบันการศึกษา รวมถึงการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมทางการศึกษา

อีกสิ่งที่สําคัญ คือ ด้านภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร โดยจากผลวิจัย(คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ชี้ว่าประเทศไทยยังมีการใช้ภาษาอังกฤษที่ด้อย เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในอาเซียน ดังนั้นสิ่งที่ต้องให้ความรู้ เมื่อเข้าสู่อาเซียน คือ  การเพิ่มทักษะทางด้านภาษาในทุกระดับ เพื่อสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันและให้ประเทศไทยพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ได้อย่างสมบูรณ์   

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ eduzones ดูทั้งหมด

1150

views
Credit : eduzones


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน