ทำธุรกิจในไทย อยู่อันดับที่ 18จาก185 ของโลก และที่ 3 ในอาเซียน

Doing Business…เป็นรายงานผลการศึกษาเพื่อจัดอันดับความยาก-ง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกซึ่งธนาคารโลกจัดทำขึ้น โดยศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ การอำนวยความสะดวก ต้นทุนค่าใช้จ่าย และกฎหมายกฎระเบียบต่างๆ ของรัฐว่ามีส่วนสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร โดยมุ่งเน้นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ซึ่งมีตัวชี้วัดในการศึกษา 10 ด้าน ครอบคลุมพื้นฐานของวงจรธุรกิจตั้งแต่การเริ่มต้นจัดตั้งธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ โดยธนาคารโลกเริ่มเผยแพร่รายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ซึ่งเป็นการสำรวจใน 133 ประเทศ สำหรับในประเทศไทยธนาคารโลกเริ่มเข้ามาสำรวจในปี ค.ศ.2005 (พ.ศ. 2548) และในรายงานฉบับล่าสุดปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ.2556) มีจำนวนประเทศที่ธนาคารโลกดำเนินการสำรวจถึง 185 ประเทศ โดยผลการสำรวจการจัดอันดับความยากง่ายของประเทศไทยในปี 2005 อยู่ในลำดับที่ 20 จาก 145 ประเทศ /ในปี 2006 อยู่ในลำดับที่ 20 จาก 155 ประเทศ /ในปี 2007 อยู่ในลำดับที่ 18 จาก175 ประเทศ /ในปี 2008 อยู่ในลำดับที่ 15 จาก 178 ประเทศ/ในปี2009 อยู่ในลำดับที่ 13 จาก 181 ประเทศ/ในปี 2010 อยู่ในลำดับที่12 จาก 183 ประเทศ/ในปี 2011 อยู่ในลำดับที่ 19 จาก 183 ประเทศ/ในปี 2012 อยู่ในลำดับที่ 17 จาก 183 ประเทศ/ในปี 2013 อยู่ในลำดับที่ 18 จาก 185 ประเทศ

ขอเรียนว่าวัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานผลการวิจัยเรื่องDoing Business 4 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อให้เกิดความง่ายในการดำเนินการ (Easier) 2. เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินการ (Faster)3.เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำ (Cheaper) 4.เพื่อให้กฎหมายกฎระเบียบเอื้อต่อการดำเนินการ (Smarter regulations)โดยรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business เป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอน ระยะเวลา ค่าใช้จ่ายกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้านกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ไม่สามารถสอบถามในทุกหน่วยงานคงเกิดจากมีจำนวนประเทศที่ต้องทำการสำรวจมากและต้องดำเนินการทุกปี ได้สำรวจกับบริษัทที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย (ส่วนใหญ่เป็น Law Firms ระหว่างประเทศ) ด้านบัญชีของธุรกิจ บริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเชื่อว่าบริษัท เหล่านี้ทำงานกับธุรกิจหลายประเภท จึงมีความรู้เป็นอย่างดีทั้งกระบวนการดำเนินการและผลการดำเนินการ ส่วนวิธีการคำนวนเพื่อจัดอันดับ Doing Business ของธนาคารโลกนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดย่อยของตัวชี้วัดทั้ง 10 ด้าน และจำนวนเรื่องในการปรับปรุง (Reform) ที่ประเทศต่างๆ ดำเนินการในแต่ละปี

สำหรับผลการจัดอันดับในปี 2013 การสำรวจของธนาคารโลกประกอบด้วย 10 ด้าน ครอบคลุมตั้งแต่การเริ่มต้นจัดตั้งธุรกิจจนถึงการปิดกิจการปรากฏผลกล่าวคือ 1. การเริ่มต้นธุรกิจ (Starting a Business) : อันดับ 1 นิวซีแลนด์ (ไทย อันดับ 85) 2. การขออนุญาตก่อสร้าง (Dealing with Construction Permits) : อันดับ 1 ฮ่องกง (ไทยอันดับ 16) 3. การขอใช้ไฟฟ้า (Getting Electricity) : อันดับ 1 ไอซ์แลนด์ (ไทยอันดับ 10) 4. การจดทะเบียนทรัพย์สิน(Registering Property) : อันดับ 1 จอร์เจีย (ไทยอันดับ 26) 5. การได้รับสินเชื่อ(Getting Credit) : อันดับ 1 มี 3 ประเทศ คือ อังกฤษ มาเลเซีย แอฟริกาใต้ (ไทยอันดับ 70) 6. การคุ้มครองผู้ลงทุน(Protecting Investors) : อันดับ 1 นิวซีแลนด์ (ไทยอันดับ 13)7.การชาระภาษี(Paying Taxes) : อันดับ 1 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเกือบเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่เก็บภาษีเงิน No VAT – No Income Tax (ไทยอันดับ 96) 8. การค้าระหว่างประเทศ(Trading Across Borders): อันดับ 1 สิงคโปร์ (ไทยอันดับ 23) 9. การบังคับให้เป็นไปตามสัญญา(Enforcing Contracts) : อันดับ 1 ลักเซมเบิร์ก (ไทยอันดับ 23)10.การแก้ปัญหาการล้มละลาย(Resolving insolvency) : อันดับ 1 ญี่ปุ่น (ไทยอันดับ 85)

ตัวเลขของประเทศไทยปีล่าสุดอยู่ในอันดับ 18 และจัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของอาเซียน คงไม่หวังว่าจะเป็นที่ 1 ในอาเซียน เพราะโครงสร้างของประเทศและเงื่อนไขต่างๆของสังคมแตกต่างจากประเทศสิงคโปร์ผู้เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคนี้ค่อนข้างมาก โดยส่วนตัวแล้วเราปรับอะไรก็ตามต้องยึดถึงหลัก”ความถูกต้องและความชัดเจน”การที่เราพัฒนาได้เร็วขึ้นเกิดจากขั้นตอนที่ลดลงด้วยความร่วมมือของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่างเห็นได้ชัด พร้อมใช้เทคโนโลยีทันสมัย-เข้ามาช่วยและได้อันดับที่ดีขึ้นแต่ไม่สามารถตอบคำถามเต็มปากเต็มคาว่า “ยังคงมาตรฐานความถูกต้องเหมือนเดิมหรือไม่? หรือเข้ามาตรฐานสากลที่เกิดผลรวมดีต่อเนื่อง?” นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งแต่ปัญหาใหญ่เป็นเรื่องของการประกอบธุรกิจที่สร้างโอกาสเขาเพิ่มและเราได้อย่างลงตัวและเหมาะสมหรือยัง? มีหลายคนพูดอยู่เสมอว่าทาอะไรก็อยากได้ Win-Win เป็นคำพูดง่ายที่สุด-แต่ทายากมากในเชิงการค้า

อย่างไรก็ตาม ถ้ามี 2 คนก็มีความเป็นไปได้สูงเหมือนกับโยนเหรียญ 2 เหรียญโอกาสหัว-หัว /หัวก้อย/ ก้อย-หัว /ก้อย-ก้อย มีทั้งหมด 4 เหตุการณ์ยิ่งมากเหรียญหรือยิ่งมากคนความลงตัวก็จะยากขึ้น ฉะนั้น หากเข้าใจสิ่งเหล่านี้และนำเข้ามาประกอบพิจารณาด้วย จะช่วยเสริมหรือกระตุ้นจิตสานึกที่ดีเป็นประโยชน์ต่อชาติในเชิงยุทธศาสตร์ ถ้าเราเป็นเหรียญอันแรกแล้วได้หัว-หัว หรือ หัว-ก้อย ก็เป็นเรื่องที่ดี ในทางผลลัพธ์อื่นได้ก้อย-หัวแต่ถูกสภาพบังคับแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ต้องต่อรองให้มีสิ่งชดเชยได้ถ้าเข้าใจ-มั่นใจทำให้ดีขึ้นแล้วความสามารถในการประกอบธุรกิจของคนไทยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ดีขึ้น…นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงแต่ถ้าหากว่าทาแล้วง่ายกว่า (Easier) เร็วกว่า (Faster)ถูกกว่า(Cheaper) ตามแนวคิด Doing Business ของ World Bank ที่ต้องการเปิดโอกาสทุกชนชาติเข้าแข่งขันทางธุรกิจได้กว้างขวางแต่คนของเราไปไม่ถึง…ต้องตรอง นี่ก็เป็นมุมคิด…ทำเพื่อเป้าหมายอะไร?…หรือทาในระดับพอควรที่จะได้โดยรวมมากกว่า?

ที่มา :  ศิริพล ยอดเมืองเจริญ (สยามรัฐ)

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ thai-aec ดูทั้งหมด

669

views
Credit : thai-aec


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน