ประเด็นเร่งด่วนในการพัฒนา ASEAN SMEs

วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เป็นกลุ่มธุรกิจ ที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นแหล่งจ้างงานและการส่งออกที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจเหล่านี้ ดังจะเห็นได้จากตัวเลขเฉลี่ยทางสถิติ พบว่า วิสาหกิจเหล่านี้คิดเป็นร้อยละ 96 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน และมีส่วนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 42 ของมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ส่งออกร้อยละ 25 ของมูลค่าการส่งออก ทั้งหมด และจ้างงานถึงร้อยละ 73 ของการจ้างงานทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาสถิติสัดส่วน ของจำนวนวิสาหกิจต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ในบริบทของแต่ละประเทศสมาชิก จะเห็นได้ว่า ประเทศอินโดนีเซียมีตัวเลขสูงสุดที่ 196.9 ตามด้วยไทย (43.94) สิงคโปร์ (35.15) บรูไน (23.99) และมาเลเซีย (22.89)

หากพิจารณาจากแนวโน้มอุปสงค์ในตลาดโลก ก็จะทราบถึงวิวัฒนาการของการดำเนินธุรกิจของ ASEAN SMEs

กล่าวคือ วิสาหกิจส่วนใหญ่จะยังคง ดำเนินธุรกรรมทางการค้าระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้น การบุกตลาดของประเทศพัฒนาแล้ว ในระยะสั้นถึงระยะกลาง เนื่องจากตลาดดังกล่าวยังมีรายได้ในระดับสูง และมีความต้องการสินค้าอย่างต่อเนื่อง แต่ในระยะยาว จะเริ่มหันมาบุกตลาดอุบัติใหม่ (Emerging Markets) ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเอง และประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น

ผลงานวิจัยของนักวิชาการและสถาบันวิจัยส่วนหนึ่ง ระบุว่า ASEAN SMEs มีแนวโน้มที่จะให้น้ำหนักความสำคัญ กับตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเองมากขึ้นในอนาคต และมากกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับประเทศนอกกลุ่มแม้จะอยู่ในภูมิภาคเอเชียเหมือนกัน (เช่น จีน)

อย่างไรก็ตาม ASEAN SMEs ในภาพรวม ยังคงเผชิญกับประเด็นปัญหาที่ยังรอการแก้ไขและพัฒนาโดยเร่งด่วน เพื่อ

เตรียมความพร้อมสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2015 ที่ก าลังจะมาถึง อันจะส่งผลให้ตลาดของกลุ่มประเทศอาเซียนรวมกันเป็นตลาดเดียว (Single Market) ซึ่งจะทำาให้บริบทการดำเนินธุรกิจของ ASEAN SMEs เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ ASEAN SMEs ต้องผลักดันดำเนินการ มีทั้งหมด 4 มิติ ได้แก่

การเข้าถึงแหล่งทุน (Access to Finance) ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่สุด ในทุกประเทศสมาชิกของ ASEAN SMEs มาช้านาน เนื่องจากวิสาหกิจส่วนใหญ่มีทรัพยากรและเงินทุนหมุนเวียนจำกัด ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันที่เพียงพอ มีพัฒนาการที่เชื่องช้า และมักถูกสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อมองว่ามีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะวิสาหกิจที่เพิ่งเริ่มต้น 8 กิจการ (Start-up) หรือต้องการขยายกิจการ ดังนั้น ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในด้านการก าหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้แก่วิสาหกิจเหล่านี้ จะต้องค านึงถึงการจัดสรรสินเชื่อ (Credit Rationing) อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง รวมถึงการยกระดับศักยภาพของวิสาหกิจให้สามารถวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือและลดอุปสรรคของวิสาหกิจ ในการเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ ได้

ความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovative Capability) ASEAN SMEs ในกลุ่มประเทศอาเซียนเกือบทั้งหมด (ยกเว้นสิงคโปร์) ยังด้อยสมรรถนะในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากความสามารถในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์ และศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาล้วนยังอยู่ในระดับต่ า ส่วนหนึ่งของปัญหาเชื่อมโยงมาจากการขาดแคลนเงินทุนดังที่กล่าวมาแล้ว

ทักษะแรงงาน (Labor Skills) เป็นอีกประเด็นปัญหาหนึ่ง เนื่องจากวิสาหกิจเหล่านี้ยังคงขาดแคลน แรงงานทักษะขั้นสูงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลิตภาพแรงงานโดยเฉลี่ย (Average Labor Productivity) ยังอยู่ในระดับต่ำโดยเฉพาะทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การใช้ภาษา ต่างประเทศ และทักษะทางวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจอย่างแท้จริง

ประการสุดท้าย คือ การเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ (Internationalization) วิสาหกิจจำนวนมากยังต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและนโยบายที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดเป้าหมายได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังขาดจิตวิญญาณของการเป็นเจ้าของกิจการ (Entrepreneurial Spirit) และทักษะด้านการบริหารจัดการ ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างครบถ้วน การแสวงหาหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Business Partners) และการเข้าร่วมในเครือข่ายการผลิตของภูมิภาค (Regional Production Networks) ยังคงดำเนินการได้อย่างจ ากัด รวมถึงยังมีปัญหาด้านการดำเนินงานให้ได้มาตรฐาน และการขอใบรับรองคุณภาพที่เกี่ยวข้องตามกฎระเบียบหรือข้อกำหนดระหว่างประเทศ

ประเด็นปัญหาข้างต้นถือเป็นปัญหาสำคัญของ ASEAN SMEs ที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาโดยเร่งด่วน แม้ว่าจะยังมีประเด็นปัญหาในมิติอื่นๆ ด้วย เช่น การเข้าถึงปัจจัยการผลิต การบริหารจัดการ ต้นทุน การแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาด กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น ประเทศสมาชิกในประชาคมอาเซียนจึงต้องตระหนักถึงประเด็นปัญหาเหล่านี้ และร่วมมือกันอย่างจริงจังในการผลักดันแนวนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของ ASEAN SMEs อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป

ที่มา : สดุดี วงศ์เกียรติขจรสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ thai-aec ดูทั้งหมด

497

views
Credit : thai-aec


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน