อาชีวะกับ AEC
ในการสัมมนาเรื่อง “7+1 วิชาชีพก้าวไกลนาพาไทยสู่ AEC” ที่สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นมีหลายประเด็นที่กระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในการให้ความสนใจและเร่งหาทางรับมือโดยด่วน ไม่เพียงเฉพาะเสียงจากวงเสวนาล่าสุดเท่านั้น ก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็นการเสวนาวงเล็กวงใหญ่ ต่างชี้และยอมรับในทิศทางเดียวกันว่า กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ขยับไปเท่าที่ควรในเรื่องภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่ภาษาประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน
ที่เห็นเป็นรูปธรรมในทุกสถานศึกษากับเรื่องของประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ คือ การปักธงที่ร่วมกลุ่มและการบอกเรื่องราวแห้งๆ ป้ายที่ตั้งไว้ หรืออาจจะมีศูนย์ศึกษาฯ แต่ก็กลายเป็นห้องเก็บของที่ไม่ดึงดูดใจ
นโยบาย 1 วันใน 1 สัปดาห์ ให้นักเรียนนักศึกษาและครูต้องพูดภาษาอังกฤษทั้งวันในสถานศึกษา ของเสนาบดีการศึกษา ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่ดีหวังเห็นผลเร็ววัน แต่ยังไงๆ ขอยืนยันว่าเป็นเรื่องที่มิอาจเป็นไปได้ ไม่ว่าจะใช้กฎเหล็กใดๆ บังคับ เพราะเป็นการแก้ที่ปลายเหตุหรือเกาไม่ถูกที่คัน
ขณะที่มีการจัดทำข้อตกลงยอมรับใน 10 ประเทศอาเซียนร่วมกันว่า วิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บริการบัญชี การสำรวจ รวมอีก 1 วิชาชีพ คือ การบริการการท่องเที่ยว ซึ่งขอขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ไปแล้วก็ตาม แต่ในกรณีของประเทศไทยมีการกำหนดข้อตกลงว่าจะต้องมีประสบการณ์ ไม่ใช่ผู้ที่จบการศึกษาใหม่ อาทิ พยาบาลต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี แพทย์ต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี เป็นต้น
การทาข้อตกลงร่วมนี้ไม่น่าห่วงเท่าไรนัก เพราะยังไม่ใช่การเปิดเสรีวิชาชีพที่แท้จริง และส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือระดับบนที่พร้อมออกไปแข่งขันโดยที่ไม่ต้องรอให้ถึง ปี 2558 ยิ่งภาษาอังกฤษ ได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษากลางในอาเซียน ทำให้เป็นห่วงถึงแรงงานไทยระดับกลางและระดับล่าง ที่อ่อนด้อยด้านภาษาอยู่แล้วไม่อาจออกไปผงาดในระดับอาเซียนได้ คงต้องเป็นหน้าที่หลักของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา (สอศ.) โดยตรง
ที่มา : ข่าวสด