ไทยรั้งท้ายอันดับการศึกษาโครงสร้างพื้นฐาน
จากการวิเคราะห์ในส่วนของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ซึ่งเป็นแนวที่ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญว่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทย เนื่องจากจะทำให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลง ได้คุณภาพสินค้าดีขึ้น หรือสามารถผลิตสินค้าใหม่ๆ ที่เข้ากับยุคสมัย เช่น เรื่องของสีเขียวหรือการได้ Carbon Credit เป็นต้น แต่เห็นภาพแล้วก็น่าท้อแท้ใจ เพราะอันดับที่ประเทศถูกจัดไว้ในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีก็คือ อันดับที่ 50 จาก 59 ประเทศคือพูดง่ายๆ ว่าอีก 8 ประเทศก็รั้งท้าย ด้านการศึกษาอยู่อันดับที่ 52 คืออีก 6 ประเทศก็รั้งท้ายเช่นกัน แต่ถ้ามาดูนโยบายการเงินการคลังไทยอยู่อันดับที่ 6 ซึ่งนับว่าดีมาก ซึ่งพอจะวิเคราะห์ได้ว่าประเทศไทยไม่ได้นาจุดแข็งด้านการเงินการคลังมาใช้เพื่อวางรากฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี หรือแม้แต่ระบบการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
ผลผลิตและประสิทธิภาพของภาคธุรกิจก็เช่นกัน ไทยเกือบรั้งท้าย คือ อยู่ที่อันดับถึง 57 ซึ่งถ้าพิจารณาประกอบกับตัววัดประสิทธิภาพทางธุรกิจที่เขาใช้ เช่น สภาวะแวดล้อมของประเทศว่าเอื้ออำนวยให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ดำเนินงานได้อย่างสร้างสรรค์หรือไม่ ก็จะชี้ได้ว่าเห็นทีจะต้องปรับปรุงอีกมาก ยิ่งในภาวะที่จะเป็น AEC (ASEAN Economic Community) ที่ประเทศจะต้องเปิดมากขึ้น
ยิ่งถ้ามาดูต่อไปว่า ประเทศไทยมีงบประมาณในการทาวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันเพียง 0.2% ของ GDP (Gross Domestic Production) ต่ำกว่ามาเลเซีย ซึ่งมีอยู่ 0.7% ของGDP และสิงคโปร์ซึ่งอยู่ที่ 20.9% ของ GDP นอกจากนี้ เอกชนเองก็ยังลงทุนน้อยกว่ารัฐบาลคือประมาณ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนของรัฐบาล กำลังคนเองก็มีปัญหาเนื่องจากประเทศไทยมีกำลังคนในการทาวิจัยและพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ประมาณ 9 คนต่อประชากร 10,000 คน ในปี ค.ศ. 2012 แต่ก็ยังดีกว่ามาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีอยู่ 7 คน 1 คนและ 1 คน ตามลำดับ ต่อประชากร 10,000 คนแต่สิงคโปร์มีอยู่ถึง 72 คนต่อประชากร 10,000 คน ขณะที่ตัวเลขทั่วๆ ไปที่ถือว่าใช้ได้ก็คือผู้วิจัย 26 คนต่อประชากร 10,000 คน
เหลือเวลาอีกเพียง 2 ปีกว่าจะเป็น AEC ก็ต้องช่วยกันผลักดัน มองในแง่บวกรัฐบาลเองก็ตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการทาวิจัยและพัฒนาให้เป็น 1% ของ GDP แผนพัฒนา 10 ปี ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ฯลฯ ฉบับแรกของไทย ที่เพิ่งผ่าน ครม.ไปเมื่อส.ค. ปีที่แล้ว ก็วางไว้ว่าจะเพิ่มกำลังคนที่จะทำการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็น 15 คนต่อประชากร 10,000 คน นอกจากนี้ยังจะมองว่าให้เอกชนลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ให้รัฐบาลลงทุนเพียง 30 เปอร์เซ็นต์
ก็ลองพิจารณากันดูว่า อะไรจะเป็นเรื่องหนักใจที่สุดเรื่องของกำลังคนนั้นต้องแก้ไขตั้งแต่ระบบการศึกษา ค่านิยมของสังคม และยังมาพันกับภาคเอกชนอีกเพราะถ้าภาคเอกชนมีการทาวิจัยพัฒนามากขึ้น นักศึกษาก็จะเลือกประกอบวิชาชีพทางด้านนี้มากขึ้น เพราะมี Carrier Path ที่ดีมีค่าตอบแทนที่คุ้มกับความเหนื่อยยากไม่ใช่เรียนจบแค่ปริญญาตรีหรือปริญญาโทแล้วก็หันเหไปเรียนวิชาอื่นประกอบวิชาชีพอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า
ปัจจุบันภาคเอกชนไทยที่เป็นบริษัทใหญ่ๆ และมีการทาวิจัยพัฒนาก็นับบริษัทได้ และไม่เกิน 8-9 บริษัท ทำอย่างไรจะให้บริษัทเหล่านี้รวมถึง SME (Small and Medium Enterprise) มีแรงจูงใจที่จะทาวิจัยเพิ่มขึ้น
ส่วนงบประมาณในการวิจัยพัฒนาที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1% ของ GDP นั้นไม่น่าจะยาก ถ้าผู้บริหารในระดับการเมืองให้ความสนใจและสั่งการลงมาว่าให้เกิดขึ้นจริงๆ
ที่มา : พวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ (โพสต์ทูเดย์)