อนาคตไทยเสี่ยง ค้าขายแพ้ เพื่อนบ้านกลุ่ม CLMV
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ถือเป็นตลาดเพื่อสร้างโอกาสส าหรับประเทศและธุรกิจที่มีความพร้อม โดยสิ่งที่น่าสนใจคือสมาชิกทั้ง 10 ประเทศมองว่าตัวเองเป็น “ประตู” หรือ “Gate Way” สู่อาเซียน ซึ่งกลยุทธ์จะค่อนข้างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ความถนัดของแต่ละประเทศ แต่ถือเป็นข้อดี เนื่องจากในระยะสั้นจะเป็นการ ช่วยเติมเต็มซึ่งกันและกัน แต่ในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า จึงจะสามารถพิสูจน์ว่าประเทศไหนจะเป็นผู้นำและเดินได้ไกลที่สุดในอาเซียน
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากศักยภาพในปัจจุบัน มองว่ามาเลเซียถือเป็นประเทศที่มีนโยบายชัดเจน มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และพัฒนาได้อย่างมั่นคงที่สุด ขณะที่ประเทศไทยหากไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมภายใน 10 ปี จะถูกประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนามแซงได้ เพราะเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้จะขึ้นอยู่กับการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากนักลงทุนชาวญี่ปุ่น จีน และยุโรป ที่เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มากขึ้น
ขณะที่ อินโดนีเซียยังครองอันดับประเทศที่ได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงสุดในอาเซียน(ไม่รวมสิงคโปร์) ซึ่งสะท้อนว่าต่างประเทศให้น้ำหนักต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจระยะยาวมากกว่าปัจจัยระยะสั้น ส่วนฟิลิปปินส์ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) สูง ก็เน้นสร้างรายได้จากการส่งแรงงานไปประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมากกว่า
แม้จะมีการแข่งขันกัน แต่ทุกคนที่ไม่เหมือนกัน และมีจุดแข็งแตกต่างกัน เช่น อินโดนีเซียมีกำลังซื้อ กัมพูชา ลาว พม่ามีแรงงานและทรัพยากรธรรมชาติ ไทยมีกำลังการผลิต ซึ่งในระยะยาว 5-10 ปี จะขึ้นอยู่กับนโยบายและศักยภาพของแต่ละประเทศว่าจะสามารถพัฒนาได้มากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือทุกประเทศมองตัวเองเป็น Gate Way โดยเฉพาะเวียดนามมองว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และทุกประเทศก็พัฒนา ตัวเองขึ้นมาก”
สำหรับโอกาสของธุรกิจไทยในอาเซียน คาดว่าการส่งออกสินค้าไทยไปอาเซียนยังมีศักยภาพ โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์ และเวียดนาม) ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.3% จากเดิมอยู่ที่ 5% ขณะที่ภาพรวมการส่งออกปี 2557 อาจจะทรงตัวจากปี 2556 โดยมีทั้งอุตสาหกรรมที่ไปได้ดี และอุตสาหกรรมที่เหนื่อย แต่การส่งออกไปอาเซียนยังเติบโตได้ รวมถึงยังเป็นโอกาสในการขยาย การลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้มีหลายอุตสาหกรรมของไทยเลือกที่จะย้ายฐานการผลิตออกไปยังอาเซียนแล้ว เช่น สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ และในอนาคตก็จะมีมากขึ้น
นายอมรเทพ จาวะลา หัวหน้าส่วนวิจัยเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ส านักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสัดส่วนการค้าระหว่างกลุ่มประเทศต่างๆ ในอาเซียนด้วยกันเองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นสัญญาณการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ดี แต่ปีที่ผ่านมาการค้าขายในอาเซียนย่ำแย่ด้วยกันหมด เพราะลักษณะสินค้าส่งออกมีความคล้ายคลึงกัน คือเป็นสินค้าที่อาศัยเทคโนโลยีต่ำ หรือเป็นสินค้าที่เป็นชิ้นส่วนประกอบ ทำให้การส่งออกสินค้าไทยไปอาเซียนไม่ได้โดดเด่นมากนัก โดยปัจจุบันสัดส่วนการค้าขายของไทยไปยังกลุ่มอาเซียนอยู่ที่ 18.1%
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ