การเมืองชิ่ง เอสเอ็มอี ยอดขายซบ

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจความพร้อมและความเข้าใจของภาคการผลิตและภาคบริการไทยต่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) โดยสำรวจ 13 ธุรกิจภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ จำนวน 2,000 ราย ช่วงเดือนธันวาคม 2556 ถึงมกราคม 2557 ว่า ผู้ประกอบการธุรกิจ 30% ระบุว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองแล้ว ในจำนวนนี้ 95% ระบุลูกค้าลดคำสั่งซื้อและไปซื้อกับประเทศคู่แข่งแทนเนื่องจากเกรงว่าจะส่งสินค้าให้ไม่ได้หรือไม่ทันกำหนด และ 5% มีปัญหาในขั้นตอนการดำเนินการเอกสารกับหน่วยราชการ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบมากสุด ซึ่งปัจจุบันไทยมีธุรกิจเอสเอ็มอี 2.7 แสนราย

ปัญหาการเมืองยิ่งยืดเยื้อและรุนแรงถึงไตรมาส 2 ปีนี้ ไม่แค่จะกระทบต่อธุรกิจเพิ่มขึ้น กระทบต่อการส่งออกเหลือ 3.8% ที่ควรขยายตัว 5% กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือ 3% จากควรขยายตัว 4-5% ยังจะกระทบต่อการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศที่จะทำให้ไทยขับเคลื่อนแข่งขันในเออีซีถูกเลื่อนออกไป และกระทบต่อการลงนามกรอบความตกลงในการเปิดเสรีการค้า ซึ่งปีนี้พม่าเป็นเจ้าภาพประชุมอาเซียน

” จากปัญหาการเมือง อันดับความสามารถในการแข่งขัน ในอาเซียนของไทย ลดลง จากปี 2555 ไทยมีความสามารถในการแข่งขันในเออีซีเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นอันดับ 5 ในปี 2556 โดยเวียดนามและอินโดนีเซียแซงหน้า หากการเมืองไทยยังไม่ยุติและจัดตั้งรัฐบาลได้กลางปีนี้ ซึ่งผมเห็นว่ามีแนวโน้มสูง อันดับความสามารถแข่งขันไทยก็เสี่ยงลดลงในอยู่อันดับ 6 โดยฟิลิปปินส์แซงไทยในสิ้นปี 2557 ไทยคงไม่ตกกว่านี้แล้วเพราะประเทศที่เหลือเป็นประเทศในอินโดจีน” นายอัทธ์ กล่าว

การสำรวจยังพบอีกว่าธุรกิจเอสเอ็มอี 46% ยังไม่พร้อมจะแข่งขันในเออีซี หรือประมาณ 1.3 ล้านราย ธุรกิจที่ไม่พร้อมเข้าเออีซีมากสุดคือเกษตร อาหาร และสิ่งทอ ส่วนการขยายธุรกิจไทยไปเออีซียังน้อย โดยเอสเอ็มอีมีเพียง 10% ในปี 2557 และเพิ่มเป็น 32% ในปี 2556 โดยผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจมากสุดในการไปลงทุนที่พม่า เวียดนาม และอินโดนีเซีย

วันที่ 28/01/2557 เวลา 15:27 น.

uasean

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ banmuang.co.th ดูทั้งหมด

216

views
Credit : banmuang.co.th


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน