สิงคโปร์ (10-17 ธ.ค. 56)
การเจรจาความร่วมมือการค้า ของเหล่ารัฐมนตรี 12 ชาติเอเชีย-แปซิฟิก และสหรัฐฯ ในประเทศสิงคโปร์สิ้นสุดลงในวันอังคาร โดยที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใด ๆ ได้
รัฐมนตรีการค้าจาก 12 ประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกรวมถึงสหรัฐอเมริกา เสร็จสิ้นการเจรจา ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) 4 วัน ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันอังคาร โดยไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆได้ทันเส้นตายสิ้นปีนี้
เหล่ารัฐมนตรีระบุในแถลงการณ์ร่วมภายหลังการเจรจาว่า ถึงแม้จะในการเจรจาจะมีความคืบหน้าสำคัญและเห็นชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่พวกเขายังต้องหาทางลงให้กับประเด็นปัญหาส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ และพวกเขาจะพบปะเจรจากันอีกครั้งในเดือนหน้า แถลงการณ์ระบุด้วยว่า ข้อตกลงในระดับสูงมีความจำเป็นสำหรับทั้ง 12 ประเทศ ในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างงาน
ทั้งนี้ 12 ประเทศที่ร่วมเจรจาในครั้งนี้ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐ และเวียดนาม โดยที่ผ่านมาพวกเขายังไม่สามารถตกลงกันในหลายประเด็น เช่น การยกเลิกภาษีสินค้าเกษตร, การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และกฎการแข่งขันที่เท่าเทียมระหว่างบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
แหล่งที่มา: thairath.co.th
สิงคโปร์ดำเนินมาตรการป้องกันเหตุจลาจล
รัฐบาลสิงคโปร์ได้เร่งสอบสวนแรงงานต่างชาติกว่า 4,000 คน เพื่อค้นหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ หลังเกิดเหตุจลาจลในเชตลิตเติ้ลอินเดียเมื่อสัปดาห์ก่อน จนทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายสิบคน และทรัพย์สินสาธารณะเสียหายจำนวนมาก ขณะที่ ล่าสุด สมาคมหอพักและศูนย์แรงงานต่างชาติของสิงคโปร์ เรียกร้องให้รัฐบาลสิงคโปร์สร้างศูนย์สันทนาการและหอพักสำหรับแรงงานต่างหากเพิ่มเติม เพื่อบรรเทาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
ขณะเดียวกัน ทางการได้ประกาศแผนเนรเทศชาวอินเดียกว่า 52 คนที่ถูกตัดสินว่ากระทำปิดจริงกลับประเทศ และห้ามไม่ได้กลับมายังสิงคโปร์อีกตลอดชีวิต ท่ามกลางความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวจะไม่ส่งผลในแง่บวกแก่ความสัมพันธ์ระหว่างชาวสิงคโปร์กับแรงงานต่างชาติชาวอินเดีย
ทั้งนี้ แม้นายลี เซียง ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์จะออกมากล่าวถึงความต้องการแรงงานต่างชาติของสิงคโปร์ ทว่าเจ้าหน้าที่รัฐยืนยันว่า ต้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดอย่างไม่มีข้อยกเว้น โดยแรงงานที่ไม่ได้กระทำยังสามารถทำงานต่อไปได้ และสิงคโปร์ยังเปิดโอกาสสำหรับแรงงานจากต่างชาติให้เข้ามาทำงานในประเทศเหมือนเดิม
อนึ่ง มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่า สิงคโปร์ควรทำอะไรที่เป็นรูปธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับค่าแรงและสวัสดิการแรงงานต่างชาติ ซึ่งน่าจะเป็นต้นเหตุหนึ่งของความไม่พอใจของแรงงานชาวอินเดีย จนนำไปสู่เหตุการณ์จลาจลในที่สุด
แหล่งที่มา: japantimes.co.jp asiapacific.anu.edu.au/newmandala และ timesofindia.indiatimes.com