วางยุทธศาสตร์รับ AEC

ในปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หลายภาคส่วนเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว เห็นได้จากการเตรียมความพร้อม การวางแผนการทำงานพร้อมรับการเข้าสู่อาเซียน มหาวิทยาลัยศรีปทุมเองในฐานะมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ได้เตรียมความพร้อมในการผลิตบัณฑิตรองรับตลาดแรงงานที่จะเปิดกว้างมากขึ้น ด้วยการวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ ทั้งการเตรียมพร้อมของหลักสูตร อาจารย์ และนักศึกษา พร้อมแข่งขันในเวทีอาเซียนอย่างภาคภูมิใจ

อาจารย์จิณดา เตชะวณิช ผู้ช่วยอธิการบดีด้านการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้เตรียมวางยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ เพื่อรองรับการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเน้นไปที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาบัณฑิต อาจารย์ และบุคลากรให้มีคุณภาพในระดับสากล โดยบัณฑิตนอกจากจะมีทักษะด้านภาษาอังกฤษแล้วและภาษาที่สามยังมีความจำเป็นในอนาคต ทักษะด้าน IT ด้านอาจารย์ ควรมีทักษะความสามารถในด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งทางด้านการเรียนการสอน ทักษะด้าน IT การสื่อสาร พร้อมทั้งเข้าใจบริบทในการทำงานข้ามวัฒนธรรม มีผลงานที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ มีบทบาทในองค์กรวิชาชีพต่างๆ ในระดับนานาชาติ และด้านบุคลากรสนับสนุน นอกจากทักษะเรื่องของภาษาแล้วควรมีความเข้าใจการทำงานข้ามวัฒนธรรม ความตระหนักและตื่นตัวในการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น

ยุทธศาสตร์การสร้างมหาวิทยาลัยให้มีมาตรฐานระดับสากล ได้แก่ หลักสูตรการเรียนการสอน การได้รับเงินทุนวิจัยจากนานาชาติ การจัดอันดับ การให้บริการแก่สังคม การมีหน่วยงานหรือศูนย์บริการชาวต่างชาติ และยุทธศาสตร์ด้านการมีบทบาทในเวทีระดับนานาชาติ เช่น อาจารย์มีบทบาทในองค์กรวิชาชีพต่างๆ ในระดับคณะกรรมการ รวมทั้งสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมวิชาการหรือนิทรรศการระดับนานาชาติ

“ความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ที่คุณเปิดหลักสูตรนานาชาติ ต้องมีอย่างอื่นเป็นองค์ประกอบด้วย ทั้งเรื่องของหลักสูตร บรรยากาศแวดล้อม ระบบสนับสนุนการศึกษาที่เอื้อต่อนักศึกษาและบุคลากรชาวต่างชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของอาจารย์ นักศึกษา ตัวหลักสูตรเองต้องมีจุดมุ่งหมายของความเป็นนานาชาติอยู่ในตัวหลักสูตรนั้น นั่นคือสิ่งที่เราจะนำเข้าไปในหลักสูตรของเรา

นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังได้วางยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลาง ทางด้านการศึกษาของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS : Greater Mekong Sub-region) ที่ประกอบไปด้วยประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า และจีนตอนล่าง ด้วยการเปิดวิทยาเขตขอนแก่น เพื่อรองรับนักศึกษาในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเน้นไปที่นโยบาย One ASEAN Plus Country, One Leading University หรือ 1 ประเทศอาเซียน พลัส มี 1 มหาวิทยาลัยชั้นนำที่ทำหลักสูตรร่วมกับเรา One ASEAN PLUS Country, One Academic Program คือหลักสูตรแบบ Dual Degreeปริญญา 2+2 หรือปริญญาร่วม Joint Degree ซึ่งเชื่อว่าหากสามารถดำเนินการตามนโยบายที่วางไว้จะช่วยพัฒนาคุณภาพ และสร้างเครือข่ายด้านการศึกษาสู่ระดับนานาชาติได้กว่า 16 ประเทศ 16 มหาวิทยาลัย

ในการขับเคลื่อนการทำงานในยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศของมหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้น หน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ คือ วิเทศสัมพันธ์ที่มีหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ระหว่างประเทศ ในการจัดกิจกรรมระหว่างนักศึกษา อาจารย์ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ โดยรอบปีการศึกษาที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีการลงนามความร่วมมือ (MOU) กับมหาวิทยาลัยต่างๆ 22 แห่ง จำนวนมากกว่า 10 ประเทศ ในการประสานความร่วมมือทางด้านการศึกษา ทั้งการร่วมกันจัดทำหลักสูตร การทำวิจัย และการแลกเปลี่ยนคณาจารย์และ นักศึกษาร่วมกัน เป็นต้น

 

 

วันที่ 4/09/2556 เวลา 0:58 น.

uasean

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ banmuang.co.th ดูทั้งหมด

196

views
Credit : banmuang.co.th


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน