ศธ.จ่อขอแปรญัตติงบปี’57

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารองค์กรของ ศธ. เพื่อพิจารณาการเสนอขอแปรญัตติงบประมาณเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2557 ว่า ในภาพรวมองค์กรหลักของ ศธ.ยกเว้นสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และหน่วยงานในกำกับ ได้เสนอขอแปรญัตติงบประมาณ ปี 2557 เพิ่มเติม รวมจำนวนทั้งสิ้น 41,197 ล้านบาท คิดเป็น 8.56 % จำแนกเป็น สำนักปลัด ศธ. จำนวน 5,629 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 27,500 ล้านบาท บาท สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 3,980 ล้านบาท และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) 5,467 ล้านบาท

“เวลานี้ยังไม่ทราบว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 พิจารณา ปรับลดงบประมาณที่ ศธ.เสนอไปจำนวนเท่าไร จึงได้เชิญทุกหน่วยงานมาประชุมเพื่อชี้แจงถึงความจำเป็นในของบประมาณเพิ่ม เติมเพื่อดำเนินการโครงการต่าง ๆ โดยได้คำนึงว่าการขอแปรญัตติเพิ่มเติมควรจะเน้นในโครงการที่ต้องทำตามกฎหมาย หรือตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือที่เกิดจากผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล เช่น ดำเนินการในโรงเรียนรัฐบาลแล้วต้องทำเช่นเดียวกันในโรงเรียนเอกชนด้วย เป็นต้น นอกจากนั้นก็เป็นโครงการตามนโยบายรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงที่สำคัญ เพราะยอดที่ขอมานั้นเป็นยอดที่สูงมากกว่า 4 หมื่นล้านบาทและคงยากมากที่จะเป็นไปได้ที่จะแปรญัตติมาได้ แปรญญัตติคงแค่หลักพันแต่จะกี่พันไม่สามารถทราบได้” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาโครงการต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงานก็เห็นว่ายังมีโครงการจำเป็น ๆ หลายโครงการและเป็นวงเงินที่สูง หลายโครงการเป็นเรื่องที่ต้องนำไปหารือกับรัฐบาลเพื่อนไปสู่การตัดสินใจ เช่น โครงการจัดซื้อแท็บเล็ตให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2557 วงเงิน 2,400 กว่าล้านบาท รวมทั้งโครงการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วเชื่อมโยงไปยังโรงเรียน สพฐ.30,000 กว่าโรง วงเงิน 5,000 ล้านบาทซึ่งต้องไปพิจารณาดูว่าเรื่องนี้ควรเป็นภารกิจของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มากกว่าหรือไม่ แต่ทั้งสองโครงการก็เป็นงานที่ยาก เพราะถึงจะเป็นโครงการนโยบายแต่ก็ใช้วงเงินสูงมาก

ในส่วนของ สอศ.ได้ขอปรับเพิ่มรายหัวค่าจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนประตัวนักเรียน เป็น 1,600 บาทต่อคนต่อปี วงเงินประมาณ 736ล้านบาทหรือโครงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนครู 522 ล้านบาท การสร้างความพร้อมให้สถานศึกษาขนาดเล็กที่จะใช้เรียนระบบทวิภาคี จำนวน 210 ล้านบาท ขณะที่ในส่วนของ สกอ.มีโครงการสำคัญ ได้แก่ งบประมาณมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ที่ยังขาดงบประมาณอีก 400 ล้านบาท เป็นต้น นอกจากนี้ ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ที่จะเพิ่มศูนย์อาเซียนซึ่งต้องใช้งบประมาณ 400 กว่าล้านบาทแต่ ถูกตัดไปเหลือเพียง 3 ล้านบาท จึงต้องไปดูในเชิงนโยบายจะดำเนินการเช่นไรต่อ และยังมีโครงการบ้านอัจฉริยะด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการดูแลครูที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้กว่า 100 รายที่ต้องได้รับเงินเยียวยา รายละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 600-700 ล้านบาทที่จะต้องทยอยจ่ายด้วย พร้อมกันนี้ได้ขอให้ผู้บริหารไปรับฟังความเห็นเพื่อนำมากำหนดโครงการ พัฒนาการศึกษาของผู้เรียนในจ.ชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

รมว. ศธ .กล่าวอีกว่า ในส่วนการแก้ไขปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กมอบ เลขากธิการ กพฐ. ไปตั้งโจทย์แก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กมาก ๆ ห้องเรียนหนึ่งมีเด็กเรียน 4-5 ชั้นและมีครูน้อยมากจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร โดยควรฟังความเห็นของเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก แต่เฉพาะหน้าที่ต้องชี้แจงงบประมาณควรหาข้อสรุปขั้นต้นของการแก้ไขปัญหา โรงเรียนขนาดเล็กแต่ให้ไปตั้งโจทย์ใหม่ของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ใช่ตั้งโจทย์ว่ายุบหรือไม่ยุบ

“ส่วนการจัดซื้อรถตู้นั้น ผมเป็นรองประธาน กมธ.เคยได้ฟังความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กเมื่อครั้งทำ หน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมาธิการ ซึ่งครั้งนั้น สพฐ. ชี้แจงว่าเพื่อแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กและงานอื่น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้น รถตู้ 1,000 คันๆละ 1.2 ล้านบาท โดยในขั้น กมธ.ได้ขอให้มาพิจารณาถึงความจำเป็น แต่ในฐานะ รมว.ศธ. ให้ไปพิจารณาเรื่องรถตู้โดย พิจารณาว่ายังจำเป็นต้องใช้ยานพานะประเภทใด วิธีดูแลเด็ก ครูจะใช้วิธีการเช่นไร หรือจะทำเป็นคูปองเพื่อเป็นค่าพาหนะ และหากยังมีหน่วยงานที่ต้องใช้รถตู้หรือไม่อย่างให้คิดมา โดยให้เริ่มคิดจากศูนย์ว่าถ้าไม่ใช้รถตู้จะใช้วิธีอื่นอย่างไร ไม่ใช่เริ่มคิดจากพันกว่าคันและจะลดลงกี่คัน และยังจำเป็นต้องใช้กี่คัน และสรุปเสนอสัปดาห์หน้า”นายจาตุรนต์ กล่าว

วันที่ 4/07/2556 เวลา 16:12 น.

uasean

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ banmuang.co.th ดูทั้งหมด

241

views
Credit : banmuang.co.th


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน