สิงคโปร์ (1-15 พ.ค. 58)

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เผยโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมมาเลเซียอาจเสร็จไม่ทันกำหนดเดิม

นายลี เซียง ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เปิดเผยว่า โครงการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสิงคโปร์กับมาเลเซียอาจเสร็จไม่ทันกำหนดเดิมที่วางไว้ในปี 2563 เนื่องจากต้องหาข้อสรุด้านการให้บริการ ผู้ที่จะเป็นเจ้าของกิจการให้บริการเดินรถจะเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือโมเดลที่มีการร่วมทุนแล้วข้อกำหนดลงตัวที่สุด อีกทั้งปัญหารองมาคือการก่อสร้าง ด้านวิศวกรรม และเรื่องทางการเงิน

นายลีได้ออกมาแถลงพร้อมนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าต้องมีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม การออกแบบ ไปจนถึงการเปิดประมูลบริษัทผู้รับเหมา อีก 2 ปีอย่างน้อย และใช้เวลา ก่อสร้าง อีกราว 5 ปี

การเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของ 2 ประเทศ มีความยาว 300 กิโลเมตร สามารถย่นระยะเวลาการเดินทางจาก 5 ชั่วโมง เหลือเพียง 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น คาดการณ์กันว่า รถไฟความเร็วสูงจะพลิกโฉมและรูปแบบการติดต่อธุรกิจด้วยการเดินทางเชื่อม 2 ชาติที่รวดเร็วกว่าเดิม

แหล่งที่มา: krobkruakao.com และ media.themalaymailonline.com

สิงคโปร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจกระทบแรงงาน

กระทรวงแรงงานสิงคโปร์เปิดเผยว่า กระบวนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 2557 ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแรงงานทักษะสูง

ตามรายงานระบุว่า มีประชาชนออกจากงาน 12,930 คน เพิ่มขึ้นจาก 11,560 คน เมื่อปี 2556 ถือเป็นตัวเลขสูงที่สุด นับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำในปี 2552 ในจำนวนนี้ มีผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ ผู้จัดการ ผู้บริหาร และช่างเทคนิค หรือกลุ่ม PMET คิดเป็นร้อยละ 51

ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า มาตรการหลายอย่าง เช่น กรอบการพิจารณาที่เป็นธรรม เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างชาติ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การออกจากงานเพิ่มสูงขึ้น กล่าวคือ ในปีที่ผ่านมา มีผู้ที่ไม่ได้พำนักในสิงคโปร์ตกงานมากขึ้น ส่วนพลเมืองสิงคโปร์และผู้ที่มีถิ่นพำนักถาวรในสิงคโปร์ตกงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับปี 2556

ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จาก DBS นายเออร์วิน เซี๊ยะ กล่าวว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สิงคโปร์คุมเข้มแรงงานต่างชาติ ทำให้บริษัทต่างๆ ลดคนงานบางกลุ่มลง ขณะเดียวกัน ก็มีการทดแทนแรงงานมากขึ้น ผู้มีถิ่นพำนักในสิงคโปร์เกือบร้อยละ 70 ซึ่งตกงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557 สามารถหางานใหม่ได้ภายในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน แต่พนักงานกลุ่ม PMET และผู้ที่มีปริญญาหางานได้น้อยกว่า

อัตราการได้งานใหม่ของคนสองกลุ่มนี้อยู่ที่ร้อยละ 63 และร้อยละ 61 ตามลำดับ ซึ่งอัตราการได้งานใหม่ของผู้มีปริญญาลดลงจากปี 2556 ขณะที่กลุ่มการศึกษาอื่น ๆ ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า แรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญามีการแข่งขันสูงมาก

แหล่งที่มา: now26.tv

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aseanwatch.org ดูทั้งหมด

542

views
Credit : aseanwatch.org


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน