บีโอไอหนุนลงทุนในพม่า

“บีโอไอ” เผยธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ได้รับพิจารณาเป็นพิเศษจากพม่า หนุน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเข้าลงทุนอาเซียน ด้านนักวิชาการแนะเน้นเมืองศักยภาพเติบโตสูง หลังย่างกุ้งต้นทุนธุรกิจพุ่งจนยากทำกำไร ชี้โอกาสอุตสาหกรรมรถยนต์ ท่องเที่ยว – โรงแรมเปิดกว้าง

นางศิริพร นุรักษ์ ผู้อำนวยการระดับสูง กองส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน โดยไทยเป็นประเทศที่ไปลงทุนยังต่างประเทศมากเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีมูล่าการลงทุนรวม 8,217 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 11,911 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2555

ทั้งนี้ บีโอไอมีแผนที่จะส่งเสริมการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมไทยในอาเซียน โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน อาทิ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากร เช่น เหมืองแร่ พลังงาน และปิโตรเคมี ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเคย ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) จากประเทศพัฒนาแล้ว ฯลฯ

ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่บีโอไอส่งเสริมให้ภาคเอกชนของไทยไปลงทุนในประเทศอาเซียน พบว่าในปัจจุบัน ภาคเอกชนมีความสนใจไปลงทุนในประเทศพม่า ที่เพิ่งเปิดประเทศได้ไม่นาน ทำาให้มีโอกาสสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในพม่ามีหลายข้อ ได้แก่ การมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ การมีค่าจ้างแรงงานต่ าและเป็น แรงงานที่มีทักษะโดยเฉพาะทักษะในเรื่องภาษาอังกฤษ ขณะที่ กำลังซื้อของประชากรในประเทศพม่ามีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งภาครัฐมีความชัดเจนในเรื่องของนโยบายการส่งเสริมการลงทุนที่ให้แก่นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น

ขณะเดียวกัน นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณะบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า พม่าเป็นประเทศที่ถือว่ามีความน่าสนใจลงทุนมากที่สุด โดยจะมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี ต้นทุนในการทำธุรกิจในพม่าที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทยต้องปรับตัวให้ทัน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าไปลงทุนในเมืองอื่น ๆ ของพม่า เช่น เมืองมัณฑเลย์ เมืองเมียวดี เมืองพะอัน (ผาอัน) ซึ่งต้นทุนในการประกอบธุรกิจต่ำกว่าย่างกุ้งร้อยละ 40 – 50 และมีโอกาสที่อุตสาหกรรมหลายประเภทจะเติบโต เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ รวมทั้งธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว เป็นต้น

แหล่งที่มา: bangkokbiznews.com

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aseanwatch.org ดูทั้งหมด

489

views
Credit : aseanwatch.org


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน