ITD เปิดผลวิจัยการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ประตูแห่งโอกาสของการลงทุน

ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์” รองผู้อำนวยการวิชาการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือไอทีดี เปิดผลวิจัยเรื่อง “การค้าระหว่างประเทศทางบกด้านตะวันออก” โดยศึกษาสถานการณ์การขนส่งสินค้าข้ามแดนตามเส้นทางด้าน ตะวันออก 2 เส้นทางหลัก คือ 1 เส้นทาง R1 จากกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ จ.สระแก้ว (ไทย) ปอยเปต/ศรีโสภณ-พระเวท (กัมพูชา)-วังเตา (เวียดนาม) และ 2 เส้นทาง R10 จากกรุงเทพฯ-บ้านหาดเล็ก จ.ตราด (ไทย)เกาะกง (กัมพูชา)-นามคาน (เวียดนาม)

ผลวิจัยพบว่า ไทยเป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพของกระบวนการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนที่ ดีกว่ากัมพูชาและเวียดนามค่อนข้างมาก ส่วนโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทยในกัมพูชาและเวียดนามนั้นมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเข้าไปทำธุรกิจ หากต้องการเข้าไปลงทุนด้านการผลิตเพื่อการส่งออก ประเทศเวียดนามจะมีความน่าสนใจมากกว่ากัมพูชา เนื่องจากเวียดนามมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน เวลา และกระบวนการที่สูงกว่า แต่หากต้องการเข้าไปลงทุนค้าขายแล้ว ประเทศกัมพูชามีศักยภาพในการนำสินค้าไทยเข้าไปค้าขายมากกว่า เนื่องจาก ระยะเวลาและกระบวนการในการนำเข้าสินค้านั้น รวดเร็วและสะดวกกว่าประเทศเวียดนาม แต่มีจะมีข้อเสียคือต้นทุน ค่าใช้จ่ายสูงกว่า

งานวิจัยยังระบุว่า ปัจจุบันกัมพูชาและประเทศเวียดนามเป็นประเทศผู้รับทุนที่สำคัญของประเทศไทย โดยในประเทศกัมพูชานั้น ไทยเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมที่เน้นใช้แรงงานสูง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่อง หนัง และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากร หรืออุตสาหกรรมที่ตอบสนองความต้องการของตลาดในกัมพูชาเอง

นอกจากนี้ ยังพบว่า ความตกลงการขนส่งข้ามแดนที่เกี่ยวข้องบนเส้นทาง R1 และ R10 คือความตกลงภายใต้กรอบ GMS และ ASEAN มีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องและใกล้เคียงกัน แต่ความแตกต่างอยู่ที่การได้รับการลงสัตยาบันจากประเทศ สมาชิกทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว

งานวิจัยยังชี้ว่า ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS CBTA นั้นมีผลการบังคับใช้มากกว่า และประเทศไทยน่าจะสามารถอาศัยข้อบังคับต่างๆ ตามความตกลงนี้เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่าง ประเทศกัมพูชาและเวียดนามได้ ในขณะที่ การใช้กรอบความตกลงภายใต้กรอบ ASEAN อาจจะให้ประโยชน์น้อยกว่า

โดยสรุปแล้ว โอกาสทางเศรษฐกิจจากการค้าทางบกระหว่างไทยและกัมพูชาจะมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากปัญหาความเชื่อมโยงทางสถาบัน ทำให้ต้นทุนในการขนส่งทางบกยังอยู่ในระดับที่สูง ประโยชน์จากการค้าทางบกจะเกิดเมื่อผู้ประกอบการ ต้องการกระจายสินค้าไปยังเขตในกัมพูชาที่อยู่ใกล้กับประเทศไทยมากกว่าประเทศกัมพูชาตอนใน

แหล่งที่มา: dtn.go.th

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aseanwatch.org ดูทั้งหมด

501

views
Credit : aseanwatch.org


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน