เหตุการณ์ 8888 รอยแผลเป็นที่ยากจะลบเลือน

ในวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันครบรอบ 25 ปีที่ โพนมอว์ นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้ง (Rangoon Institute of Technology -RIT) ถูกเจ้าหน้าของรัฐยิงเสียชีวิต โพนมอว์ เป็นคนแรกในบรรดานักศึกษาจำนวนกว่า 3 พันคนที่เสียชีวิตใหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988 หรือที่เรียกว่าเหตุการณ์ 8888 ที่เกิดการชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยแต่ถูกรัฐบาลเผด็จการทหารใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม

 

 

นักการเมืองฝ่ายค้านและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนได้กำหนดให้วันดังกล่าวของทุกปีเป็นวันสิทธมนุษยชนของพม่า หรือ วันโพนมอว์ ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีพิธีกรรมทางศาสนาและพิธีการทางการเมือง เพื่อรำลึกถึงนักศึกษาที่ถูกเข่นฆ่า ทว่า ยังมีคำถามที่ค้างคาใจอยู่คือ ใครคือผู้รับผิดชอบคำสั่งฆ่าโพนมอว์และอีกหลายพันคนในปี 1988
“จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้องในคดีของโพนมอว์ เรายังต้องการรัฐบาลออกมาดำเนินการ” เมียว วิน เพื่อนจากสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้งของโพนมอว์ กล่าว ปัจจุบัน เมียว วิน เป็นรองประธานองค์กรนักศึกษา ABSDF (All Burma Students’ Democratic Front) ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งบนชายแดนไทย-พม่าหลังจากเหตุการณ์นองเลือดปี 88

 

นอกจากนักเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว บรรดานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนก็ได้มีเรียกร้องให้มีการสอบสวนรัฐบาลทหารชุดที่แล้วอย่างเป็นทางการด้วยเช่นกัน
“พวกเขาต้องโต้ตอบอาญกรรมที่กระทำโดยรัฐบบาลชุดก่อน” มิน ลวิน อู นักกฎหมายชาวพม่าจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเชียในฮ่องกงกล่าว “แต่มันไม่ง่ายเลยในตอนนี้ ไม่มีสัญญานจากรัฐบาลว่าต้องการสอบสวนทั้งจากรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน นักเคลือนไหว และคนอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง”

 

นายโทมัส โอเจีย ควินตานา ผู้แทนพิเศษจากองค์การสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนในพม่า กล่าวว่า เหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงนั้นเป็นบาดแผลที่ยากจะเยียวยาในสังคมพม่า และเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิรูปประเทศ แต่ไม่มีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกล่าวถึงเลย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล พรรคการเมือง หรือชนกลุ่มน้อย
โซเต่ง รัฐมนตรีประจำทำเนียบประธานาธิบดี กล่าวในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ในระหว่างการเยือนยุโรปของประธานาธิบดีเต็งเส่ง ว่า “เราไม่ต้องการนำเรื่องดังกล่าวเป็นในวาระที่มีความสำคัญอันดับแรกในช่วงที่เรากำลังเยียวยาเพื่อประชาธิปไตย หากเราทำให้ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น การเดินทางของเราอาจต้องเลื่อนออกไป ดังนั้น ค่อยคิดเรื่องดังกล่าวภายหลังดีกว่า”

 

ในขณะที่รัฐบาลทหารร่างรัฐธรรมนูญในปี 2008 นั้นได้มีกฎหมายมาตรา 445 รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเสมือนเกราะป้องกันการกระทำของสมาชิกสภาในรัฐบาลชุดก่อน โดยจะไม่สามารถเอาผิดสภาหรือสมาชิกของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการตามภาระกิจเสร็จสิ้นไปแล้ว

 

ดังนั้นจึงไม่มีทางใดที่สามารถนำเจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารชุดก่อนออกมารับผิดชอบในอาชญากรรมที่ได้ก่อไว้อย่างนั้นหรือ ? บางทีพม่าอาจต้องศึกษาจากคณะกรรมการปรองดองของอาฟริกาใต้ ที่มีการเชิญเหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยฝีมือรัฐบาลแบ่งแยกสีผิวให้ออกมาเผิดเผยประสบการณ์ของตน ซึ่งผู้กระทำความผิดก็สามารถออกมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์และร้องขอการนิรโทษกรรมได้เช่นกัน

 

เดสมอนด์ ตูตู เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพชาวอาฟริกาใต้ ผู้มีบทบาทในความสำเร็จของกระบวนการปรองดองในอาฟริกาใต้ ได้เยือนพม่าเมื่อไม่นานมานี้ เขาได้เข้าพบนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน และมินโกนาย อดีตรักโทษการเมืองคนสำคัญ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์

 

แต่จนถึงวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็ยังไม่มีท่าทีใดๆต่อคำเสนอแนะของเขา

 

ในสถานการณ์เช่นนี้ นักเคลื่อนไหวจะทำอะไรได้บ้างในวันรำลึกถึงโพนมอว์ และอีก 3 พันกว่าชีวิตที่พลีชีพ หรือจะทำได้แค่สวดมนต์อธิษฐานให้พวกเขาจากไปอย่างสงบ และแค่รำลึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ 8888

 

กิจกรรมดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะชาวพม่าที่ลี้ภัยอยู่นอกประเทศได้จัดงานวันโพนมอว์มาหลายปีแล้ว โดยเมื่อปีที่แล้วเป็นครั้งแรกที่นักเคลื่อนไหวได้มีการจัดงานขึ้นในพม่า ส่วนในปีนี้ จะเป็นการจัดงานอย่างเปิดเผยต่อรัฐบาลพม่าเป็นครั้งแรก

 

ในปีนี้นักเคลื่อนไหวควรจะมีการคุยกันว่าต้องการจะผลักดันให้มีการดำเนินคดีในเหุตการณ์ 8888 หรือไม่ นอกจากนี้นักเคลื่อนไหวควรสร้างอนุสาวรีย์โพนมอว์ขึ้ยนมาใหม่ในสถาบัน RIT เพราะอนุสาวรีย์ที่นักศึกษาสร้างขึ้นถูกรัฐบาลทหารทำลายไปแล้ว หากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้สร้างก็คงต้องชี้แจงว่า อนุสาวรีย์เป็นเหมือนเครื่องเยียวยาบาดแผลในจิตใจของผู้ที่รอดชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวและครอบครัว

 

อีกประเด็นหนึ่งนักเคลื่อนไหวควรกระตุ้นให้รัฐบาลอนุญาตให้มีการสร้างอนุสาวรีย์รำลึกถึงเหยื่อในเหุตการณ์ 8888 ที่เสียชีวิตในพื้นที่อื่นๆ ในช่วงเดือนมีนาคม มิถุนายน สิงหาคม และกันยายน 1988 ด้วย

 

สำหรับรัฐบาลและสภาเองอย่างน้อยก็ควรจะอนุญาตให้ก่อสร้างได้ และเพื่อให้เป็นนิมิตหมายที่ดี รัฐบ่ลก็ควรจะส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมงานในวันดังกล่าวเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อโพนมอว์และผู้เสียสละท่านอื่นๆ และพบปะกับครอบครัวของพวกเขาเหล่านั้นด้วย

 

สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่ตัวถ่วงบนเส้นทางประชาธิปไตยของพม่า แต่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเร่งให้ความพยายามในการปฏิรูปประเทศและกระบวนการปรองดองสำเร็จได้เร็วขึ้น ซึ่งการเยียวยาและสนับสนุนเหยื่อจากการกระทำในอดีตของรัฐบาลจะเป็นส่วนสำคัญในแผนการปรองดอง

 

 

 

แปลและเรียบเรียงจาก How Can Burma Begin to Heal the Scars of ‘88?

โดย HTET AUNG KYAWจาก THE IRRAWADDY 12 มีนาคม 2556

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ salweennews.org ดูทั้งหมด

1262

views
Credit : salweennews.org


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน