โรงเรียนวัด แสงสว่างทางการศึกษาของเด็กในพื้นที่สู้รบ

 

ย่างกุ้ง – มีญีชานเอ ไม่ต้องหนีเอาชีวิตรอดหรือหลบอยู่ในป่าหลายสัปดาห์เหมือนเมื่อสิบปีก่อนอีกต่อไปแล้ว

ในวัยเด็ก เด็กชายที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐฉานผู้นี้ต้องหนีจากบ้านเกิดทุกครั้งที่มีการสู้รบระหว่างกองกำลังทหารไทใหญ่และกองกำลังทหารพม่าเกิดขึ้น เขาและครอบครัวต้องหนีภัยสงครามเข้าไปหลบอยู่ในป่าใกล้ๆ หมู่บ้านเป็นเวลาหลายวัน และบางครั้งก็ยืดเยื้อนานหลายสัปดาห์

 

“เราต้องใช้ชีงิตอยู่ในป่าทั้งวันทั้งคืนเพื่อหลบหนีจากการสู้รบ” ชายหนุ่มวัย 18 ปี ชาวปะหล่องเปิดเผยกับสำนักข่าวอิระวดี

 

ปัจจุบันเขากำลังเรียนหนังสือเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีหน้าอยู่ในโรงเรียนกินนอนสำหรับเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันออกของย่างกุ้ง

 

โรงเรียนดังกล่าวมีชื่อว่า ซุตองปแย ก่อตั้งมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 1990 เพื่อเป็นศูนย์การศึกษาปริยัติธรรมสำหรับเด็กยากไร้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน และกลายมาเป็นที่พักพิงและให้การศึกษาสำหรับเยาวชนจากพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาทิ รัฐฉาน รัฐ มอญ รัฐกะเหรี่ยง รัฐะฉิ่น และรัฐชิน

 

นับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 1948 เป็นต้นมา ในพื้นที่ดังกล่าวก็มีการสู้รบกันระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังต่อต้านรัฐบาลในพื้นที่เพื่อสิทธิในการปกครองตัวเองมายาวนานหลายทศวรรษ ความขัดแย้งที่ว่านีได้เข้นฆ่าประชาชนไปหลายพันคน ผู้คนนับแสนต้องพลัดพรากจากบ้านเกิดและต้องหลบหนีออกนอกประเทศ และปิดกั้นการพัฒนาประเทศ ซึ่งสงครามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้ครูจำนวนมากต้องทิ้งเรียนไป

 

“ความไม่สงบในภูมิภาคเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้โรงเรียนการกุศลสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดในพม่า” กองญุ่น ครูที่สอนในโรงเรียนการกุศลหลายแห่งมาตั้งแต่ปี 2005 กล่าว “เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของโรงเรียนวัดทั่วประเทศต้อนรับพวกเขา(เด็กชนเผ่า)เสมอ”

 

พระนันดาพภิวันสา ผู้อุปถัมภ์โเรงรียนซุตองปแย กล่าวว่า เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนกินนอนทั้ง 638 คน มาจากพื้นที่ชนบทที่ยากไร้ที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากสงครามกลางเมืองมาหลายสิบปี

 

“ถ้าพวกเขายังอยู่ในหมู่บ้าน พวกเขาจะถูกจับไปเป็นทหารกองทัพพม่าหรือกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ในที่สุด ที่ย่างกุ้ง พวกเขาจะอยู่อย่างปลอดภัยและได้รับการศึกษา”

 

ในฐานะที่เคยเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลของประเทศเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงปี 1980 ท่านถึงกับตกใจเมื่อไปเห็นชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ “พวกเขาขาดแคลนทุกอย่าง ทั้งความรู้ การศึกษาและการดูแลสุขภาพ” พระวัย 53 ปีกล่าว

 

“สิ่งเดียวที่เขามี คือ ความหลาวกลัวกองกำลังติดอาวุธ”

 

หลังจากได้พบกับเด็กกำพร้าจากสงคราม ท่านจึงตัดสินใจพาเด็กกลุ่มหนึ่งเดินทางมาย่างกุ้งด้วย ในช่วงปลายปี 1980 โดยอยู่ในความดูแลของท่านเอง โดยไม่กลัวว่าการติดสินใจครั้งนั้นจะผลิดอกออกผลให้เห็นในอนาคตข้างหน้า

 

“ทุกครั้งเห็นใครนุ่งกางเกงขายาว พวกเด็กๆ จะกลัวมากและจะวิ่งหนี” ท่านเล่าย้อนถึงช่วงแรกๆ ที่เด็กๆ มาอยู่ที่นี่ “คนที่นุ่งกางเกงที่พวกเขารู้จักในชีวิตก็มีแต่ทหารและกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทำให้พวกเขากลัว”

 

“อาตมาตระหนักดีว่า การศึกษาเท่านั้นที่จะทำให้พวกเขาเปลี่ยนได้ เด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาจะตกเป็นเหยื่อของการบังคับเกณฑ์ทหารได้ง่ายโดยกองกำลังต่อต้านรัฐบาลในพื้นที่ เพราะไม่รู้ว่าจะทำอะไร” ท่านเปิดเผยว่า เด็กๆ ที่ท่านดูแลส่วนมากมาจากครอบครัวที่ไม่รู้หนังสือและไม่เคยเข้าโรงเีรียนในหมู่บ้านเลย

 

ด้วยเหตุนี้ ระหว่างการเผยแพร่ศานาในพื้นที่สูงและห่างไกล นอกจากจะแสดงธรรมแก่ประชาชนแล้ว พระนันดาพภิวันสายังพยายามสนับสนุนให้พ่อแม่ส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนอีกด้วย

 

“มันไม่ใช่งานที่ง่ายเลย” ท่านบอก

 

ทางตอนใต้ของรัฐฉาน มีพ่อคนหนึ่งที่ไม่รู้หนังสือตอบกลับท่านมาด้วยความโมโหว่า “ทำไมผมต้องสนใจด้วย” เขากล่าว หลังจากที่พระนันดาพภิวันสาพยายามอธิบายว่า การศึกษาจจะมีประโยชน์ต่ออนาคตของลูกหลานอย่างไร เมื่อครั้งที่ท่านขอให้หลายครอบครัวส่งลูกไปเข้าโรงเีรียนในย่างกุ้ง มีแมีคนหนึ่งถามว่า “ท่านจะเอาลูกของฉันไปขายหรือ” และอีกหนึ่งคำถามที่พบเจอเป็นประจำคือ “ทำไมฉันต้องเชื่อท่าน”

 

“อาตมาบอกเขาว่า ลูกๆจะต้องจากพวกเขาไปซักพัก และก็บอกพวกเขาว่า อาตมารับรองความปลอดภัย และถ้าเด็กๆ ไม่มีความสุข เราก็จะส่งเขากลับมา ทำไมไม่ลองดูหละ”

 

กว่า 20 ปีหลังจากนั้น มีศิษย์เก่าจากโรงเรียนซุตองปแย เรียนจบจากมหาวิทยาลัยมากกว่า 30 คน และมีเด็กๆ มาเข้าเรียนอย่างไม่ขาดสาย

 

เมื่อปีที่แล้ว มีเด็กมาจากรัฐฉานตอนเหนือมากกว่า 100 คน เป็นพื้นที่ที่ติดกับรัฐคะฉิ่น ทางภาคเหนือของประเทศซึ่งกำลังมีการสู้รบกันระหว่างกองกำลังทหารพม่ากับกองกำลังคะฉิ่น KIA ส่งผลให้มีผูั้พลัดถิ่นหลายหมื่นคน

 

“พวกเขามารวมตัวกันอยู่ที่นี่ ทำให้อาตมาต้องปวดหัวเรื่องที่พัก” ท่านกล่าว

 

ดูเหมือนว่าท่านจะไม่ได้พูดเล่น เพราะในระหว่างที่นักข่าวอิระวดีเดินทางไปทที่โรงเรียน หอพักนักศึกษาหญิงแออัดอย่างกับโรงพยาบาลในสนามรบ เตียงที่แทบจะไม่พอสำหรับ 2 คน ต้องรองรับคนให้ได้ถึง 4 คน มีเด็กๆ อายุตั้งแต่วัยเตาะแตะไปจนถึงวัย 20 ต้นๆ

 

แม้ว่ารัฐบาลจะรับทราบเรื่องโรงเรียนการกุศลมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่พระนันดาพภิวันสา เปิดเผยว่า โรงเรียนอยู่ได้จากการบริจาคทั้งผู้บริจาคในประเทศและต่างประเทศ และในปีนี้เป็นปีแรกที่ครูจำนวน 25 คนในโรงเรียนจะได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังคงต้องประหยัดกันต่อไป โดยท่านจะไม่ซื้ออาหารทั้งหมด แต่ได้ปลูกข้าวไว้ใกล้ๆ โรงเรียนแลั้ยงเด็กๆ โดยท่านเป็นคนลงแรงขับรถแทรกเตอร์ด้วยตัวเอง เมื่อหน้าฝนมาถึง ท่านจะสวมรองเท้าบู๊ตยางไปปลูกข้าวกับเด็กๆ ด้วย

 

“ข้าวในนามีพอสำหรับ 6 เดือน ส่วนที่เหลือของปีต้องอาศัยการบริจาค”

 

หลังจากกว่า 20 ปีที่ได้ดูแลโรงเรียนแห่งนี้มา พระนันดาพภิวันสาก็เริ่มจะเห็นผลิตผลในระยะยาว “นัักเรียนทีที่ออกไปช่วงไฮสคูลกลางคันส่วนใหญ่ได้กลับไปเป็นครูที่หมู่บ้านเกิด” ท่านกล่าว “แม้ว่าจะไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นครู แต่อย่างน้อยพวกเขาก็สามารถสอนเด็กๆ ในหมู่บ้านให้อ่านเขียนได้ พวกเขาทำได้ดี”

 

นับเป็นความภาคภูมิใจที่นักเรียนจำนวน 3 คนได้เป็นพยาบาลปละเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์ของรัฐในหมู่บ้านของเขา ส่วนอีกคนหนึ่งก็กำลังเรียนอยู่ในวิทยาลัยครูของรัฐ

 

“เด็กๆ มาที่นี่แล้วก็จากไป” ท่านกล่าว “สิ่งที่พวกเขาทิ้งไว้ให้อาตมาก็คือความสุข มันช่างน่าปิติยินดีมากที่ได้เห็นพวกเขาปลอดภัยและเรียนจบ”

 

 

แปลจาก In Rangoon, a Safe Haven for Displaced Children โดย KYAW PHYO THA / THE IRRAWADDY 28 พฤษภาคม 2556

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ salweennews.org ดูทั้งหมด

1008

views
Credit : salweennews.org


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน