ทหารเด็ก : ฝันร้ายของเด็กชายในพม่า

“ผมกลัวมากปืนกับมิตไซล์มาก” โซจ่อ อดีตทหารเด็กกล่าว เขาถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารในกองทัพของรัฐบาลพม่าเมื่ออายุ 15 ปี

 

“การทำงานกับอาวุธเป็นความรู้สึกที่ย่ำแย่มากสำหรับผม บางครั้งผมก็กลัวว่ามันอาจจะกลับมาและระเบิดใส่ผม ถ้ายิงไม่ถูกเป้า และผมอาจจะตายได้”

 

ปัจจุบัน มีการประมาณการว่า ในพม่าอาจมีทหารเด็กมากถึง 5,000 คน ในปี 2012 รัฐบาลพม่าได้ลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อหยุดยั้งการเกณฑ์ทหารเด็กที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์เข้าไปเป็นทหารในกองทัพ และปลดทหารที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีออกไป

 

นับเป็นความเคลื่อนไหวของเพื่อผ่อนคลายแรงกดดันจากนานาชาติและลบชื่อพม่าออกจากบัญชีดำประเทศที่มีการใช้ทหารเด็กของสหประชาชาติ

 

ทั้งนี้ในข้อตกลงดังกล่าวมีการยินยิมให้มีการเข้ามาตรวจสอบในพม่า โดยเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้แน่ใจว่า รัฐบาลพม่าจะดำเนินการตามที่ได้ให้ตกลงไว้

 

แต่กระทรวงกลาโหมของพม่ากลับดำเนินการได้ล่าช้า ทหารเด็กทั้งหมดควจจะมีการระบุตัวตนและลงทะเบียนให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2013 แต่ก็ไม่สามารถทำให้เสร็จสิ้นได้ตามกำหนด

 

จากแผนปฏิบัติการร่วมดังกล่าว ทหารเด็กทั้งหมดจะต้องถูกปลดประจำการภายในระยะเวลา 18 เดือน หลังจากจดทะเบียนในเดือนพฤศจิกายน 2012

 

อย่างไรก็ตาม ทหารเด็กแต่ละคนมีพื้นเพที่แตกต่างกัน มีทั้งเด็กกำพร้า เด็กที่อาศัยอยู่ในชนบทแร้นแค้น แต่ส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ ไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้

 

อดีตทหารหลายคนที่ผู้เขียนได้พบในย่างกุ้งเข้ามาเป็นทหารในกองทัพเพราะถูกหลอกหรือเข้ามาเพราะไม่มีทางเลือก

 

ซีซีมิ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องเด็กจากองค์กร World Vision ในพม่า กล่าวว่า ชายหนุ่มอายุน้อยและเด็กชายที่ยากจนมักจะตกเป็นเป้าหมายได้ง่ายๆ

 

“ประเด็นแรกเริ่มคือเรื่องความยากจน การดำรงชีวิตอยู่ค่อนข้างลำบาก พวกเขาถูกชักชวนว่าจะได้เงินมากกว่า และได้เครื่องแบบฟรีในกองทัพ ในชุมชนบางแห่ง ชาวบ้านมีการศึกษาน้อย พ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงดูลูก หรือไม่สามารถมารถส่งเสียให้เรียนหนังสือได้”

 

“เด็กเหล่านี้นอกจากกองทัพรัฐบาลแล้วยังถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารในกองกำลังกลุ่มอื่นๆ อย่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยอีกด้วย ซึ่งความที่อายุยังน้อยและการศึกษาต่ำหมายถึง เด็กเหล่านี้จะถูกฝึกฝนได้ง่าย” ซีซีมิ้น กล่าว

 

ในกองทัพไม่มีกฎระเบียบหรือการควบคุมดูแล หรือถ้ามีก็น้อยมาก จึงไม่มีอะไรสามารถหยุดยั้งการเกณฑ์เด็กเข้าไปในกองทัพได้ ซึ่งเด็กเหล่านั้นจะถูกใช้แรงงาน ทำนา หรือ ตัดไม้ ที่หัวหน้าจะใช้งานเพื่อหารายได้เสริมจากเงินเดือนที่น้อยนิด โดยทหารจะได้รับอาหารที่คุณค่าต่ำและปริมาณน้อย แม้ว่าจะต้องทำการฝึกหลายชั่วโมง และไม่มีใครที่พวกเขาจะสามารถร้องขอความช่วยเหลือหรือพูดคุยด้วยได้

 

ตอนที่โซจ่ออายุ 15 ปี เขาถูกหลอกว่าจะพาไปทำงานก่อสร้างแต่กลับถูกเกณฑ์เข้ามาในกองทัพ เขามีสุขภาพที่อ่อนแอ (ภายหลังพบว่าเขาเป็นโรคหัวใจ) แต่เขาก็ไม่เคยยอมแพ้ “มันเป็นงานที่ใช้แรงงานหนักมาก”

 

“เราต้องแบกกระสอบข้าวสารหนักๆ ผมทำไม่ไหว เพื่อนจึงมาช่วยผม เราทำงานในนาข้าว เด็กผู้ชายหลายคนป่วยอย่างผม ถ้าพวกเขาขอออกไปรักษาตัว ก็จะถูกตี เราจึงต้องเงียบไว้ ผมร้องไห้เยอะมาก”

 

“ผมวางแผนที่จะกลับบ้าน เราพยายามแล้วแต่ไม่สำเร็จ เด็กคนอื่นที่พยายามหนี พวกเขาถูกตีและถูกจับขังคุก เรากลัวมาก ผมอยากกลับบ้าน แต่ก็ไม่มีโอกาสหนี”

 

 

ติ่นวินวัย 20 ปี อยู่ในกองทัพพม่ามาเกือน 5 ปี เขาสมัครใจเข้าไปเป็นทการตอนอายุได้ 14 ปี และไม่มีงานทำ เขาเล่าถึงชีวิตประจำวันในกองทัพว่า “เราตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ ออกกำลังกาย แล้วกินข้าวผัดจานเล็กๆ เป็นอาหารเช้า จากนั้นก็จะเป็นชั้นเรียนนายทหาร แล้วพักเที่ยง จากนั้นก็ไปเกี่ยวข้าวในนา โดยปกติแล้วชาวนาจะใช้ควายหรือวัวในการไถนา แต่พวกเขาไม่ได้ใช้แต่กลับใช้เราเป็นวัวเป็นควายแทนสัตว์ เราจะทำงานเสร็จในช่วงบ่ายแก่ๆ จากนั้นก็จะกินอาหารเย็น มันไม่ใช่อาหารดีๆ จากนั้นในตอนกลางคืน เราจะร้องเพลงกองทัพ ทั้งวันไม่มีเวลาว่าง”

 

ติ่นวินเป็นคนพูดติดอ่าง แต่เขากลับพูดได้ชัดขึ้นเมื่อเล่าถึงเหตุการณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก

 

“ผมเคยคิดไว้ว่าพวกเราจะได้รับการปฏิบัติที่ดีในกองทัพ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันแตกต่างมาก พวกเราถูกตี ผมพูดไม่ชัด ผมถูกรังแก ผมไม่มีความสุขเลย ผมขอให้แม่มาพาผมกลับบ้าน จากนั้นสามเดือนผมทนรอไม่ไหวจึงหนีออกมาก่อน”

 

เด็กผู้ชายหลายคนที่องค์กร World VIsion เข้าไปช่วยเหลือโชว์ให้เห็นร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกาย

 

“พวกเขาอธิบายไม่ได้ว่ารู้สึกอย่างไร แต่เราสามารถเห็นได้จากสีหน้าของพวกเขาเวลาที่พูดคุยกัน เราเห็นถึงผลกระทบทางด้านจิตใจของพวกเขาจากช่วงเวลาที่อยู่ในกองทัพ มันมีแต่ความเศร้าสลดหดดหู่ และฝันร้าย”

 

“พวกเขาบอกว่าพวกเขาฝันร้ายถึงประสบการณ์ที่เลวร้ายครั้งแล้วครั้งเล่า พวกเขาไม่มีความคาดหวังในอนาคตที่แน่นอน เมื่อคุณพูดคุยกับพวกเขา คุณจะเห็นว่าพวกเขามีความรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า สีหน้าของพวกเขาไม่มีความสุข พวกเขามักจะปิดกั้นตัวเอง พวกเขาได้สุญญเสียช่วงชีวิตในวัยเด็กไปแล้ว”

 

เด็กผู้ชายที่ผู้เขียนได้พูดุยด้วยได้รับการปล่อยตัวออกมาจากกองทัพอย่างเป็นทางการหลังจากที่แม่หรือเพื่อนของพวกเขาได้เข้าร้องเรียนกับองค์กรแรงงานสากล หรือ International Labour Organisation (ILO)

 

ทว่า ทหารเด็กที่ได้รับการปล่อยตัวจากกองทัพพม่านั้นมีเพียงจำนวนน้อยนิด ยังมีอีกหลายคนที่ยังอยู่ในกองทัพ สาเหตุที่กระบวนการปลดทการเด็กทั้งหมดออกจากกองทัพพม่าล่าช้าเนื่องจากยังมีความตึงเครียดและการสู้ระหว่างกองทัพพม่กับชนกลุ่มน้อยอยู่ ซึ่งรวมไปถึงการสู้ระหว่างกองทัพพม่ากับกองกำลังคะฉิ่นในรัฐคะฉิ่น ตราบใดที่ยังมีการสู้รบเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด กองทัพพม่าก็คงจะไม่ปลดทหารที่ยังจำเป็นต้องใช้งานออกจากกองทัพ รวมไปถึงทหารเด็กด้วย

 

เส้นตายของการขึ้นทะเบียนทหารเด็กได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ซีซีมิ้นยังคงมีความหวัง องค์กร World Vision และอีกหลายองค์กร อย่าง Unicef และ Save The Children กำลังพยายามสำรวจจำนวนทหารเด็กและพยามช่วยเหลือให้ออกมาจากกองทัพและพักฟื้น

 

“เราวางแผนกันเป็นวัน ไม่ใช่เป็นเดือน ทการเด็กทั้งหมดจะต้องได้รับการปล่อยตัว นั้นคือสัญญาของเรา ถ้ากระทรวงมหาดไทยล่าช้า สภาความมั่นคงของสหประชาชาติจะเข้าไปกดดัน เพราะมีการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมแล้ว แรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากนานาชาติและการจับตามองสถาการณ์จึงยังคงเป็นสิ่งสำคัญ” 

แปลและเรียบเรียงจาก Forced into fighting: The battle to rid Burma of its child soldiers วันที่ 18 มีนาคม 2556 จาก metro.co.uk

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ salweennews.org ดูทั้งหมด

1254

views
Credit : salweennews.org


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน