เรื่องบังเอิญหรือจัดฉาก? คำถามต่อเหตุรุนแรงระหว่างชาวพุทธกับมุสลิม
นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างชาวโรฮิงยากับชาวพุทธในเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างจับตามองเหตุการณ์เศร้าสลดที่เกิดขึ้นในพม่า และเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามมาอีกหลายครั้งก็ได้สร้างความกังขาให้กับนานาชาติเนื่องจากเกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่ดูเหมือนจะเป็นไปในทางที่ดี ทว่า เหตุการณ์ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นกลับรุนแรงกว่าทุกครั้ง ในครั้งนี้เกิดขึ้นที่เมืองเม้กทีลา ภาคมัณฑเลย์ ภาคกลางของประเทศ และตกเป็นข่าวพาดหัวในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ บรรดาองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน กลุ่มที่สนับสนุนชาวโรฮิงยา และนักข่าวต่างก็รีบออกมาประนามชาวพุทธหัวรุนแรงว่าเป็นสาเหตุของความรุนแรงที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม มูลเหตุของการปะทะกันระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธครั้งล่าสุดไม่ได้ชัดเจนตามที่ข่าวรายงานแต่อย่างใด เพราะแม้ว่าจะมีรายงานออกมาว่าเป็นความขัดแย้งเพราะเรื่องของคามแตกต่างทางศาสนากันธรรมดา แต่มีหลายอย่างที่บ่งบอกว่ามีสิ่งผิดปกติ หรือที่เลวร้ายที่สุดก็คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีการวางแผนไว้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ความไม่ปลอดภัยในที่สาธารณะ พฤติกรรมของกลุ่มหัวรุนแรง และการประกาศภาวะฉุกเฉินทำให้การเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยที่กำลังดำเนินไปนั้นต้องสะดุดลง
เหตุการณ์เริ่มจากเหตุวิวาทเรื่องทองคำที่เสียหายที่ร้านช่างทำทองซึ่งเป็นชาวมุสลิม มีรายงานว่าเจ้าของร้านได้ทำร้ายร่างกายคนขายทองชาวพุทธที่มาจากต่างเมือง ซึ่งเขาได้ร้องขอความช่วยเหลือ หลังจากนั้นก็มีฝูงชนเมารวมตัวกันและเกิดเหตุการณ์จลาจลทั่วมั้งเมืองในเวลาต่อมา
ข่าวชวนเชื่อได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในสื่อออนไลน์และสื่ออื่นๆ ซึ่งนอกจากจะมีการรายงานสถาณการณ์ที่ไม่เป็นความจริงและนำรูปภาพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาลงแล้ว ยังมีการกระหน่ำแสดงความคิดเห็นที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังชาวมุสลิมจำนวนมาก ซึ่งมีบัญชีผู้ใช้ที่แอบอ้างว่าเป็นกลุ่มต่อต้านชาวมุสลิม (แอบอ้างว่าเป็นกลุ่มต่อต้านชาวพุทธบางส่วน) ที่พากันเผยแพร่ข่าวชวนเชื่อผุดขึ้นมากเป็นจำววนมากในชั่วเวลาข้ามคืน กลุ่มหัวรุงแรงหลายคนได้เติมเชื้อไฟความขัดแย้งด้วยการนำเหตุการณ์นี้ไปโยงเข้ากับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวยะไข่และชาวโรฮิงยาเมื่อปีที่แล้ว
เป็นที่น่าแปลกใจที่เหตุการณ์จลาจลหลายครั้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ผู้นำของพม่าเดินทางไปต่างประเทศหรือมีแขกคนสำคัญจากต่างประเทศมาเยือนพม่า ซึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐยะไข่เกิดขึ้นก่อนที่นางอองซาน ซูจีจะเดินทางไปเยือนยุโรป เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2012 ด้านเหตุการณ์ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมผู้ประท้วงเหมืองทองแดงในแล็ตปะด่อง เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโอบามามาเยือนพม่าครั้งประวัติศาสตร์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2012 เพียง 10 วัน ส่วนเหตุการณ์ที่เม้กทีลาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2013 เกิดขึ้นก่อนนายอิริก ชมิดต์ ประธานบริหารของ Google จะมาเยือนพม่าเพียง 3 วัน และเกิดขึ้นหลังจากมีการรายงานผลการสอบสวนเหตุการณ์ในแล็ดปะด่องหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลดูเหมือนจะเป็นการสมรู้ร่วมคิดมากกว่าเป็นเรื่องบังเอิญ
แม้ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะเกิดขึ้นจากกลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็เริ่มจะคล้ายกับการจลาจลในปี 1988 ซึ่งหลังการประท้วงในปี 1988 กองทัพได้เข้ายึดอำนาจในการปกครองประเทศโดยอ้างเหตุผลเพื่อยุติเหตุการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งการยึกอำนาจในครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า ประชาชนที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดนั้นถูกครอบงำโดยกลุ่มชนชั้นสูงทางการเมืองอย่างง่ายดาย ถึงตอนนี้แม้ว่าการปฏิรูปประเทศจะเริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่าง แต่กองทัพก็ยังสามารถจัดสรรอำนาจทางการเมืองของตนเอาไว้ใด้ และประชาชนก็คอยจับตาดูอยู่ตลอดเวลาว่า กองทัพจะกลับมาทวงอำนาจคืนเมื่อไหร่
สำหรับชาวมุสลิมและชาวพุทธในเมืองเม้กทีลานั้น อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบมายาวนายหลายทาศวรรษแล้ว ชาวเมืองเม้กทีลาบางส่วนกล่าวว่า คนที่มีส่วนร่วมในการก่อจลาจลครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่ และไม่ใช่คนในหมู่บ้านใกล้เคียงด้วยซ้ำ ซึ่งมินโกนาย ผู้นำองค์กรนั้นศึกษาปี 88 ที่ลงพื้นที่เม้กทีลาในวันที่เกิดการจลาจลวันแรก กล่าวว่า “มีคนนอกเป็นผู้ปลุกระดมสถานการณ์”
สถานการณ์ได้ทวีความตึงเครียดขึ้นไปอีกขั้นเมื่อเกิดข่าวลือว่า หญิงชราที่ถูกอ้างว่าเป็นคนขายทองอีกคนหนึ่งถูกทุบตีจนเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า มีพระสงฆ์ถูกเผาทั้งเป็น ท่ามกลางสถานการณ์ทั่วทั้งเมืองไม่สามารถควบคุมได้แล้ว
ขณะที่พระผู้ใหญและชาวเน็ตจำนวนมากได้พยายามเตือนผู้คนไม่ให้ความเกลียดชังแพร่ขยายมากไปกว่านี้เพื่อลดความตึงเครียด แต่กลุ่มหัสรุนแรงกลับเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนและรายงานข่าวการเสียชีวิตซ้ำแล้วซ้ำเล่า สิบวันก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ มีเฟชบุ๊กเพจอันหนึ่งที่อ้างตัวงว่าเป็น “คณะกรรมการการเคลื่อนไหวแงชาติพม่า” ได้โพสต์ข้อความว่าทางการเม้กทีลาเรียกร้องให้พระสงฆ์ให้ระวังตัวเพราะชาวมุสสลิมได้มีการแผยแพร่ใบปลิวโจมตีชาวพุทธ ด้านวินเถ่ง สส เมืองเม้งทีลาจากพรรคเอ็นแอลดี ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายซึ่งไม่ทราบว่าเป็นกลุ่มไหนต่างก็มีการแจกใบปลิวโจมตีกันในพื้นที่ดังกล่าว
อย้างไรก็ตาม ในระหว่างและหลังเกิดเหตุจลาจล ชาวพุทธและมุสลิมต่างก็ร่วมมือกันเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ครอบครัวชาวมุสลิมหลายครอบครัวได้หนีไปหลบภัยอยู่ที่วัดและบ้านของเพื่อนบ้านที่เป็นชาวพุทธ ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจและสมาชิกสมาคมยุวพุทธสาสนิกชนได้ช่วยกันคุ้ทกันชาวมุสลิมจำนวนมากโดยได้สร้างที่พักพิงในสนามกีฬาในท้องที่ ขณะที่กลุ่มนักศึกษา ABSFU (All Burma Federation of Student Unions) และผู้นำกลุ่มนึกศึกษาปี 88 รวมทั้งพระสงฆ์ได้ช่วยกันนพตัวชาวมุสลิมไปหลบอยู่ในที่ที่ปลอดภัย
ในวันที่ 22 มีนาคม ในช่วงที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ กองทัพที่ได้ร่วมกับกำลังตำรวจเพื่อแก้ไขสถานการณ์และฟื้นฟูสถานที่ ถูกกล่าวหาว่าใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ความรุนแรงให้ประชาชนรู้สึกเห็นใจกองทัพ มากไปกว่านี้ กองทัพยังถูกประนามว่ามีความพยายามจะเข้ามายึดอำนาจเพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศอีกด้วย
รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบและรายงานเหตุการณ์ภายในระยะเวลาไม่ถึงสัปดาห์ แต่ทว่า คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างชาวโรฮิงยาและชาวยะไข่ก่อนหน้านี้ยังไม่มีการรายงายฃนต่อสาธารณะชนเลยจนถึงตอนนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า ในครั้งนี้อาจจะมีการรายงานผลการตรวจสอบเมื่อไหร่ยังไม่รู้
ประเทศพม่ากำลังอยู่ในก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ถ้ารัฐบาลและภาคประชาสังคมไม่สามารถคหาผู้รับผิดชอบที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์จลาจลในเม้งทีลาได้ ก็จะมีเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆ และเหตุการณ์บานปลายออกไปจนไม่สามารถควบคุมได้ ไม่แน่ สิงที่เราไม่อยากเห็นอาจเกิดขึ้นได้ นั่นคือการกลับคืนมาทวงคืนอำนาจการปกครองประเทศของกองทัพ
แปลจากบทความ Reform, riot and return in Myanmar โดย Chan Myae Khine วันที่ 25 มีนาคม 2556 จาก http://www.aljazeera.com