ชายแดนรัฐมอญ กับการจากไปของคนหนุ่มสาว
ที่นี่ถูกเรียกขานว่าเป็น “ดินแดนของคนชรา” ด้วยความขัดแย้ง เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ทำให้รัฐมอญ ดินแดนทางตะวันตกของประเทศพม่าต้องสูญเสียบุคลากรคนหนุ่มสาวที่หลั่งไหลออกนอกพื้นที่เพื่อไปหางานทำยังต่างประเทศ
ทว่า รัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังโปรโมทเรื่องการเปลี่ยนแปลงเพื่อสันติภาพและจะมีการพัฒนาในพื้นที่ตามแนวชายแดน ทำให้รัฐมอญต้องย้อนกลับมามองอนาคตของตนเอง และการขาดแคลนบุคลากรหนุ่มสาว
ในพื้นที่ชนบทของหมู่บ้านยัวติ๊ด มีแต่คนชราและเด็กเล็กอาศัยอยู่ ซึ่งคนในพื้นที่เผยว่า ประชากรคนหนุ่มสาวที่หายไปคิดเป็นจำนวนถึง 70 เปอร์เซ็นต์ วัยรุ่นจำนวนมากเดินทางข้ามชายแดนไปหางานทำในประเทศไทยทันทีที่เรียนจบ
“ในหมู่บ้านของเรามีคนเหลืออยู่ไม่มากนัก จะมีแค่พวกแม่ๆและปู่ย่าตายายที่ดูแลหลาน” เญ่งติ่น บอก ลูกของเธอทั้งหมด 5 คนไปหางานทำที่ประเทศไทย
เธอบอกว่า เธออาศัยเงินที่ลูกส่งมาในการเลี้ยงปากท้อง เธอไม่ได้ทำงานเพราะต้องเลี้ยงดูหลาน 5 คน
“ฉันจะอยู่ยังไงถ้าพวกเขาไม่ส่งเงินมาให้” หญิงชราวัย 60 ปีกล่าว
การศึกษาล่าสุดจากองค์กร เฮล์พเอจ อินเตอร์เนชั่นแนล พบว่า กว่าหนึ่งในสี่ของครอบครัวในรัฐมอญ มีแค่ปู่ย่าตายายกับหลาน มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ
พื้นที่ชายแดนห่างไกลในพม่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้รับความเสียหายจากสงครามกลางเมืองนับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราขจากอังกฤษเรื่อยมา โดยในช่วงที่ประเทศถูกปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหารมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในพื้นที่ดังกล่าวเนื่องจากรัฐบาลเผด็จกการต้องการตัดความช่วยเหลือจากชุมชนไปยังกองกำลังกลุ่มชาติพันธ์ ส่งผลกระทบต่อชุมชนและเศรษฐกิจของประเทศด้วย
ขณะที่รัฐบาลพลเรือนที่เข้ามามีอำนาจบริหารประเทศตั้งแต่ต้นปี 2011 ได้ลงนามในสัญญาหยุดยิงกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่รัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยง ทว่า ก็ยังไม่มีทีท่าว่าแรงงานข้ามชาติจะกลับเข้ามาในประเทศ
แรงจูงใจเรื่องเงินอย่างเดียวก็เพียงพอแล้วที่จะผลักดันให้คนหนุ่มสาวออกไปทำงานนอกประเทศพม่า ที่เป็นประเทศหนึ่งที่ติดอันดับเศรษฐกิจย่ำแย่ที่สุดในเอเชียในยครัฐบาลเผด็จการ
ในประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติจากพม่าที่ขึ้นทะเบียนกว่า 1.7 ล้านคน และคาดว่ามีแรงงานที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกประมาณ 1 ล้านคน ข้อมูลจาก แอนดี้ ฮอล์ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน
ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้แรงงานราคาถูกเหล่านี้เพื่อสนันสนุนในหลายภาคส่วนอย่าง ทั้งในการก่อสร้าง การผลิตอาหาร และอุตสาหกรรมการประมง แต่แอนดี้ ฮอล์ กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติมักจะตกเป็นเหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการเลือกปฏิบัติ
“พวกเขาอยากกลับบ้านแต่ความแตกต่างของรายได้นั้นมาก พวกเจาจึงกลับไม่ได้” เขากล่าว โดยระบุว่า เงินที่แรงงานข้ามชาติทั้งหมดส่งกลับบ้านในพม่ารวมแล้วอยู่ที่ 300 ล้าน ถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ในประเทศไทย แรงงานเหล่านี้มีรายได้ประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 6,000 บาท)ต่อเดือน หรือมากกว่า ซึ่งมากกว่ารายได้ในประเทศหลายเท่าตัว
จ่อตูยะ และเฮย์มาร์ ภรรยาของเขาเดินทางมาจากมะละแหม่ง เมืองหลวงของรัฐมอญ ทั้งสองคนมาพบกันครั้งแรกที่โรงงานคัดกุ้งในมหาชัย ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีแรงงานจากพม่าอยู่จำนวนมาก
“ผมเสียใจที่ประเทศของผมไม่เหมือนประเทศอื่น ผมคิดถงพ่อแม่มาก ” จ่อตูยะบอก ครอบครัวของเขาในรัฐมอญมีอาชีพทำนาซึ่งเขาเล่าว่า ในพม่าต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างลำบากมาก
สองสามีภรรยาอาศัยอยู่ในห้องเช่าเล็กๆ ที่ไม่มีเฟอร์นิเจอร์อะไร ในตึกที่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาวที่มาจากประเทศพม่า แม้วว่าพวกเขาไม่ได้มีอะไรมาก แต่ข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แต่สำหรับที่บ้านเกิดนี่ถือว่าหรูมากแล้ว
“ที่นี่เรามีงานทำ ถนนหนทาง ไฟฟ้า ทุกอย่างดีหมด ถ้าเป็นในพม่า เราคงไม่มีเงินซื้อทีวี หรือคอมพิวเตอร์ มันแตกต่างกันมาก” จ่อตูยะกล่าว
ในช่วงที่นางอองซาน ซูจี นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยมาเยือนประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว นางบอกกับฝูงชนแรงงานพม่าในทหาชัยว่า นางหวังว่าพวกเขาจะได้กลับบ้านในไม่ช้านี้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงแผนระเบียงเศรษฐกิจของพม่า
พม่ามีแผนการสร้างเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษหลายแห่งทั่วประเทศทำให้ต้องมีการพึ่งพาแรงงานที่มีฝีมือซึ่งกำลังขาดแคลนอยู่ในขณะนี้ โดยทางการหวังว่าจะมีการล่อใจให้แรงงานกลับประเทศเพื่อบรรเทาการขาดแคบน
สำหรับจ่อตูยะ ที่สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาจีนขั้นพื้นฐานได้ เขาทำงานป้อนข้อมูลในคอมพิวเตอร์อยู่ในขณะนี้ เข้าข่ายเป็นแรงงานที่มีคุณสมบัติดีเลิศที่กำลังต้องการ แต่ค่าตอบแทนก็ควรจะจูงใจด้วย
โก โก จ่อ บรรณาธิการจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นตัลวินไทม์ เผิดเผยว่า คนหนุ่มสาวที่ทำงานในรฐมอญได้ค่าจ้างแค่วันจะ 3,000 จั๊ต หรือ ประมาณ 90 บาท “มันไม่พอกิน เพราะอย่างนี้พวกเขาถึงต้องออกนอกประเทศ ที่นี่จึงกลายเป็นที่ที่มีแต่คนแก่อยู่” เขากล่าว
อยางไรก็ตาม ในรัฐมอญก็มีหลายอย่างที่กำลังเปลี่ยนแปลง
มีการลาดถนนใหม่ที่มุ่งหน้าไปยังชายแดนประเทศไทย มีแผนการหลายอย่างเพื่อรองรับโครงการท่าเรือน้ำลึกในทวายซึ่งอยู่ในพื้นที่ใต้ลงไป รวมทั้งบริษัทจากต่างชาติได้เข้ามาให้เห็นในพื้นที่ซักพักหนึ่งแล้ว
แอชลี เซาธ์ ที่ปรึกษาของ Myanmar Peace Support Initiative กล่าวว่า มีความกังวลว่า โครงการพัฒนาบางโครงการ โดยเฉพาะ การก่อสร้างเหมืองแร่ จะนำไปสู่ปัญหาการยึดที่ดินและปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
“มีหลายชุมชนที่กำลังได้รับผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากการบุกและการทำธุรกิจในพื้นที่ที่ยังคงมีความขัดแย้ง” เขากล่าว
ติ้นซาน ผู้จัดการระดับรัฐของ Myanmar Agricultural Produce Trading ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า รัฐมอญ ซึ่งพึ่งพาผลผลิตยางเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเองไปเป็นอย่างอื่นบ้าง อย่างอุตสาหกรรมเป็นต้น
ทว่า การขาดแคลนไฟฟ้ายังคงเป็นปัญหาหลักที่ท้าทาย ซึ่งทางการได้คาดหวังว่าจะใช้เวลา 2-3 ปีที่จะมีไฟฟ้าใช้เพียงพอต่อความต้องการในพื้นที่
“เราก็ยังไม่มีลู่ทางที่แท้จริง” เขากล่าว
ในพื้นที่ชานเมืองมะละแหม่ง ชาวนาอย่างทวยยี กล่าวว่า ชีวิตในชนบทจะหรือดึงดูดให้คนหนุ่มสาวที่ชีวิตก้าวหน้าในต่างประเทศกลับมาได้
“คนที่อยู่ที่นั่นพวกเขากลับมาอยู่ที่นี่ไม่ได้หรอก ถ้าผมยังหนุ่มอยู่ ผมก็คงอยากไปเหมือนกัน” ชายวัย 58 ปี กล่าว
—————————————–
แปลจาก Border communities struggle as youth move abroad
15 พฤษภาคม 2556 AFP