อิสราเอล-จอร์แดน-ปาเลสไตน์ ลงนามข้อตกลงเติมน้ำใน'เดดซี'
อิสราเอล, จอร์แดน และปาเลสไตน์ ร่วมลงนามในข้อตกลงแบ่งปันน้ำ และเติมน้ำให้ทะเลสาบ เดดซี แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ทะเลสาบแห่งนี้แห้งเหือดในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ว่า รัฐบาลของประเทศอิสราเอล, จอร์แดน และรัฐปาเลสไตน์ ร่วมลงนามในข้อตกลงแบ่งปันน้ำแล้ว เพื่อเติทน้ำใน 'เดดซี' ทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งกำลังเหือดแห้งอย่างรวดเร็ว ด้วยการส่งน้ำจะทะเลแดงผ่านท่อยาว 110 ไมล์
ซิลวาน ชาโลม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานแห่งประเทศอิสราเอล กล่าวว่า นี่เป็นข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งเคยเป็นเพียงแค่ความฝันมาหลายปี ระหว่างร่วมพิธีลงนามข้อตกลงพร้อมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงจัดการน้ำของปาเลสไตน์และจอร์แดน ที่สำนักงานใหญ่ธนาคารโลกในนกรุงวอชิงตันดีซี เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (9 ธ.ค.)
ภายใต้ข้อตกลงนี้ ในแต่ละปีน้ำทะเลปริมาณ 200 ล้าน ลบ.ม. จะถูกสูบจากทะเลแดง โดยครึ่งหนึ่งจะถูกนำไปเข้ากระบวนการทำน้ำจืดที่โรงงานแห่งใหม่ ที่จะสร้างขึ้นในเมือง อากาบา ทางเหนือของทะเลแดง และที่เหลือจะถูกส่งทรงตามท่อไปเติมให้ทะเลเดดซี ซึ่งระดับน้ำลดลงมากถึง 1 ม.ต่อปี และเชื่อว่าจะแห่งสนิทในปี 2050
ส่วนภาระหน้าที่ในการสร้างท่อส่งน้ำ ตกเป็นของประเทศจอร์แดน และคาดว่าจะใช้เวลาสร้างประมาณ 5 ปี และงบประมาณอีก 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอิสราเอลจะขายน้ำตกทะเล 'กาลิลี' ให้แก่จอร์แดน และผลิตน้ำจืดให้ปาเลสไตน์
ทั้งนี้ เดดซี เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เนื่องจากเป็นทะเลสาบที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก จนคนสามารถนอนลอยอยู่บนผิวน้ำได้ อย่างไรก็ตาม ระดับในเดดซีลดลงถึง 30% ตลอดช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยสาเหตุหลักคือ การจัดสรรการใช้น้ำกว่า 90% จากแม่น้ำจอร์แดน ไปยังภาคเหนือ เพื่อใช้ในภาคการเกษตรและภายในครัวเรือนในอิสราเอล, ซีเรีบ และจอร์แดน
ด้าน ธนาคารโลกระบุว่า หลังจากนี้จะมีการศึกษาวิจัยว่า น้ำเค็มจากทะเลแดงจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของเดดซีหรือไม่อย่างไร ก่อนจะมีการดำเนินการแผนนี้