อาเซียนเตรียมพร้อมแผนรองรับสุขภาพจิตเยียวยาจิตใจจากภัยพิบัติ

รร.มิราเคิล 29 ก.ค.- กรมสุขภาพจิต เตรียมแผนรองรับสุขภาพจิตอาเซียน เน้นรับมือ เยียวยาจิตใจจากภัยพิบัติ ขณะที่การสำรวจสุขภาพจิตคนไทย พบปี 2556 มีความสุขเพิ่มขึ้น โดยจังหวัดตรังพบสุขมากที่สุด ขณะที่ กทม. พบเครียดจากภาวะเร่งรีบทั้งการทำงาน และการเดินทาง

นพ.วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการประชุมวิชาการวิกฤตสุขภาพจิตระดับชาติประจำปี 2556 เรื่อง อาเซียนร่วมใจฝ่าภัยวิกฤตสุขภาพจิต  Go Through Mental Health Crisis : Strengthen ASEAN Collaboration ระหว่างวันที่ที่ 29 -31 ก.ค.2556 เพื่อเป็นการเตรียมการรับมือและป้องกัน  ผลกระทบจากภัยพิบัติ และเหตุการณ์วิกฤติที่รุนแรง เพื่อเตรียมพร้อมการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ จะบรูณาการร่วมกันใน 10 ประเทศสมาชิก ทั้งการทำฐานข้อมูล การถอดบทเรียน และการสื่อสารความเสี่ยง การฟื้นฟูสุขภาพจิตร่วมกัน และมีการจัดทีมสุขภาพจิตในระดับอาเซียน ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการเยียวยาสภาพจิตใจจากเหตุการณ์หรือภัยพิบัติ ที่สร้างผลกระทบต่อสภาพจิตใจ

ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ได้ตั้งทีมเยียวยาจิตใจระดับอำเภอ MCATT  ขึ้นดูแลสภาพจิตใจประชาชนระดับพื้นที่ จากการสำรวจสุขภาพจิตคนไทยปี 2556 พบว่า สุขภาพจิต และความสุขมากกว่าปี 2555 โดยปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมืองที่ดีขึ้น ไม่มีความขัดแย้งรุนแรงในประเทศ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม สึนามิ ซึ่งจากการสำรวจยังพบว่า จังหวัดตรัง เป็นพื้นที่มีความสุขสูงสุด จากปัจจัยแวดล้อม ความสมบูรณ์ของทรัพยากร วัฒนธรรม รองลงมาภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาเหตุที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสุขน้อยมาจากปัญหารการทำกิน ขณะนี้ กทม. สุขน้อย เนื่องจากภาวะความเครียดจากการทำงาน ใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมภายนอก การเดินทาง ที่มีแต่การแข่งขัน

นพ.วชิระ กล่าวด้วยว่า ส่วนปัญหาการฆ่าตัวตาย ยังพบว่าในปี 2555 ภาคเหนือยังพบมาก ถึง 10 คนต่อแสนประชากร ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน มาจากปัจจัยสังคม  ดื่มสุรา โรคเรื้อรัง อารมณ์ ขณะที่จังหวัดระยอง พบอัตราการฆ่าตัวตายสูงเช่นกันเกิน 12 คนต่อแสนประชากร ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน ที่มีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในโรงงาน เกิดความเครียดกดดัน ทางเศรษฐกิจ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็พบมีอัตราฆ่าตัวตายสูงขึ้น จากสถานการณ์พื้นที่รุนแรง ในจังหวัดยะลา  ทั้งนี้ อัตราการเสียชีวิตไม่ควรเกิน 6.5 คนต่อแสนประชากร.-สำนักข่าวไทย
 

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ mcot.net ดูทั้งหมด

203

views
Credit : mcot.net


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน