อดีตเลขาธิการอาเซียนแนะเอกชนไทยปรับตัวกรอบอาเซียนด่วน

กรุงเทพฯ 21 เม.ย.-อดีตเลขาธิการอาเซียน แนะเอกชนไทยเร่งปรับตัวรับมือกรอบอาเซียนด่วน ขณะที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดึง 2 สมาคมเซ็นเอ็มโอยูหวังสร้างความตื่นตัวรับมือเออีซีปีหน้า เชื่อนอกจากสร้างความเข้มแข็งธุรกิจยังลดต้นทุนมีกำไรเพิ่มอีกด้วยในกิจการอีกด้วย

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการ อาเซียน กล่าวในงานสัมมนา โครงการพัฒนาศักยภาพสมาคมประจำปี 2557 ในหัวข้อ "AEC กับแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการค้า” โดยยอมรับว่าทั้งภาครัฐและเอกชนไทยจะต้องเร่งปรับตัวรองรับการเปิดเสรีตามกรอบต่างๆให้มากขึ้น เพราะหลังจากนี้ไปการแข่งขันจะมีความรุนแรงมากขึ้น หากยังไม่ปรับตัวที่จะสร้างคุณภาพของสินค้า หรือส่งสินค้าไม่ได้ตรงตามเป้าหมาย โอการที่ไทยจะเสียเปรียบกับคู่แข่งเป็นไปได้สูง จึงเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องหันหน้าเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจไทย และเห็นด้วยกับแนวทางที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่จะดึงและสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคธุรกิจเอสเอ็มอีไทยที่มีมากกว่า 2 ล้านรายเข้าร่วมกัน

ขณะนี้ มีความเป็นห่วงประเทศไทยอย่างมาก เพราะหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนจับตาไทยว่าจะมีความมั่นคงในหลายด้านเมื่อไหร่ เพราะเวลานี้ไทยยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ยังไม่มีระบบป้องกันการทุจริตอย่างจิงจัง หากไม่มีความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจสิ่งที่จะกระทบตามมาคือกลุ่มของอาเซียนทั้งหมด และยิ่งตอนนี้ไทยเป็นสูญญาการทางด้านต่างๆ โดยเฉพาะไม่มีสภาผู้แทนราษฎรการตกลงในด้านต่างๆของอาเซียนต้องหยุดชงักไปด้วย ถือเป็นสิ่งที่ไทยต้องเร่งหาทางออกกันต่อไป

น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวภายหลังเป็นประธานสักขีพยานในการลงนามบันทึกตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทยกับสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ตามโครงการพัฒนาศักยภาพสมาคมการค้า ประจำปี 2557 เพื่อเป็นก้าวสำคัญที่จะใหภาคเอกชนเชื่อมโยงธุรกิจให้ด้วยกัน แม้ว่าแต่ละฝ่ายจะมีความถนัดที่แตกต่างกัน หากสามารถเชื่อมโยงธุรกิจได้ จะทำให้ความแข็งแกร่งของธุรกิจไทยจะสามารถแข่งขันการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปีหน้าได้อย่างไม่มีปัญหาได้

ทั้งนี้ การเปิดการค้าเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการประกอบธุรกิจอย่างสิ้นเชิง ภาคธุรกิจไทยจะต้องเร่งปรับตัวรองรับการแข่งขันและแสวงหาโอกาสที่จะใช้ประโยชน์ได้เต็มที โดยจะต้องร่วมมือเป็นภาคีพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพโดยรวมในระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

กรมฯ จึงขอเชิญชวนสมาคมการค้าเข้าร่วมการพัฒนาเพื่อร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจไทย และความร่วมมือของสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทยกับสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยตามโครงการศูนย์กระจายหนังสือสู่ภูมิภาคจะเป็นตัวอย่างความสำเร็จและถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะขยายผลการเชื่อมโยงไปยังสมาคมการค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้

อย่างไรก็ตาม โครงการศูนย์กระจายหนังสือสู่ภูมิภาค (Book Logistic) มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบเครือข่ายการขนส่งและกระจายสินค้าไปยังร้านหนังสือทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะสร้างศูนย์รวบรวมสินค้ากลางที่มีการบริหารจัดการครบวงจร ตั้งแต่การรับหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ มารวบรวม คัดแยก บรรจุหีบห่อ และกระจายให้ร้านหนังสือทั่วประเทศ รวมถึงระบบการรับคืนสินค้าด้วย โครงการนี้จะก่อให้เกิดการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกระบวนการกระจายสินค้าหนังสือทั้งระบบ ได้แก่

ลดต้นทุนค่าขนส่งหนังสือจากเดิมประมาณร้อยละ 3-7 ของมูลค่าหนังสือ ตั้งเป้าเหลือร้อยละ 1.65 เพิ่มความรวดเร็วในการขนส่งหนังสือถึงร้านหนังสือ เป็นการเพิ่มโอกาสในการขาย ลดพื้นที่คลังสินค้าและภาระงานที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของสำนักพิมพ์ เช่น การคัดแยก หีบห่อ จัดส่งสินค้า และจะมีผลกำไรเพิ่มอีกด้วยดังนั้น สมาคมการค้าอื่นๆที่สนใจรายละเอียดสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักพัฒนา ผู้ประกอบธุรกิจ โทร. 0 2547 5970.-สำนักข่าวไทย

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ mcot.net ดูทั้งหมด

219

views
Credit : mcot.net


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน