“Asia Road Express ” หัวหมู่ทะลวงฟัน AEC
Home “Asia Road Express ” หัวหมู่ทะลวงฟัน AEC
“ไทยสมเด็จ โลจิสติกส์ “
“การทำงานเรื่องสำคัญจะมาจากสิ่งที่ได้เห็นจริง และมีความตั้งใจ ให้เข้าใจง่ายๆ คือ ตอนนี้ อยู่คนเดียวคงไม่รอด ต่อให้ใหญ่ขนาดไหน หรือจะเก่งแค่ไหนในสายงานที่ทำอยู่ก็ตาม ถ้ามองไปในอนาคต สิ่งที่ต้องอยู่ในธุรกิจนี้ได้และสามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ และขยายขอบข่ายในการให้บริการต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้นนั้น ผมไม่เชื่อว่า เราจะสามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว และปัจจุบัน ทิศทางไม่น่าจะเป็น Globalization แล้ว แต่จะเป็น Regionalization คือเริ่มเป็นภูมิภาค มากขึ้น เพราะจะเห็นว่า ปัจจุบันคนในอาเซียนทีประมาณ 500-600 ล้านคน ถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ และเมื่อไปผนวกกับจีน อินเดีย ยิ่งเพิ่มอำนาจ”
พิเชษฐ์ ฉันทเศรษฐ์ ประธานกรรมการ ASIA Road Express Co.,Ltd. และกรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยสมเด็จ โลจิสติกส์ จำกัด กล่าวและเปิดเผยถึงความสำเร็จในผลักดันกลุ่มพันธมิตรธุรกิจโลจิสติกส์ในการให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนในนาม ASIA Road Express ที่มี ไทยสมเด็จ โลจิสติกส์,อีเทอรืนิตี้,อาร์เอฟอี,
เมโกลบ และกลุ่มธุรกิจในมาเลเซีย ลาว จีน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเพิ่มบทบาทขนส่งสินค้าข้ามแดนรับการเปิดเสรีทางการค้า การขนส่งและโลจิสติกส์ ตามกรอบ AEC
“มีการวางกรอบของ ARE ที่ชัดเจนว่า จะเป็น จีน อาเซียนทั้งหมด รวมถึงอินเดีย โดยภายใต้ แนวคิดที่ผมเชื่อว่าจะเป็น key success คือ ความเชื่อในความเป็น local expertise ความรู้ความชำนาญของแต่ละประเทศ กำหนดความชัดเจน ในแต่ละประเภท แต่ละสาขา ต้องให้บุคคลที่มีความชำนาญจริงๆ เข้าไปทำ ซึ่งรูปแบบของผมอาจจะแตกต่างจากมุมมองของหลายคนที่มองว่าการที่จะเข้าไปขยายรูปแบบ โลจิสติกส์ของคนไทย คือการเข้าไปเปิดสาขา ไป set up ในประเทศต่างๆ ซึ่งในความคิดของผม ยังไม่เห็นด้วย กับเรื่องนั้น”
ในอาเซียนยังมีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัด ทั้งเรื่องของ วัฒนธรรม ภาษา มองด้านขวาของไทย จะมีลาว กัมพูชา เวียดนาม 3 ประเทศ พูด 3 ภาษา แม้จะสามารใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารแต่บางที การสื่อสารกันก็ไม่สามารถทำได้อย่างลึกซึ้งมากเพียงพอที่จะเข้าไปทำอะไรได้ด้วยตัวเอง หรือการเข้าใจ วัฒนธรรมของพื้นที่ในการให้บริการ ในการทำงานจึงมีความเสี่ยงสูง และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในเวลาที่คาดหวังไว้ในระยะสั้น จึงน้อยไปด้วย
ในเรื่องการขอความร่วมมือต่างๆ การหาแนวร่วมต่างๆ เรื่องนี้คือหัวใจสำคัญ ซึ่งตอนนี้ทุกคนเห็นแบบเดียวกัน คือถ้าอยู่คนเดียวอยู่ไม่ได้ อยู่ไม่รอด กรณี ไทยสมเด็จ มีประวัติการทำงาน 40 กว่าปี เป็นผู้ชำนายเฉพาะพิธีการศุลกากร และ ฟรีโซน แต่ด้านโลจิสติกส์ ถ้าถามว่าใน โลจิสติกส์ ในซัพพลายเชนปัจจุบัน 2 ส่วนนี้เพียงพอหรือไม่ คำตอบคือ ยังไม่พอ ซึ่งโดยส่วนของไทยสมเด็จนั้นเข้าใจว่า ภาพรวมทั้งหมดนั้นความจำเป็นจะต้องมีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง อะไรที่เป็นตัวต่อเชื่อม นั่นคือ ความต้องการด้าน Network ต้องการโครงข่ายให้การให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้น
แต่ก็ติดปัญหาในเรื่องความรู้ความชำนาญ ความเข้าใจในพื้นที่ และสิ่งสำคัญสุดท้าย คือ เรื่องเงินทุน ที่จะเข้าไปประกอบกิจการ ถ้าจะข้ามไปมาเลเซีย จะต้องลงทุนเรื่องรถ เท่าไร ต้องใช้เวลาในการเข้าไป Set up แค่ไหน จึงจะสามารถสร้างธุรกิจตรงนั้นได้ ซึ่งต้องมองในหลายเรื่องโดยเฉพาะ เรายังขาดอะไร หลายคน โดยเฉพาะในสายวิชาการ ได้สนับสนุนเรื่องการรวมตัวกัน แต่ก็จะมีคำถามต่อไปว่า รวมกันอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ
“การจัดตั้ง ควรจะมีการรวมกลุ่มของคนทำงาน เหมือนการเล่นไพ่สำรับเดียวกัน ถ้าเป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ในเรื่องเดียวกัน ก็จะเกิดกรณี ใครได้ไพ่ที่ดีกว่ากัน ซึ่งคนที่ได้เป็นประธานหรือนายก เปรียบเหมือนคนแจกไพ่ จะแจกไพ่ที่ดีใบนี้ให้ใคร ซึ่งบางที ประธานหรือคนแจกไพ่ก็อาจจะอยากได้ไพ่ใบนี้ไว้เองก็ได้”
การรวมตัวกันนี้ ผมเห็นว่าดี แต่ประเด็นคือ จะรวมตัวกันอย่างไร ซึ่งถ้าเป็นการรวมตัวกันในเรื่องที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผมมองว่าจะเกิดข้อขัดแย้งมากกว่าเกิดแนวร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกฝ่าย ถ้าในส่วนของผม จะสังเกตได้ว่า แต่ละคนจะถูกกำหนดตำแหน่งที่ชัดเจน และมีความสัมพันธ์กันอย่างไรที่จะสามารถเชื่อมต่อกันได้เป็นเนื้อเดียวกัน เรื่องสำคัญคือ ผลประโยชน์
เรื่องแรกที่ตั้ง คือ ต้องไม่เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
จากทุกประเทศที่พูดถึงกัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีน อินเดีย เป็น door to door ชื่อ เป็น Asia express แล้วทำไมจึงต้องมีจีน และอินเดียด้วย เพราะจีนนั้นสามารถเชื่อมโยงทางรถได้ แม้ว่า ต้นทุนจะยังสูงอยู่ แต่ก็จะเป็นอีกตลาดที่มีลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีความต้องการในการขนส่งทางรถ จากจีน เข้ามาประเทศไทยหรือจะผ่านไทยต่อไปสิงคโปร์ เป็นทั้ง North-South และ East-West Corridor และทุกคนทราบดีว่า Regional Hub นั้น คือไทยเพราะมีจุดยุทธศาสตร์ที่ดี ประกอบการไทยมีความรู้ความชำนาญด้านฟรีโซน จึงเป็นศูนย์กลางที่ดี
เป็นที่พักและขนถ่ายไทยยังเป็นจุดสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือ Value Added จึงเป็นจุดกึ่งกลางที่พัก ขนถ่าย กระขายสินค้า และสร้าง Value Added ในตัวสินค้า ทั้งด้านซัพพลายเชนทั้งหมด ด้านการค้าระหว่างประเทศ ทำได้ สามารถ Trading เข้ามาติดฉลากใหม่เปลี่ยนเป็น แบรนด์ของตัวเอง หรือนำเข้าวัตถุดิบมาจากหลายๆประเทศ ประกอบหรือผลิตสร้างเป็น แบรนด์ของตัวเองขึ้นมาแล้วส่งออกไปขายต่างประเทศ เพิ่มมูลค่าสินค้าได้
ฟรีโซนตรงนี้จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ network ของ North-South และ East-West มีการเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพ และไม่รอยสะดุด จึงเป็นกรอบที่วางไว้ ARE Network Corporate ไม่ได้มองที่ถนนอย่างเดียว ไม่ใช่ทุกอย่างจะต้องเป็นรถทั้งหมด เป็น Road Network อย่างเดียว ในอนาคต มีความเป็นไปได้ที่จะเชื่อมระหว่างไทยผ่านทางพม่าเข้าไปที่อินเดีย แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เป็นประขาคมทางเศรษฐกิจ มีเรื่อง FTA ระหว่างจีน อินเดียและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นถ้าผนวกจีนกับอินเดียเข้าไป จาก 600 ล้านคน จะเพิ่มเป็น 2,000 กว่าล้านคน ทันที กรอบนี้จะทำให้ไทยมีโครงข่ายและตลาดในการให้บริการมากขึ้น
ตัวพาร์ทเนอร์นั้น รูปแบบจะใช้จุดแข็งของแต่ละบริษัท ใช้ความชำนาญของแต่ละบริษัท ใช้ขอบข่ายของแต่ละคน แผนแม่บทจึงเป็นกรอบนี้ โดยจะทำอย่างไรที่จะสามารถเชื่อมทุกประเทศ และเชื่อมฟังก์ชั่นงานของโลจิสติกส์ทั้งหมดที่มีความจำเป็นเข้าด้วยกัน เช่น ถ้ากำหนดว่าจะเชื่อมกับมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียจะต้องเป็นคนที่ให้บริการได้ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ใช้เพียงด้าน Transport อย่างเดียว แต่ไม่สามารถทำเรื่อง Distribution ได้ ไม่สามารถทำเรื่อง Warehousing ได้ ทำให้กระบวนการไม่ครบ
กรณีประเทศไทย เรื่องพาร์ทเนอร์ ไทยสมเด็จทำได้ในเรื่อง Custom Clearance บวกกับเรื่อง ฟรีโซน แต่ตัวอื่นๆ ก็ต้องยอมรับว่า ไม่มีความชำนาญ ก็ได้พันธมิตร ซึ่งก็มีความคิดแบบเดียวกัน เช่น RFE เป็นผู้นำในการกระจายสินค้าทางรถ ทั่วประเทศ หมายความว่า Express ภายใน 24 ชั่วโมง สามารถกระจายสินค้า ได้ทั่วประเทศ เท่ากับแผนที่ประเทศไทยสามารถปูได้เต็มพื้นที่ ด้วยเครือข่ายของ RFE บวกกับความชำนาญของไทยสมเด็จ ดังนั้นในประเทศไทย เราจึงกล้าบอกว่า เรามี Network ที่ครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งมาจากความร่วมมือ
แต่ในทางกลับกัน ความร่วมมือ RFE ในการกระจายสินค้า แต่ถ้าเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ เมื่อนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา RFE จะไม่มีศักยภาพในการดำเนินงานตรงนั้น ก็เป็นความร่วมมือกันในการนำสิ่งที่แต่ละคนมีความชำนาญมาผนวกรวมกัน
มีตัวอย่าง บริษัท เฟดมาร์ก โลจิสติกส์ ซึ่งเดิมคือบริษัท MayGlobe ซึ่งร่วมมือกับ เฟดมาร์ก มาเลเซีย โดย เฟดมาร์ก โลจิสติกส์ จะวิ่งรถขนส่งสินค้าระหว่างไทย-มาเลเซีย เป็นการเชื่อมของ 2 ประเทศใหญ่ ระหว่างสิงคโปร์และมาเลเซียตอนใต้ขึ้นมาประเทศไทย โดยศักยภาพของ เฟดมาร์ก มาเลเซียนั้นถือว่าเป็นอันดับต้นๆ ของมาเลเซีย ในทางกลับกันถ้ามีสินค้า จากไทยส่งไปมาเลเซียและต้องการทำเรื่อง Warehouse เรื่องการกระจายสินค้า เฟดมาร์กก็สามารถดำเนินการให้ได้
โดยที่ทั้งหมดนั้น เฟดมาร์ก มีบริการของตัวเองอยู่แล้ว ซึ่ง เฟดมาร์ก มีWarehouse ที่ครอบคลุมทั่วประเทศมาเลเซีย
ในการขนส่งแนว East –West เป็นหน้าที่ของอีเทอร์นิตี้ จะเข้ามาสนับสนุนโครงข่ายนี้ ต่อเชื่อมจากฟรีโซนไปยัง ตะวันออก ซึ่งปัจจุบันได้เข้าไปให้บริการในประเทศลาว และกำลังข้ามไปที่ประเทศเวียดนามและจีน โดยมีบริษัท ลาวเฟด เป็นพันธมิตร ในประเทศลาว
นอกจากนั้น ARE ปัจจุบันได้เปิดสำนักงานที่เวียงจันทน์ เป็น ARE ลาว เพื่อให้บริการลูกค้าในด้านการขนส่ง และด้านโลจิสติกส์ ในประเทศจีน มี 2-3 บริษัท คือ ไชน่า เมอร์ชั่นโลจิสติกส์ เป็นบริษัทลำดับต้นๆของจีนที่มีศักยภาพมากเพียงพอในกระบวนการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทั้งหมด มี Warehouse มีท่าเรือของตัวเอง ที่เซินเจิ้น ไชน่า โอเวอร์ซี เป็นอีกพันธมิตรที่ดูแล เรื่อง Free Zone Area ที่เซินเจิ้นขอบข่ายการให้บริการ ครอบคลุมทั้งประเทศจีน
ที่อินเดียมีข้อตกลงในความร่วมมือกัน ถือว่าเป็นโลจิสติกส์อันดับหนึ่งของอินเดีย กาจีและเซ็นจอห์นเฟด ทำหน้าที่ให้บริการครอบคลุมทั้งประเทศอินเดียเช่นกัน ในอินโดนีเซียเป็นบริษัท แอดาลีซ่า
ถ้าดูแผนที่จะเห็นว่าทุกมณฑลของจีนจะใช้ศักยภาพของไชน่าเมอร์ซัน ซึ่งมีเครือข่ายทั่วประเทศในการให้บริการ เมื่อรวบรวมสินค้าเข้ามา สามารถเลือกโหมดขนส่งที่ลูกค้าต้องการ ได้ทั้งหมด ซึ่งทาง Road Network นั้น บริษัทได้เชื่อม จากเซินเจิ้นไปถึงฮานอย หรือหรือจาก คุนหมิง ผ่านลาวบาว เชียงของ ลงมากรุงเทพฯ ถ้ากระจายในประเทศไทยเป็นหน้าที่ของ RFD ไปถึงพื้นที่ไหนพันธมิตรก็จะรับรู้หน้าที่บทบาทของตัวเองทันที จะไม่ใช้บริษัทใด บริษัทหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนก็มีความแข็งแกร่งในหน้าที่และพื้นที่
ของตัวเองและสามารถทำหน้าที่ของตนเองได้ ซึ่งอีเทอร์นิตี้ หยุดบทบาทไว้ที่พรมแดน
ปัจจุบันเรามีสำนักงานที่ เวียงจันทน์ สะหวันนะเขต และกรุงเทพฯ ซึ่งในกรอบที่บริษัทวางไว้ สำหรับการให้บริการที่ครอบคลุมที่สุด ซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัท เช่น ในอินเดียจะหายากมาก สำหรับบริษัทที่จะให้บริการได้ครอบคลุมถึง 98% ของพื้นที่ทั้งหมด
* ข้อมูลนี้เป็นลิขสิทธิ์ของหนังสือพิมพ์ INTERTRANSPORT LOGISTICS ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ไม่ว่ากรณีใดหากไม่มีการขออนุญาตอย่างเป็นทางการ