Logistics Land Link ASEAN
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย หลายรายเลือกเชื่อมเครือข่าย Logistics กับ Logistics ข้ามชาติ หรือออกจากพื้นที่เดิม ขยับไปหาตลาดใหม่ในประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน เพื่อหาโอกาสใหม่ๆ ในการการเข้าสู่ตลาดให้บริการแบบข้ามแดน หรือการ Focus ในธุรกิจอุตสาหกรรมของชาติเดียวกันที่ขยายตลาดเข้าสู่เพื่อบ้าน
Trading & Industry ที่ขยับเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศที่เป็น Land link เขื่อมถึงกันในอาเซียน Logistics สัญชาติไทย ก็จะเกาะเกี่ยวในการเข้าทำธุรกิจร่วมในการดำเนินงานส่งมอบสินค้า Dr. Do Xuan Quang, Chairman, ASEAN Federation of Forwarders Associations (AFFA), Vietnam กล่าวว่า ปัจจุบันภูมิภาคอาเซียน คือตลาดขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากจีนและอินเดีย โดยมูลค่าการค้าในปัจจุบันเท่ากับ 1,200 พันล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของ GDP โลก และมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดของกลุ่มเศรษฐกิจโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 5.6 ต่อปี ทั้งนี้ เห็นว่าการส่งเสริมและพัฒนาในสาขาโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งใน 12 สาขาอุตสาหกรรมที่อาเซียนเห็นว่าควรเร่งเปิดเสรี ในปี 2558 เนื่องจากเป็นสาขาที่มีศักยภาพสูงในการแข่งขันของภูมิภาค การดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรีในสาขาโลจิสติกส์ อาทิ การพัฒนาให้บริการ ณ จุดเดียว การเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การอำนวยความสะดวกด้านศุลกากร และการปรับมาตรฐานกฎระเบียบ การอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์สูงที่สุดในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตามลำดับ
ทิศทางการกำหนดแผนพัฒนาโลจิสติกส์ของอาเซียนนั้น เห็นว่าการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การร่างกฎหมายที่มีมาตรฐานร่วมกัน การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดตั้งศูนย์บริการด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาค มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียนในอนาคต.
The Transport Logistics in MYANMARการขนส่งสินค้าโดยใช้เส้นทางรถยนต์ยังคงเป็นเส้นทางการคมนาคมที่นิยมมากที่สุดภายในสหภาพเมียนมาร์ ดังเห็นจากข้อมูลสถิติซึ่งจัดทําโดย ASEAN-Japan Transport Partnership Information Center ระบุว่าในปี 2010 ปริมาณการขนส่งสินค้าภายในสหภาพเมียนมาร์เกินกว่าครึ่งหนึ่งเป็นการขนส่งสินค้าทางถนน ส่วนที่เหลือจะเป็นการขนส่งสินค้าทางน้ำและทางรถไฟตามลําดับ
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของสหภาพเมียนมาร์ในภาพรวมนั้น ถือว่ามีความล้าหลังกว่า ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน กล่าวคือ ในรายงาน ASEAN Logistics Performance Index ปี 2010 ระบุว่า ระดับประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของสหภาพเมียนมาร์อยู่ในระดับที่ 133 ของโลกและอยู่ลําดับต่ำกว่าทุกประเทศในอาเซียน
รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาต โสภาแดง ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงการพัฒนาโลจิสติกส์ของเมียนมาร์กับโอกาสของไทย ว่า ประเทศเมียนมาร์หรือประเทศพม่าที่เราคุ้นเคยกันดี ถือได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีความเพียบพร้อมทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งสินแร่ ป่าไม้ และแหล่งเชื้อเพลิง มีตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ดี มีอาณาเขตติดกับทะเลอันดามันที่เปิดกว้างสู่มหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งพื้นที่ทางบกที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศขนาดใหญ่ เช่น จีนและกลุ่มประเทศ BIMSTEC อีกทั้งยังมีความงดงามทางด้านภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิมที่ถูกรักษาไว้มาเป็นเวลายาวนาน
หลังจากการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ รัฐบาลเมียนมาร์ก็มีนโยบายเร่งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้เมียนมาร์กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่นักลงทุนต่างชาติต่างสนใจเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียอย่างจีน และ ญี่ปุ่น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ในประเทศนี้
สัญญวิทย์ เศรษฐโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บลู แอนด์ ไวท์ โลจิสติกส์ เมียนมาร์ จำกัด ซึ่งกำลังเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท บลู แอนด์ ไวท์ โลจิสติกส์ ซีแอลเอ็มวี จำกัด เพื่อให้บริการขอบคลุมทั้งในกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป กล่าวว่า สำหรับพม่าซึ่งมีพรมแดนติด จีน อินเดีย บังกลาเทศ และไทย ถือเป็นเส้นทางสำคัญสำหรับการส่งออกสินค้าสู่นานาประเทศ แต่ติดเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ทำให้จีนมีความพยายามในการเข้าครอบครองเส้นทางการค้าในพม่า
LAO – Myanmar สะพานเชื่อม R3b กับ R3aลาวและพม่าได้ร่วมกันสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ที่เมืองเชียงลาบ ฝั่งลาว กับเมืองลอง ในฝั่งพม่า ห่างจาก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ไปทางทิศเหนือ 82 กิโลเมตร เพื่อรองรับการคมนาคมจากจีน ผ่านลาว ตรงเข้ามายังพื้นที่พม่าที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก สะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมพม่า-ลาวแห่งแรกคืบหน้ากว่า 90% เตรียมเปิดทดลองใช้กลางเดือนนี้ ก่อนตัดริบบิ้นเปิดอย่างเป็นทางการ พ.ค. เชื่อมโยงเส้นทางสายยุทธศาสตร์ R3a-R3b ทะลุถึงเดียนเบียนฟู เวียดนาม เชื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนบนคึกคักมากขึ้น
พล.ท.ตาน ทอน อู แม่ทัพภาคสามเหลี่ยม ประเทศพม่า ซึ่งดูแลพื้นที่ภาคเหนือ และ พ.อ.ส่อ ไหน่ อู ผบ.ยุทธศาสตร์ท่าขี้เหล็ก เข้าตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมพม่า-สปป.ลาว แห่งแรก ณ เมืองเชียงลาบ รัฐฉาน เชื่อมกับบ้านกุ่ม เมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ไปตามเส้นทางแม่น้ำโขงประมาณ 82 กิโลเมตร และห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ทางบกประมาณ 150 กิโลเมตร
Neak Loeung เชื่อมพนมเปญ-โฮจิมินห์ทางเหนือกรุงพนมเปญ สะพาน Neak Loeung ที่เชื่อมกัมพูชา-เวียดนาม โครงการก่อสร้างสะพาน Neak Loeung ข้ามแม่น้ำโขงในกัมพูชาไปตามถนนหมายเลข 1 ไปยังเวียดนาม แก้ปัญหาคอขวดเส้นทางเชื่อม ด้วยมูลค่าการลงทุนประมาณ 131 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเงินช่วยเหลือจากญี่ปุ่น แล้วเสร็จในปี 2558 ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา เพื่อรับการเปิด AEC
สะพานเนียกเลือง หรือ "เนียะเลิง" (Nea Leung) ตั้งอยู่ใน จ.กันดาล (Kandal) โดยสะพานแขวงนี้มีความยาว 2,215 เมตร สร้างด้วยงบลงทุนมูลค่า 119.4 ล้านเยน นับเป็นความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นที่เข้ามาบทบาทสำคัญ เพื่ออำนวยในการขนส่งสินค้าระหว่างกัน เนื่องจากสะพานเนียกเลืองถือเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในกัมพูชา
สะพานดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในโครงการทางหลวงอาเซียนสายที่ 1 (ASEAN Highway 1) ที่เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันตก ไปจนถึงมาเลเซียและสิงคโปร์ รวมทั้่งเมียนมาร์ในอนาคต
Logistics ไทยเชื่อมลาว-กัมพูชา-เวียดนาม-จีนขวัญชัย ติยะวานิช นายกสมาคมขนส่งสินค้าภาคอีสาน กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงคู่สัญญาเครือข่ายผู้ประกอบการขนส่งสินค้าไทย-ลาว จะร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนและเอื้อประโยชน์ในการให้บริการขนส่งสินค้า การใช้บริการคลังสินค้าชายแดน และพิธีการด้านเอกสารสินค้าผ่านแดนได้สะดวกรวดเร็ว เพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าส่งออกผ่านเส้นทางด่านชายแดนถาวร สปป.ลาว 5 จุด คือ ด่านช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี, ด่านสะหวันนะเขต จ.มุกดาหาร, ด่านนครพนม-ท่าแขก, ด่านท่าลี่ จ.เลย และด่านหนองคาย-ท่านาแล้ง ส่วนประเทศกัมพูชา ใช้เส้นทางด่านช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ และด่านช่องจอม จ.สุรินทร์ สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กเส้น, อุปกรณ์ก่อสร้าง น้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งสินค้าอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน
พิเชษฐ์ ฉันท์เศรษฐ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ไทยสมเด็จ โลจิสติกส์ จำกัด กล่าวถึงการลงทุนในลาวว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานของลาวปัจจุบันเริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น สังเกตจากเส้นทางข้ามเขตแดนที่สำคัญเชื่อมระหว่างจีน-เวียดนาม-ลาว-ไทย คือ หนานหนิง-ปิงเซียง-ฮานอย-วินห์-ท่าแข็ก (ลาว)-นครพนม เริ่มกลายมาเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่นิยมมากขึ้นเพราะเป็นเส้นทางสายใหม่ที่มีระยะทางขนส่งสินค้าสั้นกว่า เส้นทางอื่น ทั้งปัจจุบันลาวยังมีทางเลือกในเส้นทางมากขึ้น เช่น การขนส่งสินค้าผ่านทางทะเลก็จะพึ่งเวียดนามมากขึ้นจากเดิมที่เคย พึ่งพาไทย
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "การค้าข้ามแดน" (Border trade) ซึ่งถือเป็นความท้าทายในลาวมากกว่าในไทย เนื่องจากกระบวนการการค้าในลาวเป็นวิธีการแบบเลี่ยงราคาภาษีที่มีราคาสูง ดังนั้น พรมแดนการค้าจึงเป็นปัญหาสำหรับโลจิส ติกส์ เน้นการผลิตเพื่อส่งออกมากกว่าผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ
ไทยต้องมองตัวเองใหม่ว่า ขณะนี้ไม่ใช่ศูนย์กลางด้านการพัฒนาการลงทุนอย่างเคย เพราะจีนเริ่มขยายการพัฒนาเข้ามาในภูมิภาคแล้ว"อยากแนะนำว่าหากผู้ลงทุนไทยสนใจจะเข้าไปลงทุนในลาวแล้ว อย่าตัดราคากันเองเพราะจะทำให้ธุรกิจไทยในลาวดำเนินไปไม่ได้ดีเท่าที่ควร
วรทัศน์ ตันติมงคลสุข กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โลจิสติกส์วัน จำกัด เปิดเผยว่า ทางฝั่งกัมพูชาว่า แม้ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการด้านการขนส่ง ทางบก ซึ่งแน่นอนว่าไทยก็มีความได้เปรียบด้านการขนส่งทางบกมากกว่ากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน แต่ส่วนตัวก็ยังเล็งเห็นโอกาสนั้นในประเทศกัมพูชาเช่นกัน โดยเหตุที่เลือกทำธุรกิจการขนส่งสินค้าในประเทศกัมพูชา เป็นเพราะในเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางภาษีระหว่างประเทศ
ลักษณะการขนส่งผู้โดยสารรวมทั้งสินค้าในกัมพูชามักขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในอัตราที่เกินกำหนดเนื่องจากไม่มีข้อบังคับในการขนส่งที่แน่นอน เป็นการขนส่งในลักษณะตามใจเจ้าหน้าที่ ส่วนพาหนะที่ใช้ในการขนส่งก็มีการดัดแปลงเพื่อให้บรรทุกได้มากกว่าปกติ ส่วนโครงสร้าง พื้นฐาน เช่น ถนนหมายเลขเดี่ยวในกัมพูชาบางส่วนได้รับการพัฒนาแล้ว
วิเชียร จงอภิรมย์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด กล่าวถึงการขนส่งในเวียดนามว่า ธุรกิจไทย-เวียดนามมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติไปได้มาก หากไทยยังประมาทอาจทำให้เวียดนามพัฒนาแซงหน้าไทยได้ ปัจจุบันเวียดนามมีนโยบายการพัฒนาการขนส่งของเวียดนามคือ การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้สามารถเชื่อมโยงกันอย่างมีมาตรฐาน โดยเฉพาะการพัฒนาการขนส่งต่อไปยังจีน ลาว และรัสเซีย หรือไปยังประเทศอื่นให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้สอดรับกับปริมาณการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น เพราะเวียดนามยังขาดความเหมาะสมด้านนี้อยู่
Malaysia ผู้เล่นบทนำในการทะลุแดนที่ใต้สุดของแผ่นดินไทย ด่านสะเดา จังหวัดสงขลา มูลค่าการค้าชายแดนหลายแสน ล้านบาทต่อปี คือตัวสะท้อนความคึกคักของบริการโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าข้ามแดน สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ มาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบสาธารณูปโภคดีที่สุดของเอเซีย และมีผลอย่างสำคัญต่อความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา มาเลเซียมีระบบขนส่งทางถนนที่พัฒนาเป็นอย่างมาก เป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบโครงข่าย ถนนก้าวหน้าที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีระยะทางทั้งสิ้น 66,000 กิโลเมตร
โดยบทสรุปวันนี้ธุรกิจโลจิสติกส์มาเลเซีย ทะลวงด่านไทยจนถึงเมืองจีน ด้วยกลยุทธ์การรุกที่มีเป้าหมายการคุมเส้นทางการค้าในภูมิภาค แม้กระทั่งการเข้าไปให้บริการโลจิสติกส์กับธุรกิจข้ามชาติในจีน การเข้าไปเป็นผู้ลงทุนบุกเบิกในกัมพูชา และนำพาสินค้าบริการจากท่าเรือในมาเลเซียผ่านด่านสะเดา ทะลุเชียงของ รอรับของกลับจากคุณหมิง การพลิกแพลงรูปแบบการลงทุนส่งผลโดยตรงกับผู้ประกอบการในภาคใต้ของไทยอย่างยากจะหลีกเลี่ยง
ทั้งหมดคือภาพรวม Logistics ของกลุ่มประเทศ Land Link ที่เชื่อแผ่นดิน เชื่อมการค้า เชื่อมโอกาสใน AEC