ครม.อนุมัติ 3.8 พันล.จัดเลือกตั้ง ฟุ้งอาเซียนเชียร์รัฐ
วันนี้ 17 ธ.ค. 2556 มติครม.เห็นชอบงบ 3.8 พันล. จัดเลือกตั้ง นายกฯ สั่ง ขี้ข้ารมว.กต. ประสานตปท.สังเกตการณ์ 20 ธ.ค. สรุปวงปาหี่ปฏิรูปรัฐสู่ที่ประชุมใหญ่ ไม่แคร์กปปส.เมินร่วม ชี้ให้นำข้อเสนอไปเทียบกัน แจงนายกฯให้ครม.น้อมนำพระราชดำรัสไปปฏิบัติ สะกิดแต่ละกระทรวงอย่าเงียบแจงผลงานปชช. สั่ง รมว.คลัง กระตุ้นศก. มท.พร้อมดูแลภัยหนาว เล็งประกาศภัยพิบัติ ญี่ปุ่นปลดล็อกรับไก่สด อ้างอาเซียนให้กำลังไทยผ่าวิกฤติ สภาพัฒน์ฯเผยเบิกจ่ายภาครัฐชะลอตัว
ที่สโมสรทหารบก นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3.8 พันล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมและดำเนินการจัดการเลือกตั้งส.ส.เป็นการ เลือกตั้งทั่วไป กรณียุบสภา โดยเป็นแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.ค่าใช้จ่ายในสำนักงานกกต. 3.2 พันล้านบาท
2.ค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจจำนวน 18 หน่วยงานที่ต้องให้การสนับสนุนการเลือกตั้งของกกต. 653 ล้านบาท ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มอบหมายให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ดำเนินการประสานงานระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และกกต.ในการเชิญองค์กรต่างประเทศและสื่อมวลชนระหว่างประเทศมาสังเกตการณ์ การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 และให้กระทรวงต่างๆ สนับสนุนการทำงานของกกต.อย่างเข้มงวด
ด้านร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลครม.ว่า สำหรับการประชุมกลุ่มย่อย “ประเทศไทยของเราจะไปทางไหน” ในวันนี้ ( 17 ธ.ค,) เป็นการนำข้อเสนอต่างๆ จากการเสวนาครั้งแรกมากำหนดให้เป็นข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม จากนั้นวันที่ 20 ธ.ค. จะมีการสรุปแล้วนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งแรกให้รับทราบแนวทางการจัดทำข้อเสนอการ ปฏิรูปประเทศไทย โดยหวังว่าการประชุมดังกล่าวจะทำให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนว่าการผลักดันให้มี การปฏิรูประหว่างการจัดการเลือกตั้งจะต้องมีขั้นตอนอย่างไร กรอบเวลาเป็นอย่างไร และแม้จะไม่มีตัวแทนจากกลุ่มกปปส.มาเข้าร่วมประชุม แต่ไม่ใช่อุปสรรคที่ทำให้การประชุมเวทีนี้หยุดชะงักหรือประสบความล้มเหลว เพราะจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้สังคมนำไปเปรียบเทียบกับข้อเสนอของกปปส.
ส่วนนายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลครม.ว่า นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พูดถึงการตีพิมพ์พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการออกมหาสมาคม นายกฯจึงแจ้งกับครม.ให้น้อมนำพระราชดำรัสไปปฏิบัติเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัว เองและเป็นแนวทางการทำงาน นอกจากนี้ เลขาฯครม.ยังได้ชี้แจงการประชุมครม.นัดสุดท้ายของปี 56 คือวันอังคารที่ 24 ธ.ค. และนัดแรกของปี 57 คือ วันที่ 7 ม.ค. และกล่าวถึง นายกฯระบุอีกว่าแม้จะยุบสภาไปแล้ว กระทรวงยังคงทำงานต่อ ขอให้ครม.ติดตามงานที่คงค้างอยู่เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่าง เรียบร้อย ขณะนี้ข่าวสารการทำงานของกระทรวงต่างๆ เงียบหายไป จึงอยากให้แต่ละกระทรวงมาแจ้งให้ประชาชนรับทราบว่าแต่ละกระทรวงมีกิจกรรม อะไรบ้าง
นายธีรัตถ์ กล่าวอีกว่า นายกฯยังเป็นห่วงภาวะเศรษฐกิจ หลังจากที่มีการชุมนุมจนกระทั่งยุบสภาฯอาจทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง จีงมอบหมายนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง หาทางประสานงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ขอความร่วมมือเท่าที่ทำได้ภายใต้กรอบที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)กำหนดไว้ เช่น การสนับสนันภาคเอกชน ภาคราชการ เดินหน้าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมระบุต่อว่า นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ได้แจ้งกับครม.เรื่องสถานการณ์อากาศหนาว ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะรับไปดำเนินการ หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาฯ ติดต่อกัน 3 วัน จะสามารถประกาศภัยพิบัติทางธรรมชาติภัยหนาวได้ โดยใช้งบประมาณป้องกันภัยพิบัติภัยหนาวได้
นายธีรัตถ์ กล่าวอีกว่า นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.เกษตรและสหกรณ์ได้รายงานกับครม.ว่า เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ญี่ปุ่นได้ประกาศว่าไก่สดจากไทยปลอดจากเชื้อไข้หวัดนก หลังจากทีญี่ปุ่นสั่งห้ามนำเข้าไก่สดจากไทยเป็นเวลาเกือบ10 ปี เป็นข่าวดีที่ไก่สดจากไทยจะส่งออกไปญี่ปุ่นได้ ส่วนกรณีนายกฯมอบหมายให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ไปประชุมสุดยอดอาเซียนที่ญี่ปุ่นนั้น นายนิวัฒน์ธำรงได้กลับรายงานครม.ว่าที่ประชุมอาเซียนได้ชื่นชมการดำเนินการ ของรัฐบาลในช่วงวิกฤติที่ไม่ใช้กำลังรุนแรง นอกจากนี้ ยังได้ฝากข้อห่วงใยมายังนายกฯในการดำเนินการต่อไป และฝากประเทศไทยใช้การเจรจาตามกรอบประชาธิปไตย
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยช่วงเดือนต.ค.ที่ผ่านมา เกรงว่าเรื่องผลกระทบจากการชุมนุม โดยเฉพาะการเบิกจ่ายเงินของข้าราชการ แม้เงินเดือนจะเข้าตามปกติ แต่การเบิกจ่ายของภาครัฐได้ชะลอตัวลงทันทีนับตั้งแต่มีการบุกยึดสำนักงบ ประมาณและกระทรวงการคลัง ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงบประมาณระบุว่าการเบิกจ่ายชะลอลงไปบ้าง แต่เอกชนเมื่อได้สัญญากับภาครัฐก็เริ่มไปขอสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์จะทำให้ เม็ดเงินหมุนพอสมควร โดยนายกฯให้ติดตามผลกระทบจากการชุมนุมมีผลกระทบอย่างไรบ้าง ต่อเนื่องไปถึงการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร สภาพัฒน์ระบุว่าวันที่ 20 ธ.ค.นี้จะทราบตัวเลขว่าการชุมนุมจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน แต่เบื้องต้นการท่องเที่ยวชะลอตัว
- องค์กรสิทธิฯประสานเสียงร้องให้ปล่อยตัว14นักศึกษา หลังถูกขังเรือนจำ กลุ่มปชต.ใหม่แถลงสู้ต่อ
- “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” ทรงเป็นประธาน ในพิธีไหว้ครูและพระราชทานเหรียญรางวัลการศึกษาแก่นักเรียนนายร้อยประจำปีการศึกษา
- “รมว.พลังงาน” จ่อขยับภาษีแอลพีจีภาคขนส่ง
- สหรัฐพร้อมช่วยชาติในอาเซียนรับภาระผู้อพยพ
- “ททท.”ชี้คนจีนแห่เที่ยวไทย-คาดปีนี้ไม่ต่ำกว่า 6ล้านคน