มาร์คนำทีมสับรายงานรัฐบาล
“ยิ่งลักษณ์” แถลงผลงาน 1 ปี กล้าอ้างทัวร์ต่างประเทศ โชว์ ปชต. สร้างปรองดอง “โต้ง”โว หนี้หด ประชานิยมเจ๋งคนไทยได้ประโยชน์ เจอ “มาร์ค” นำทีมชำแหละ ยกตัวเลขตบหน้า …พาชาติลงเหว ล้วเหลวทุกด้าน เศรษฐกิจทรุดฮวบ หนี้ท่วม สวน ปู ไรปรองดอง ส่งลิ่วล้อระรานคนเห็นต่าง แย้มซักฟอก รัฐทุจริตแน่
วันที่ 24 ก.ย. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อรับทราบรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่ 1 (วันที่ 23 สิงหาคม 2544 ถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2555) (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ปีที่ 2 ครั้งที่ 27 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2556)
โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันแรกที่รัฐบาลนี้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ปี 2554 คงทราบดีว่าบนบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่ มีปัญหาในเรื่องของอุทกภัยครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นในปี 2554 และในช่วงจังหวะเดียวกันนั้น รัฐบาลได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแห่งนี้ในวันที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยได้ยึดหลักการบริหาร จุดมุ่งหมาย 3 ประการด้วยกัน เรื่องแรก คือการสร้างเศรษฐกิจสมดุลเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ ประการที่สอง คือการสร้างบรรยากาศความเชื่อมั่นที่จะมุ่งไปสู่สังคมของการปรองดองบนหลักของความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ประการที่สาม คือการเตรียมพร้อมการก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ส่วนความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั้นก็ยังมี ทั้งด้านของโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค ในส่วนของคมนาคม การศึกษา สาธารณสุข และสังคม ดังนั้นโจทย์จึงเป็นความท้าทายที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนนั้นได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกันและลดความเหลื่อมล้ำ
นอกจากนี้การขาดความต่อเนื่องในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ความผันเปลี่ยนความผันแปรทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการบริหารอย่างบ่อยครั้ง มีผลทำให้ความต่อเนื่องในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขาดการติดต่อ ประเทศเรายังไม่เคยมีการลงทุนครั้งใหญ่เป็นเวลา 7 ปี ทำให้ขีดพัฒนาความสามารถในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคมนาคม หรือเรื่องอื่นๆ ต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
“จากความท้าทายต่าง ๆ นั้น มาถึงในส่วนปีแรกของการบริหารงานของราชการชุดนี้ ขณะที่เข้ามาเราเผชิญกับปัญหาภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ รัฐบาลได้ประกาศตั้งศูนย์ ศปภ.ซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้าง ขณะนั้น ถ้าท่านคงจำกันได้ว่าในวันนั้น เมื่อปี 2554 รัฐบาลนี้ต้องจัดทำงบประมาณประจำปี พ.ศ.2555 วันนั้น เราไม่มีใครรู้ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าจะต้องดูแลพี่น้องประชาชนอย่างไร ทราบแต่เพียงว่ารัฐบาลต้องหางบประมาณในการจัดสรรเพื่อช่วยเหลือเยียวยาไม่วาจะเป็นเรื่องของอุทกภัยต่อชีวิต ผู้คน ทรัพย์สินในส่วนราชการ
เราจึงตัดสินใจในการขอตัดงบประมาณปกติจากทุกกระทรวงลงพื้นมาเป็นงบหนึ่งแสนสองหมื่นล้านนั้นเอง ก็จะเป็นงบประมาณที่เราใช้เพื่อการดูแลเยียวยาความเสียหายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ไร่นา ทรัพย์สินต่างๆ รวมถึงภาครัฐ ดังนั้นเงินในส่วนนี้มีเพียงประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ที่ใช้เพื่อการป้องกันอุทกภัยไว้ระดับหนึ่ง เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาในปีต่อ ๆ ไป เพื่ออย่างน้อยชะลอในส่วนของการทำสิ่งก่อสร้างที่จะป้องกันเพื่อไม่ให้น้ำไหล เข้าสู่ปลายน้ำอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจ”
นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการออกพ.ร.ก.กู้เงิน 3 .5แสนล้านบาท ที่จะแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งวันนั้นถ้าเราไม่มีการประกาศพ.ร.ก. กู้เงิน 3 . 5 แสนล้านบาทนั้น เราก็เชื่อว่าความมั่นใจของนักลงทุนจะขาดความความมั่นใจ เพราะนักลงทุนต้องการเห็นความชัดเจนของรัฐบาลว่า เราจะดูแลปกป้องโดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจหรือการลงทุน วันนั้นเราตัดสินใจเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิต และได้มีการบูรณาการการแก้ไขข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เป็นเอกภาพ มีการจัดตั้งกบอ. เพื่อที่จะทำให้เป็นศูนย์วิเคราะห์ในการสั่งการให้เป็นจุดเดียว รวมถึงการปรับปรุงบูรณาการข้อกฎหมายต่างๆ
แต่ขณะเดียวกันด้วยความที่เราก็ได้ร่วมมือร่วมใจกันก็ทำให้รัฐบาลนี้สามารถที่จะผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ถ้าดูจาก จีดีพี จะเห็นว่า ตัวเลขการเติบโตของ จีดีพี ในปี 2554 ขณะที่เกิดวิกฤตนั้นก็ถดถอยลงไปประมาณ 0.8 ถึงร้อยละ 0.9 ในขณะเดียวกันได้ก่อขึ้นมาใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ถ้าดูจากผลภาพรวมของ จีดีพี ก็จะอยู่ประมาณร้อยละ 6 กว่า ในปี 2555
“ด้วยการที่ประเทศไทยต้องฟื้นฟูวิกฤตหลังเกิดปัญหาอุทกภัย เวลาของรัฐบาลที่ควรจะต้องแก้ปัญหานั้นก็เกิดต้องแก้ปัญหาในเรื่องของอุทกภัยไป ก็หายไปแล้ว ประมาณ 5- 6 เดือนแล้ว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ก็ยังมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาในการสร้างความเชื่อมั่นและการเริ่มมีเรื่องของนโยบาย 16 ข้อที่ได้มีการแถลงไว้ต่อรัฐสภา”
สำหรับเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นนั้น รัฐบาลได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศโดยการเร่งออกนโยบายเร่งด่วนทั้งหมด 16 ข้อ เพื่อที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีความเข็มแข็ง และที่สำคัญพื้นฐานของความสงบและพื้นฐานของการแก้ปัญหาในประเทศก็เป็นพื้นฐานการเติบโตของเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้ร่วมกันในการที่จะสร้างบรรยากาศของการปรองดองและไม่ตอบโต้ รวมถึงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ทางด้านอุทกภัย ภาวะอุทกภัยและภัยทางการเมืองด้วย
ส่วนด้านต่างประเทศ รัฐบาลได้เร่งการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศอาเซียนหรือพันธมิตรต่าง ๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งเราก็ได้มีการเร่งการในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตอนนี้ในกลุ่มแรก รัฐบาลได้เร่งการสร้างความเชื่อมมั่นและสร้างความสัมพันธ์ด้วยการเยือนในกลุ่มของอาเซียนและผู้เจรจา การเยือนนี้ก็เพื่อที่จะแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ แก้ไขปัญหาในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ซึ่งวันนี้อัตราการเติบโตของการค้าระหว่างอาเซียนนั้นก็มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันในกลุ่มต่อไปก็ได้มีเยือนในกลุ่มประเทศมหาอำนาจ เพื่อที่กระชับความสัมพันธ์และรักษาฐานของเราให้คงอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นฐานสำคัญและในการหารือที่จะเพิ่มจำนวนตัวเลขของการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนให้สูงขึ้น ต้องเรียกว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิมนั้นหรือข้อขัดแย้งเหล่านั้นให้หมดไป พร้อมรักษาฐานใหญ่ๆ ของประเทศเพื่อที่จะให้คงอยู่ขณะที่เศรษฐกิจต่างๆ มีความผันผวน นอกจากนั้น เราก็เปิดฐานใหม่ อย่างเช่น กลุ่มประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งถือว่าเป็นตลาดใหม่ การที่เราจะไปเปิดตลาดใหม่นั้น แน่นอนการที่จะเข้าไปเริ่มต้นก็ต้องเริ่มต้นจากการสร้างความสัมพันธ์ เริ่มจากการให้ความช่วยเหลือ แล้วถึงจะเป็นเรื่องของการเปิดช่องทางในการที่จะมีการติดต่อระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ดังนั้น ลำดับจึงเป็นแบบนี้
นอกจากนั้น ในเรื่องของการเยือน หรือการสร้างความเชื่อมั่นก็ยังมีอีกหลาย ๆ ประเทศที่ต้องการการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของความเป็นประชาธิปไตยของ ประเทศ และกระบวนการต่าง ๆ ของประเทศว่ามีความโปร่งใส เช่น ประเทศในทวีปยุโรป ประเทศกลุ่มใหญ่ ๆ ได้มีการสร้างความเชื่อมั่นทางด้านของการเป็นประชาธิปไตย หรือแม้กระทั่งกลุ่มคณะมนตรีความมั่นคงรัฐอาหรับ จะเป็นกลุ่มที่รัฐบาลต้องสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานเพื่อเสริมสร้างจุด ยุทศาสตร์ของประเทศก็คือความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้นจึงเป็นแนวทางของรัฐบาลที่จะต้องมองในเรื่องของมิติ เช่น เรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นในประเทศ และจะทำอย่างไรที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้แข็งแรง ตลอดจนเสริมสร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศที่ต้องเริ่มจากประเทศในกลุ่ม ที่ใกล้ชิดประเทศไทยมากที่สุด และกลุ่มที่มีการค้ากับประเทศไทยมากที่สุด
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยดำเนินนโยบายแบบขาดดุลอย่างต่อเนื่องๆในช่วง 3-4ปี โดยปี 2554 ขาดดุล 4 แสนล้านบาท เมื่อรัฐบาลเข้ามาตั้งใจจะทำให้ขาดดุลลดลง แต่เพื่อต้องการจัดทำงบประมาณชดเชยเงินคงคลังที่ติดลบมาก่อนหน้าจำนวน 5 หมื่นกว่าล้านบาท ต่อมารัฐบาลก็ดำเนินการให้มีการขาดดุลลดลงในปีงบประมาณ 56 จาก4แสนล้านบาท เป็น 3 แสนล้านบาท และงบปี 57 ขาดดุลลด2.5แสนล้านบาท หากนำไปเทียบจีดีพีของประเทศ ถือว่ามีระดับน้อยกว่าร้อยละ 2 ซึ่งมีน้อยประเทศในโลกที่สามารถทำได้
สำหรับกรอบวินัยการคลังอยู่ที่ร้อยละ 60 ของจีดีพี เป็นระดับที่กำหนดก่อนรัฐบาลชุดนี้จะเข้ามา เราได้วางแผนบริการรายรับ และกู้เงินต่างๆ ก็จะสามารถควบคุมหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับไม่สูงเกินร้อยละ 50 จะมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆในหลังปี 2560 ขณะที่การชำระดอกเบี้ยและเงินต้นไม่ควรเกินร้อยละ 15 ของงบประมาณประจำปี
รองนายกฯ กล่าวว่า ช่วงที่รัฐบาลบริหารงานต่อเนื่อง อัตราจ้างงานอย่างต่อเนื่อง การว่างงานต่ำมาก และทำให้ประชาชนมีรายได้ที่ดี การส่งออกมีปัญหาทั่วโลกแต่เราส่งเสริมการท่องเที่ยว จากเดิมไม่ถึง 20ล้านคนต่อปี ขณะนี้ยอดนักท่องเที่ยวมากถึง 22 ล้านคนต่อปี ในปี 55 นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททำได้ประกาศจนเป็นผลสำเร็จ สินค้าเกษตรเราทำให้รายได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งปรับเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท
การลดรายจ่าย งดการจัดเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ราคาน้ำมันลดลง แต่น้ำมันตลาดโลกได้สูงขึ้น แต่เราก็รักษาไม่ให้ผันผวนตามน้ำมันดิบ การพักหนี้เกษตรผู้มีรายได้น้อย กำกับกูแลราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ดูแลกำหนดสินค้าควบคุม 42 รายการ และมีสินค้าการบริการอื่นๆให้รัฐบาลดูแล 225 รายการ ตรึงราคาสินค้า 7 หมวด จำนวน 140 รายการ ทำให้สินค้าสำคัญไม่เพิ่มขึ้นและลดลง การแก้ไขหนี้สาธารณะ 1.14 ล้านล้านบาท โดยใช้ พ.ร.ก.แก้แก้ภาษีเหล้า ทำให้การแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ต้องใช้งบประมาณปกติ
นายกิติรัตน์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ลดภาษีนิติบุคคล เพื่อให้ภาคธุรกิจ สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างชาติ โครงการบ้านหลังแรกและรถคันแรก ทำให้ประชาชนมีสินทรัพย์และลงทุนให้แก่คุณภาพชีวิต บัตรสินเชื้อเกษตรกร ไม่ให้ชาวบ้านไปพึ่งเงินนอกระบบ จึงถือว่าเป็นนโยบายที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ทั้งสิ้น
ต่อมานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าววิจารณ์ผลงานของรัฐบาลในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยว่า สถาบันพัฒนาการบริหารจัดการระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มดี ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้ประเมินการแข่งขันขีดความสามารถของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นอันดับโดยรวมหรือสมรรถนะทางเศรษฐกิจประสิทธิภาพของภาครัฐหรือโครงสร้างทางพื้นฐาน ไม่มีข้อไหนที่อันดับเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 56 ดีกว่า ปี 53 ตรงกันข้ามอันดับได้ตกลงทุกด้าน ตนต้องการเปรียบเทียบข้อมูลในปี 56 เพราะต้องให้ความเป็นธรรมกับรัฐบาล เนื่องจากปี 55 มีวิกฤตน้ำท่วม นอกจากนี้การที่นายกฯอ้างถึงความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเทียบอันดับกับประเทศต่าง ๆแต่จะเห็นว่าความพร้อมของไทย ทุกอันดับไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ถ้าเทียบกับทั้ง 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน แม้อันดับเศรษฐกิจมหภาคอยู่ในเกณฑ์ดี (ลำดับที่ 31) โครงสร้างพื้นฐานอยู่อันดับ 47 ที่รัฐบาลมักจะอ้างว่าจำเป็นต้องเร่งแก้ไข ต้องแก้ไขลงทุน แต่หากดูจาก 148 ประเทศ ที่มีการพูดถึงโครงสร้างสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจไทยอยู่อันดับที่ 78 ขณะที่สาธารณสุข และการศึกษาอยู่ที่อันดับ 81 ดังนั้นจุดอ่อนของไทยยังไม่ได้รับความสำคัญในการแก้ไข
การที่รัฐบาลอ้างว่าประเทศไทยขาดเรื่องการสร้างถนนและระบบราง ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 42 และ 72 แต่ ลำดับการศึกษาอยู่ที่ 78 จุด่อนของปัญหาศักยภาพการแข่งขันอยู่ในโครงสร้างการจัดการบริหารของภาครัฐทั้งสิ้น เช่นมีการใช้เงินทุนสาธารระไปในทางที่ไม่ถูกวัตถุประสงค์ ที่ไทยอยู่ในอับดับ 101 ความไว้วางใจของประชาชนต่อนักการเมือง อยู่ที่ 127 การใช้จ่ายภาครัฐที่สูญเปล่าอันดับที่ 107 และความน่าเชื่อถือการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอับดับที่ 109 ดังนั้นหากเป้าหมายของรัฐบาลต้องการเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงจะต้องมีการปรับแก้สิ่งเหล่านี้ให้ตรงจุด
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงนโยบายเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย หรือขยายโอกาส แต่กลับพบว่าการขยายตัวการส่งออกในปี 53 ที่ขยายตัวร้อยละ 28 ลดลงมาเป็นร้อยละ 17.2 3.1และ 0.6 สะท้อนให้เห็นว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยถดถอยลง และการส่งออกไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยส่วนการขยาดตัวรายได้ประชาชาติโดยรวมในปี 53 เติบโตร้อยละ 7.8 มาทรุดลงในช่วงน้ำท่วมปี 54 เหลือร้อยละ 0.1 และเพิ่มขึ้นมาในปี 55 เป็นร้อยละ 6.5 แต่ปี 56 กลับมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 4.1 ซึ่งถือว่าอยู่ในการประมาณการณ์ที่ค่อนข้างสูงเพราะหลายหน่วยงานออกมาวิเคราะห์ว่าหลังจากนี้อาจจะอยู่เพียงร้อยละ 2 และหากดูแนวโน้มเป็นรายไตรมาสจะพบว่า 2 ไตรมาสแรก เศรษฐกิจขยายตัวติดลบ ในทางเทคนิคถือว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะการถดถอย ถือเป็นตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานว่า ผลการบริหารเศรษฐกิจเป็นอย่างไร นอกจากนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมยังลดลงด้วย ทั้งที่ในข้อเท็จจริงหากเศรษฐกิจขยายตัวน้อยดุลการค้านบัญชีเดินสะพัดจะต้องดีขึ้น ก่อนหน้านี้ไทยเคยเกินดุลอยู่ร้อยละ 3.1 กลับถดถอยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 และลงมาเป็นร้อยละ 0.7 ในปีล่าสุด แสดงให้เห็นว่าจุดแข็งของเศรษฐกิจไทยที่เกินดุลมาต่อเนื่อง นับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง ขณะนี้เรากำลังเข้าสู่ภาวะที่เงินสำรอง หนี้ต่างประเทศ มีแนวโน้มที่ต้องเพิ่มขึ้น ส่วนตัวเลขหนี้สาธารณะที่มีแนวโน้มลดลงในปลายรัฐบาลที่แล้วที่คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประชาชาติ ร้อยละ 42.6 ปี 55 ลดลงมาร้อยละ 40.6 ขณะนี้กระโดดขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 44.3 ซึ่งยังไม่รวมการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท หรือ 2 ล้านๆบาทที่กำลังจะกู้เพิ่มเติม แสดงให้เห็นว่า 2 ปีแรก และต่อเนื่องมาของรัฐบาลมีความพยายามที่จะทุ่มเทเงินของภาครัฐลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจแต่จะเห็นว่า ไม่ได้ผล แต่กลับสร้างผลกระทบให้กับประชาชน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แนวคิดของรัฐบาลที่จะดำเนินการให้มีวินัยการเงินการคลัง ถือเป็นพันธะข้อผูกพันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 85 ด้วย ส่วนนโยบายเร่งด่วนข้อ 7 ที่รัฐบาลแถลงว่า จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ ต่อสภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ 2 ปีที่ผ่านมา มีแต่พูดถึงปัญหาของแพง คำมั่นสัญญาที่ปรากฏในนโยบายหาเสียงและสิ่งที่รัฐบาลควบคุมหรือตัดสินใจได้ แต่วันนี้รัฐบาลได้ซ้ำเติมประชาชนในเรื่องภาระค่าครองชีพ ราคาน้ำมัน ที่แถลงนโยบายว่า จะยกเลิกกองทุนน้ำมัน ซึ่งแปลว่าเบนซิน 95 จะต้องอยู่ที่ 39 บาท แก๊สโซฮอลล์ 91 อยู่ที่ 31 บาท แก๊สโซฮอลล์ 95 อยู่ที่ 37 บาทและดีเซลอยู่ที่ 27 บาท แต่ราคาปัจจุบันทุกตัวแพงกว่าคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน แม้รัฐบาลจะมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 27 บาท แต่มาทำหลังจากที่ได้ปล่อยให้ราคาทะลุไปเกิน 30 บาท จนทำให้ภาคการขนส่ง ขอขึ้นราคาทั้งหมด จนเป็นที่มาของต้นทุนสินค้า
แม้รัฐบาลจะกลับหลังหันราคาสินค้าก็ไม่ลดลงมา จนเป็นภาระให้กับประชาชน แม้แต่อัตราค่าไฟฟ้าหลังจากที่รัฐบาลเข้ามาบริหารงานแรกก็มีนโยบายประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยลดเหลือ 50 หน่วย ทำให้ประชาชน 4 ล้านครัวเรือนได้รับผลกระทบและล่าสุดมีการปรับค่าไฟฟ้าขึ้นหน่วยละ 7 สตางค์ ส่วนราคาแก๊สเอ็นจีวีรัฐบาลปรับขึ้น 4 ครั้ง ขยับจาก 8.50 บาท เป็น 10.50 บาทต่อกิโล แอลพีจี ปรับจาก 11.30 บาทต่อลิตร เป็น 12.80 บาท และที่สำคัญมีการปรับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.กิโลกรัมละ 50 สตางค์ หรือ 7.50 บาทต่อถัง และจะทำอย่างนี้ต่อเนื่องไปอีกทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี จะทำให้แก๊ส 1 ถัง มีราคาสูงถึง 300 บาท นอกจากนี้ยังไม่รวมถึงราคาสินค้าขายส่งที่ตลาดไทมีมีการเทียบเป็นหมวดหมู่ตั้งแต่เดือน ส.ค.54-ก.ค.56 ทุกหมวดเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 อาทิ ราคาผักเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 ผลไม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เนื้อสัตว์แพงขึ้นร้อยละ 20.9 สินค้าบางอย่างราคาเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า
“ส่วนรายได้ของประชาชนแม้รัฐบาลมีนโยบายค่าแรง 15,000 บาทในระบบราชการ แต่โครงการที่ช่วยเหลือเกษตรกร หรือแม้แต่ผู้ใช้แรงงาน ตัวเลขล่าสุดที่เป็นมหภาคบ่งบอกว่ากำลังซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้น ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยไม่ได้มาจากการส่งออก แต่มาจากปัญหาการบริโภค และต่อเนื่องไปถึงความเชื่อมั่นการลงทุนที่อยู่ในขาลงอย่างน่าตกใจ แม้จะมียุทธศาสตร์อัดเม็ดเงินลงไป ในกระเป๋าของประชาชนแต่กำลังการซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามหนี้สิ้นกลับเพิ่มขึ้นทั้งหนี้ครัวเรือน หนี้เกษตรกร ที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับหนี้สินของรัฐบาล ส่วนนโยบายภาคการเกษตรที่บอกว่าจะยกระดับราคาสินค้าให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งลงทุน แต่วันนี้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด ยังมีการชุมนุมอยู่ที่ภาคใต้ เพราะปัญหาราคายางตกต่ำ รายได้ลดไปเกือบครึ่งหนึ่งของปีที่แล้ว
นับแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามา แม้รัฐบาลจะอ้างราคาตลาดโลกกับยางพารา แต่กับเกษตรกรที่ปลูกข้าว กลับมีโครงการที่ตรงกันข้ามที่หลายใยมองว่าขัดกับมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรม โดยอาศัยกลไกตลาด ยกเว้นความจำเป็นที่ต้องรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม กรณียางหากรัฐบาลเข้าไปแทรกแซงทำให้ราคายางพาราเพิ่มขึ้นได้ส่งผลต่อสัดส่วนการผลิตในตลาดโลกถือว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือถ้ารัฐบาลจะแทรกแซงกลไกตลาดให้ราคาข้าวดีขึ้น ผมก็ไม่ปฏิเสธแต่วิธีการที่ใช้ด้วยการจำนำข้าวแต่ข้อเท็จจริงมันไม่ใช่เป็นเพียงการรับซื้อข้าวให้รัฐเป็นผู้ค้าข้าวรายใหญ่รายเดียวในประเทศ ส่งผลให้ยอดขาดทุนทั้ง 3 ฤดูกาลรวมดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้ ธกส.ประมาณ 257,000 ล้านบาท เท่ากับเอาเงินไปช่วยชาวนาเพียง 50 สตางค์ จนสร้างปัญหาให้ระบบการเงินการคลังของประเทศ จนขณะนี้นายกฯไม่กล้าพูดว่าโครงการจำนำข้าวมีวงเงินจำนวน 500,000 ล้านบาท เพราะได้ใช้เกินไปแล้ว และขาดทุนปีละ 150,000 –200,000 ล้านบาท ทำให้ยืนยันว่าสิ่งที่นายกฯพูดว่าจะสามารถทำให้งบประมาณสมดุลได้ภายในปี 2560 ไม่เป็นความจริง ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศไทยสูญเสียการส่งออกข้าวอันดับหนึ่งในตลาดโลก ในปีนี้ตกอยู่อันดับ 3 ส่งออกแค่ 7 ล้านตัน ที่ยังไม่รวมถึงปัญหาคุณภาพข้าว ที่ทั้งหมดนี้กำลังทำลายตลาดและอนาคตของข้าวไทย และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฟื้นฟูขึ้นมาเหมือนเดิม ถือว่าไม่เป็นไปตามโจทย์ที่รัฐบาลวางไว้เรื่องความสมดุลหรือความเข้มแข็งในการบริหารเศรษฐกิจ ดังนั้นรัฐบาลต้องทบทวนวิธีคิดเศรษฐกิจใหม่ นโยบายประชานิยมไม่ได้เพิ่มความเข้มแข็งต่อเศรษฐกิจ ตรงกันข้ามกลับกำลังสร้างความเสี่ยงในเรื่องของวินัยการเงินการคลัง การสะสมหนี้ต่อครัวเรือนและประเทศ รัฐบาลรายงานว่าเศรษฐกิจพอเพียงมีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ตนขอถามว่ากลุ่มเป้าหมายนี้รวมถึงรัฐบาลด้วยหรือไม่ ที่บริหารประเทศด้วยความคิดว่าให้คนเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ทำนโยบายประชานิยมแบบฝืนตลาด สร้างอำนาจซื้อเทียม เช่นกรณีรถคันแรก จนนำเศรษฐกิจมาสู่จุดนี้ รัฐบาลต้องทบทวนว่าจะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจเข้มแข็งด้วยการก้าวข้ามนโยบายประชานิยม และนำไปสู่การวางรากฐานที่มีความจำเป็นอย่างแท้จริง
ส่วนที่นายกฯพูดถึงการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่กลับพบว่ามีการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาในกลุ่มอาเซียน ไทยอยู่ในอันดับ8 มีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีหลายครั้ง มีการพูดถึงนโยบายใหม่ๆ เมื่อจะนำพาประเทศเป็นหนี้50 ปี ตนแปลกใจว่าทำไมไม่มีแม้แต่บาทเดียวมาลงทุนในเรื่องการศึกษา
ส่วนการบริหารราชการแผ่นดินและการเมือง ภาระผูกพันรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 78 บอกว่าต้องบริหารราชการแผ่นดินตามหลักนิติธรรม และมาตรา 82 รัฐบาลต้องปฏิบัติต่อกันเสมอภาค และต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน แต่ในรายงานมีพูดถึงเรื่องปรองดองแต่ไม่มีการดำเนินตามที่แถลงไว้ ในเรื่องการสนับสนุนในการนำรายงานคอป.มาใช้ และที่สำคัญสิ่งที่พยายามผลักดันตลอดเวลาโดยคนของรัฐบาลคือกฎหมายนิรโทษกรรม ต้องคำนึงถึงข้อท้วงติงของสหประชาชาติเรื่องพันธะผูกพันในส่วนสิทธิ์มนุษยชน และความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นไปตามพันธะของรัฐธรรมนูญเรื่องการปฏิบัติเสมอภาคกัน หากยังมีการเลือกปฏิบัติ ทั้งการพัฒนา และเรื่องเสรีภาพทางการเมืองความปรองดองก็เกิดขึ้นไม่ได้ นโยบายที่แถลงว่าสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ฟื้นฟูประชาธิปไตย ถ้านายกฯยังปล่อยให้รองนายกฯไปพูดว่าจะไม่พัฒนาให้บางจังหวัดหากยังไม่เลือกคนของตนเอง หรือยังมีคนไปก่อกวนองค์กรต่างๆหรือฝ่ายเห็นตรงข้าม ก็ปรองดอง สามัคคียาก
ส่วนนโยบายข้อ5 เร่งนำสันติสุขมาสู่ภาคใต้ โดยเขียนว่ามีการประสานงานบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านมา2 ปีแล้ว ตกลงโครงสร้างจะเอาอย่างไร มีกฎหมายศอ.บต.แล้วกลับไปตั้งโครงสร้างให้มันซับซ้อนกันไปมา ปล่อยให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ รัฐมนตรี พูดไปคนละทิศทางนั้นไม่เป็นผลดี จะเห็นว่า6 เดือนแรกของปี 56 ความถี่ของความไม่สงบมีแนวโน้มสูงมาก ถึงเวลาที่ต้องทบทวน ถ้ายังเดินต่อไปในแนวทางนี้ ก็ยังมองไม่เห็นว่าจะสามารถนำความสงบสันติสุขกลับมาได้อย่างไร
ส่วนการกระจายอำนาจ สัดส่วนงบประมาณของท้องถิ่นต่อรายได้รัฐบาลขยับขึ้นน้อยมากในภาวะที่ควรขยับขึ้นได้มากกว่านี้ การฝากเอานโยบายของรัฐบาลเข้าไปอยู่ในหน่วยงานของท้องถิ่น แต่ไม่ปฏิบัติตามสัญญากับกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือจัดงบให้ร้อยละ 20 ภาพรวมทั้งหมดในรายงานของรัฐบาล สะท้อนว่าหลังจากปีแรกที่กำหนดทิศทางการบริหารในด้านต่างๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น บ่งชี้ว่าต้องกลับไปทบทวน เพราะตัวเลขต่างๆมันฟ้องว่าไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนเรื่องนโยบายการปราบปรามทุจริตประพฤติมิชอบตนจะขอไปสงวนสิทธิ์พูดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- องค์กรสิทธิฯประสานเสียงร้องให้ปล่อยตัว14นักศึกษา หลังถูกขังเรือนจำ กลุ่มปชต.ใหม่แถลงสู้ต่อ
- “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” ทรงเป็นประธาน ในพิธีไหว้ครูและพระราชทานเหรียญรางวัลการศึกษาแก่นักเรียนนายร้อยประจำปีการศึกษา
- “รมว.พลังงาน” จ่อขยับภาษีแอลพีจีภาคขนส่ง
- สหรัฐพร้อมช่วยชาติในอาเซียนรับภาระผู้อพยพ
- “ททท.”ชี้คนจีนแห่เที่ยวไทย-คาดปีนี้ไม่ต่ำกว่า 6ล้านคน