รั้งท้ายอีก!'มศว'ชี้การอ่านเด็กไทยวิกฤติ
รั้งท้ายอีก!'มศว'ชี้การอ่านเด็กไทยวิกฤติ
'มศว'ชี้การอ่านเด็กไทยวิกฤติ ส่งผลการจัดอันดับ WEF รั้งท้ายเพื่อนบ้านอาเซียน ปิ๊ง!จัดค่ายครั้งแรกในประเทศ 'วินิจฉัยการอ่าน เหตุใดอ่านไม่ออก อ่านไม่10ก.ย.2556 ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธิ์วงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า จากผลการจัดอันดับของ "World Economic Forum-WEF" ในรายงาน "The Global Competitiveness Report 2013-2014" ต่อระบบการศึกษาไทย ชี้ว่าการศึกษาไทยนับตั้งแต่ระดับประถม มัธยม ถึงมหาวิทยาลัย มีคุณภาพต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซี ย บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว นั้น ต้องบอกว่าเป็นเรื่องจริง
ผลจากการจัดอันดับ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการศึกษา รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) โรงเรียน ครอบครัว ต้องยอมรับว่าคือเรื่องจริง เราเน้นและให้ความสำคัญด้านวัตถุมาก จนละเลยการอ่านเราไม่เน้นการอ่านให้เด็ก รากของปัญหาและผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของเด็กจะสัมพันธ์กับการอ่าน ข้อมูลและงานวิจัยของไทยทำกันเยอะมากก็ระบุว่า เด็กไทยมีปัญหาด้านการอ่าน อ่านหนังสือไม่ออก อ่านติดๆ ขัดๆ เด็กป.3 ส่วนใหญ่ของประเทศไทยอ่านหนังสือพิมพ์ยังคล่อง เมื่อมีปัญหาด้านการอ่านมันก็โยงไปถึงเรื่องการเขียน การวิเคราะห์ การจับใจความ การวิพากษ์ การแสดงความคิดเห็น เด็กไทยมีปัญหามาก จึงส่งผลถึงการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เมื่อมีการจัดอันดับเราจึงรั้งท้ายประเทศในกลุ่มอาเซียนอย่างไม่ต้องสงสัย
“ประเทศไทยล้มเหลวอย่างมากในการจัดการเรียนการสอนและสนับสนับให้เด็กได้อ่านอย่างเป็นระบบ ประเทศที่การศึกษาเจริญเขาให้ความสำคัญในเรื่องการอ่านเป็นฐานหลักและเอาจริงเอาจัง เริ่มตั้งแต่อบรมพ่อแม่ เมื่อแม่ตั้งครรภ์ พ่อและแม่ต้องเข้าอบรมและต้องเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ เด็กจะคุ้นเคยกับเสียงการอ่าน เมื่อเด็กคลอดออกมาพ่อแม่ก็ต้องอ่านให้ลูกฟังต่อ ซึ่งไม่ว่าพ่อแม่จะอยู่ในฐานะใด ยากจน ปานกลาง ร่ำรวย เขาก็ให้ความสำคัญกับการอ่าน เริ่มจากอ่านให้ลูกฟัง การให้เด็กได้สัมผัสกับหนังสือตั้งแต่อยู่ในท้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ และต้องปลูกฝัง เมื่อเข้าโรงเรียน หากพบว่าเด็กยังอ่านหนังสือไม่ได้ เขียนไม่ได้ ครูในโรงเรียนต้องมาวินิจฉัยการอ่านของเด็ก
ประเทศไทยยังไม่มีการทำวินิจฉัยการอ่านของเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญจะทำให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดจากการอ่านนั้นมีหลายอย่าง ในกรณีที่พ่อแม่ อ่านหนังสือให้ฟังก่อนนอนทุกคืน ทำไมถึงยังอ่านไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้อ่านหนังสือให้ฟัง พ่อแม่ไม่สนใจ เด็กต่างสัญชาติ ต่างวัฒนธรรมอย่างกลุ่มแรงงาน เด็กที่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาล่าช้า เด็กที่มีสมองบกพร่อง เด็กที่มีปัญหาด้านจิตวิทยา ขาดแรงจูงใจรู้สึกล้มเหลว เด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งทุกกลุ่มที่พูดถึงจะมีปัญหาด้านการอ่านที่ต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านและนักการศึกษาพิเศษจึงต้องทำการวิเคราะห์ กรองเด็กแต่ละกลุ่มและหาสาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเกิดปัญหาการอ่าน เพราะการอ่านเป็นด่านแรกในการศึกษาหาความรู้ในระดับที่สูงขึ้น”ผศ.ดร.อุษณีย์ กล่าวและว่า
สถาบันและพัฒนาการศึกษาพิเศษ จึงได้จัดค่ายปลดล็อค...วัย KIDs พิชิตการอ่าน ให้เด็กที่มีอายุ 7 – 9 ปี โดยในค่ายจะมีการจัดกิจกรรมวินิจฉัยการอ่าน ขึ้นในวันที่ 8 – 12 ต.ค.2556 สำหรับเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อ่านไม่คล่อง หรืออ่านแล้วไม่เข้าใจ ในค่ายนี้มีคำตอบให้กับทุกคนและถือเป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่มีการวินิจฉัยการอ่านให้เด็กไทย ในช่วงแรกจะดำเนินการวินิจฉัยให้เด็กในช่วงวัย 7-9 ปีก่อน หลังจากนั้นจะขยายผลต่อไป