เมื่อ'ทุนไทย'ขยับ'อาเซียน'สะเทือน
เมื่อ'ทุนไทย'ขยับ'อาเซียน'สะเทือน
เมื่อ 'ทุนไทย' ขยับ 'อาเซียน' สะเทือน : อนัญชนา สาระคู ... รายงาน
การขับเคลื่อนของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ของไทยเห็นภาพชัดเจนขึ้น ภายใต้สภาวะตลาดการค้า การลงทุนที่กำลังเปิดกว้าง หลัง “อาเซียน” จะรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเป็นทางการในปี 2558 ความถี่ของการขยับขยายเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจมีบ่อยครั้งขึ้น ผ่านกลยุทธ์การลงทุนหลากหลายรูปแบบ ทั้งการลงทุนทางตรง และการเข้าซื้อกิจการ (เทคโอเวอร์) เพื่อเติบโตแบบก้าวกระโดด
เฉพาะในปีนี้ ซึ่งผ่านมาเพียง 4 เดือน มีดีลเทคโอเวอร์ใหญ่ๆ ที่สร้างความฮือฮาในแวดวงธุรกิจของไทย 2-3 ดีลติดๆ กัน ประเดิมที่ การจบด้วยชัยชนะของกลุ่มทุนจากเครือไทยเบฟ หรือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี หรือ “เจ้าสัวเจริญ” ที่สามารถเข้าไปผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (เอฟ แอนด์ เอ็น) ในสิงคโปร์ หลังจากบิดราคาแข่งเพื่อเสนอซื้อหุ้นดังกล่าวอยู่หลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่เมื่อปี 2555 จนประสบความสำเร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
มีตัวเลขการใช้เม็ดเงินเพื่อเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ปรากฏออกมามากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคราวๆ คิดเป็นเงินกว่า 3 แสนล้านบาท
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ หรือ “เจ้าสัวธนินท์” ประกาศการเข้าซื้อหุ้นใน PING AN INSURANCE บริษัทประกันภัยซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน เป็นการซื้อหุ้นโดยบริษัทย่อยของเครือซีพี 4 บริษัท จากบริษัทในเครือฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ แบงก์ ด้วยวงเงินราว 2.82 แสนล้านบาท
ล่าสุดเมื่อหลังสงกรานต์ที่ผ่านมา เป็นดีลเทคโอเวอร์ใหญ่อีกครั้ง โดยบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น ขุมข่ายหลักด้านค้าปลีกของเครือซีพีอีกเช่นกัน โดยได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) จากผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็น.วี. โดยซื้อ?ัวเลขการใช้เม็ดเงินเพื่อเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ปรากฏออกมามากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคราวๆ คิดเป็นเงินกว่า 3 แสนล้านบาท
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ หรือ “เจ้าสัวธนินท์” ประกาศการเข้าซื้อหุ้นใน PING AN INSURANCE บริษัทประกันภัยซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน เป็นการซื้อหุ้นโดยบริษัทย่อยของเครือซีพี 4 บริษัท จากบริษัทในเครือฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ แบงก์ ด้วยวงเงินราว 2.82 แสนล้านบาท
ล่าสุดเมื่อหลังสงกรานต์ที่ผ่านมา เป็นดีลเทคโอเวอร์ใหญ่อีกครั้ง โดยบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น ขุมข่ายหลักด้านค้าปลีกของเครือซีพีอีกเช่นกัน โดยได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) จากผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็น.วี. โดยซื้อหุ้นที่เอสเอชวีถืออยู่ทั้งหมดในแม็คโครทั้งทางตรงและทางอ้อม สัดส่วนรวม 64.35% เมื่อรวมกับที่ซีพีออลล์ที่จะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) ของแม็คโครแล้ว จะเป็นวงเงินซื้อขายสูงถึงกว่า 1.88 แสนล้านบาททีเดียว
ส่ง”แม็คโคร”ทัพหน้าสู่เออีซี
“บิ๊ก ดีล” ครั้งหลังสุดนี้ ได้สร้างความคึกคักในแวดวงธุรกิจค้าปลีกค้าส่งไม่น้อย หลังจากเมื่อปลายปี 2553 บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำอันดับ 2 ในตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ตของไทย ประกาศเข้าซื้อกิจการคาร์ฟูร์ ในประเทศไทย ด้วยมูลค่า 35,500 ล้านบาท
โดย “ซีพี ออลล์” เป็นบริษัทหลักธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่ายของเครือซีพี ล่าสุดมีชื่อติดอยู่ใน 2,000 บริษัทมหาชนที่มีขนาดใหญ่สุดในโลก ซึ่งจัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บส์อีกด้วย ขณะที่ “แม็คโคร” เป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเองใน ปัจจุบันมี 58 สาขาในไทย และยังได้ขยายธุรกิจฟู้ดเซอร์วิส เน้นจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด แช่แข็งและอาหารแห้ง วัตถุดิบ และเครื่องปรุง เจาะกลุ่มผู้ประกอบการอาหาร ธุรกิจใหม่ดังกล่าวปัจจุบันมี 2 สาขาในไทย และอีก 1 สาขาในเวียดนาม
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจของ “ดีลใหญ่” นี้ คือ ที่มาที่ไป ซึ่งเกิดจาก “สัญญาใจ” ระหว่างกันล้วนๆ โดย “ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริษัท บมจ.ซีพี ออลล์ ที่บินตรงจากฮ่องกงหลังลงนามในสัญญาซื้อขายกับตัวแทนกลุ่มบริษัท เอสเอชวี เพื่อมาแถลงข่าวด่วนเมื่อวันที่ 23 เมษายน ที่ผ่านมา เล่าว่า ท่านประธานธนินท์ และประธานคนเก่าของเอสเอชวี เป็นเพื่อนกันมานานกว่า 20 ปี และเคยคุยกันไว้ว่า “หากจะต้องขายก็ต้องชวนซีพีก่อน”
โดยเครือซีพีเองที่เป็นผู้ชักชวนกลุ่มเอสเอชวี สัญชาติเนเธอร์แลนด์ให้เข้ามาเปิดธุรกิจแม็คโครในไทยเมื่อ 25 ปีก่อน และในปีเดียวกันนั้น กลุ่มซีพี ยังได้เปิดบริการร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น
ดีลที่เกิดจากสัญญาใจ จึงจบลงอย่างสวยงามในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจากการบอกกล่าวของผู้บริหารเซเว่นฯ บอกว่า ใช้เวลาเพียง 10 วันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีข่าวรั่วไหลผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ไปบ้างแล้วเมื่อต้นเดือนเมษายน และทางเอสเอชวีได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว ส่วนราคาที่ตกลงซื้อขายกันที่หุ้นละ 787 บาท สูงกว่าราคาตลาด ก็ว่ากันว่า “แพง” แม้จะเทียบกับผลการดำเนินงานของแม็คโครที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในมุมมองของ “เจ้าสัวธนินท์” ออกมาการันตีด้วยตัวเองว่า “ของแพงในวันนี้จะเป็นของถูกในวันหน้า”
สะท้อนถึง “แพง” ก็เหมือน “ไม่แพง” เพราะอาจแพงในวันนี้แต่จะคุ้มค่าในอนาคต ชี้ชัดว่าเครือซีพีเห็นศักยภาพของแม็คโคร ที่มีผลกำไรที่เติบโตต่อเนื่อง มีลูกค้าที่หลากหลายตั้งแต่กลุ่มแม่ค้า ร้านโชห่วย ไปจนถึงระดับร้านอาหาร และภัตตาคาร ตลอดจนศักยภาพในด้านการขยายการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม “เออีซี” ขณะที่ เซเว่นฯ มีข้อจำกัด สามารถขยายสาขาได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
โดย “ก่อศักดิ์” กล่าวไว้ชัดเจนว่า ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่น ในฐานะผู้นำในธุรกิจค้าปลีกคนไทย เห็นโอกาสดีของผู้ผลิตสินค้าไทยที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายในตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 600 ล้านคน แต่เซเว่นฯ ยังขาดช่องทางจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น สยามแม็คโคร จึงจะเป็นทัพหน้าในการกระจายสินค้าสู่ตลาดเออีซีและประเทศจีน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า ที่ต้องการสินค้าไทยสูง และคาดว่าจะเริ่มเปิดตลาดที่เวียดนามและลาวได้ก่อน
เบื้องต้นแม็คโครจะเป็นช่องทางกระจายสินค้าจากไทยทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบเกษตร อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็งไปทั่วภูมิภาคอาเซียน
ไทยเบฟก้าวกระโดดสู่อาเซียน
มาที่ดีลของกลุ่มไทยเบฟ หลังจากลุ้นกันอยู่นานตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จนสรุปผลสำเร็จได้ด้วยวงเงินมหาศาลกว่า 3 แสนล้านบาท นับเป็นการซื้อกิจการครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ภาคธุรกิจของสิงคโปร์ จนปัจจุบันกลุ่มไทยเบฟถือหุ้นในเอฟแอนด์เอ็น ด้วยสัดส่วน 90% และยังได้ปรับโครงสร้างทีมบริหารไปแล้วเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
โดยเอฟแอนด์เอ็น มีธุรกิจในมือทั้งที่เป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม มีอายุเก่าแก่กว่า 130 ปี ทำให้วงการค้าปลีกมองกันว่า ไทยเบฟ จะใช้เอฟแอนด์เอ็นเป็นใบเบิกทางสู่ “เออีซี” เช่นกัน
และการคาดการณ์ดังกล่าวหนักแน่นมากขึ้น จากการให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุดของ “วิเชฐ ตันติวานิช” ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ที่ระบุว่า "เอฟแอนด์เอ็น" เป็นแบรนด์ที่แข็งแรงในระดับอาเซียนและเอเชีย การจะขยายตลาดสินค้าของกลุ่มไทยเบฟ เข้าไปในหลายๆ ตลาดของภูมิภาคนี้ การได้อาเซียนแบรนด์อย่างเอฟแอนด์เอ็น มาเสริมทัพ จะทำให้การขยายทำได้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ธุรกิจหลังของไทยเบฟ ปัจจุบันยังคงมาจากสินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กว่า 90% ซึ่งเป้าหมายที่จะปรับพอร์ตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนอนแอลกอฮอล์ให้มาเป็น 70 ต่อ 30 ภายใน 3 ปีนั้น การได้ธุรกิจเอฟแอนด์เอ็นเข้ามาก็จะทำให้แผนดังกล่าวทำได้เร็วขึ้น
ทุนไทยเร่งขยายเครือข่าย
นอกจากนั้น ยังได้เห็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของไทยอีกหลายกลุ่มที่เริ่มขยับตัว ทั้งการปรับโครงสร้างองค์กร และการเตรียมเงินลงทุน พร้อมเปิดแผนการลงทุนครั้งใหญ่ เพื่อรองรับกับการเปิด “เออีซี” ที่อาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะรวมตัวกันเป็นหนึ่ง เป็นฐานการผลิตเดียวกัน ตลาดเดียวกัน อย่างเป็นทางการในปี 2558 ทำให้น่าจะได้เห็นการลงทุนขนาดใหญ่ๆ ภายใน 2-3 ปีนี้ ต่อเนื่องอีกหลายดีลทีเดียว
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มเอสซีจี ปรับโครงสร้างการบริหารงานภายใน โดยรวม 3 ธุรกิจ ได้แก่ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและจัดจำหน่ายเข้าด้วยกัน ซึ่ง “กานต์ ตระกูลฮุน” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้ชัดว่า การปรับโครงสร้างครั้งนี้ถือเป็นกลยุทธ์เชิงรุกในการขยายธุรกิจในอาเซียน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุน ทั้งยังบอกอีกว่า การเข้าซื้อกิจการยังเป็นเป้าหมายสำคัญของทางกลุ่มเพื่อการขยายการเติบโตของธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต
ก่อนหน้านี้ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้ประกาศทิศทางธุรกิจและการลงทุนประจำปี 2556 ภายใต้หัวข้อ “เออีซี ชาเลนจ์” นำทีมโดย “สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์” ประธานกรรมการบริหาร โดยแถลงต่อสื่อมวลชนว่า เซ็นทรัลกรุ๊ปมีเป้าหมายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจีนแล้ว จะมุ่งขยายตลาดอาเซียน ทั้งการลงทุนเอง ร่วมทุนกับพันธมิตรธุรกิจท้องถิ่น การเข้าซื้อกิจการและควบรวมกิจการ โดยได้เตรียมความพร้อมด้านยุทธศาสตร์และแผนธุรกิจต่อการบุกตลาดอาเซียนอย่างจริงจังนับจากนี้
ทั้งจะใช้ความได้เปรียบของความเป็นองค์กรธุรกิจที่แข็งแกร่งและมีเชื่อเสียงของ “เซ็นทรัล” ในการสรรหาพันธมิตรธุรกิจที่ดี
ล่าสุด “กอบชัย จิราธิวัฒน์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ยังให้สัมภาษณ์ว่า แผนในระยะ 5 ปีนี้ จะเปิดบริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลในอาเซียน 2-3 แห่งเป็นอย่างน้อย โดยมุ่งเจาะตลาดประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นหลัก แต่ละแห่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 4-5 พันล้านบาท และยังคาดว่าจะสรุปภายในปีนี้ได้ 1 โครงการ
แนะเอสเอ็มอีจับกลุ่มรุกเออีซี
อย่างไรก็ตาม การรุกเข้าไปในอาเซียนดูจะมีแค่กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ของไทยเท่านั้น ขณะที่กลุ่มธุรกิจและกลาง และย่อมยังเห็นน้อยมาก
โดย “อัทธ พิศาลวนิช” ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า มีเพียงกลุ่มทุนรายใหญ่ในภาคการผลิต ก่อสร้าง ค้าปลีก ค้าส่ง เท่านั้นที่รุกออกไปสู่อาเซียน แต่ยังไม่เห็นธุรกิจเอสเอ็มอีที่จะใช้โอกาสของการเปิดตลาดเสรีได้อย่างเต็มที่นัก จึงเสนอว่า หากเป็นไปได้ กลุ่มทุนขนาดใหญ่ต่างๆ น่าจะนำซัพพลายเชนของตนเองออกไปเปิดตลาดในเออีซีด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้มองว่า ธุรกิจขนาดกลางที่มีแบรนด์ติดตลาดในระดับประเทศ และเป็นที่รู้จักในตลาดประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว เช่นกลุ่มน้ำผลไม้ น้ำกะทิ สามารถออกไปขยายการลงทุนได้ เพราะมีแบรนด์เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก การจะเข้าไปยังตลาดเออีซีอาจจะยาก เพราะแบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงแนะนำว่าต้องขยับแบรนด์ของตนเองให้ขึ้นจากระดับท้องถิ่นมาสู่ระดับภูมิภาค และระดับประเทศให้ได้เสียก่อน หรืออีกทางออกหนึ่งคือ เอสเอ็มอี สามารถรวมตัวกันไปลงทุนเช่าพื้นที่เป็นศูนย์การค้าสินค้าไทยโดยเฉพาะได้
--------------------
(เมื่อ 'ทุนไทย' ขยับ 'อาเซียน' สะเทือน : อนัญชนา สาระคู ... รายงาน)