แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทั่วอาเซียนรวมตัวจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่อ อาเซียน (ASEAN Non-Communicable Diseases (NCD) Network)
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทั่วอาเซียนรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่อ (ASEAN Non-Communicable Diseases (NCD) Network) พร้อมจัดทำ White paper เกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อทั่วภูมิภาค
กลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียนเป็นการรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการของนักวิชาการและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพื่อทำงานร่วมกันในการระดมความคิด แนวทางการรักษาและแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการจัดทำบทความ White paper เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการโรคไม่ติดต่อที่จะรวบรวมกรณีตัวอย่างของนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อของในประเทศอินโดนีเซีย, เวียดนาม, ไทย, พม่า, ฟิลิปปินส์, มาเลเซียและสิงค์โปร์ ซึ่งบทความ White paper นี้จะเป็นงานชิ้นแรกที่กลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียนร่วมกันจัดทำโดยมีฟิลิปส์เป็นผู้สนับสนุนในการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียนและการจัดทำ White paper นี้
การจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียน (ASEAN NCD Network) ยังเพื่อเป็นการฉลองวันอนามัยโลกซึ่งตรงกับวันที่ 7 เมษายน โดยหัวข้อของการสัมมนาในวันอนามัยโลกนี้เน้นในหัวข้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโรคความดันโลหิตสูง
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ระบุว่า โรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่คร่าชีวิตประชากรโลกมากที่สุดโดยมีจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อกว่า 36 ล้านคนในปีพ.ศ. 2551 หรือกล่าวคือ 2 ใน 3 ของการเสียชีวิตของประชากรโลกนั้นเกิดขึ้นจากการป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็ประสบปัญหาจากโรคไม่ติดต่อโดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวราว 2.5 ล้านคนต่อปีหรือคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์จากการเสียชีวิตของคนในภูมิภาค การเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อส่งผลให้จำนวนการตายของประชากรในแต่ละปีมีแน้วโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
"โรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาที่กำลังลุกลามและสร้างความกังวลให้กับประชากรของประเทศเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ บทสรุปจากงานสัมมนา ASEAN Healthcare Consultation 2012 ของในแต่ละประเทศเห็นพ้องกันว่าโรคไม่ติดต่อเป็นโรคไม่ควรละเลย การก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียนก็เป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของการการปัญหาโรคไม่ติดต่อของในแต่ละประเทศ” มร. วินเซ็นต์ ชาน, ผู้จัดการทั่วไป ฟิลิปส์ เฮลธ์แคร์ อาเซียน กล่าว ไอเดียและโซลูชั่นส์ ของแต่ละประเทศอาจถูกนำไปพัฒนาเพื่อเป็นนโยบายและแนวทางปฏิบัติระดับประเทศในการแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อ
ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อราว 71 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในประเทศจนทำให้โรคไม่ติดต่อมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "โรคแห่งศตวรรษที่ 21” และโรคไม่ติดต่อที่คร่าชีวิตคนไทยมากกว่าโรคอื่นๆถึง 3 เท่าคือโรคหลอดเลือดและหัวใจ เครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียนมีเป้าหมายหลักที่จะช่วยป้องกันและดูแลปัญหาและสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อที่พบมาก 4 โรคด้วยกันคือ โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคโรคระบบหายใจผิดปกติเรื้อรัง
กลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียนเกิดขึ้นจากการสัมมนา ASEAN Healthcare Consultation 2012 ที่จัดขึ้นไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 โดยการสัมมนาในครั้งนั้นได้มีการอภิปรายและหาโซลูชั่นส์ในการป้องกันและรักษาโรคไม่ติดต่อโดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย กลุ่มผู้ป่วย นักวิชาการและหน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพใน 7 ประเทศทั่วภูมิภาคอาเซียนมาอภิปราย กลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียน จัดตั้งขึ้นในความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันทดสอบ ค้นคว้า วิจัยและแบ่งปันความรู้ของในแต่ละประเทศที่มีเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเพื่อแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ
ฟิลิปส์ได้จัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียนสามารถทำงานร่วมกันข้ามประเทศ ในอนาคตเชื่อว่าแพลตฟอร์มนี้จะเป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล กรณีศึกษาและงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อที่เป็นประโยชน์ เนื่องจากปัญหาโรคไม่ติดต่อของแต่ละประเทศมีความใกล้เคียงกันและสามารถนำมาปรับใช้เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อของในประเทศแต่ละประเทศได้
การก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียนและการจัดทำ White paper เกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อทั่วภูมิภาคได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว
นายแพทย์เจเรมี่ ลิม จะเป็นแกนนำหลักในการเขียน White paper เกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อควบคู่ไปกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค
นายแพทย์เจเรมี่ กล่าวว่า "ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนต่างประสบกับปัญหาการจัดการโรคไม่ติดต่อ ซึ่งแต่ละประเทศก็มีวิธีการแกปัญหาที่แตกต่างกันออกไป White paper จะช่วยรวบรวมความรู้และแนวทางในการแก้ปัญหาของแต่ละประเทศเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อที่ดีที่สุด เพื่อนำมาเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปปรับใช้ ทุกประเทศต้องทำงานและเรียนรู้ไปด้วยกัน”
ที่มา : กลุ่มเครือข่ายป้องกันโรคไม่ติดต่ออาเซียน
http://www.ncdnetwork.asia/
เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aseanthai.net ดูทั้งหมด
1144
views
Credit : aseanthai.net
News