'มรภ.เพชรบุรี'ก้าวสู่อาเซียน!

'มรภ.เพชรบุรี'ก้าวสู่อาเซียน!

เปิดวิสัยทัศน์ : มรภ.เพชรบุรี ก้าวสู่อาเซียน พัฒนาบุคลากร เชื่อมสัมพันธ์ : โดย...ชุลีพร อร่ามเนตร

 

                            เหลืออีก 1 ปีเศษๆ ที่ไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ สถาบันอุดมศึกษา ทั้งรัฐ เอกชน ราชมงคล ราชภัฏ ต่างเตรียมความพร้อมให้แก่อาจารย์ นักศึกษา ภายใต้การสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ ศึกษาดูงานในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นสถาบันหนึ่งที่เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนานักศึกษา บุคลากรรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ภายใต้แกนนำอย่าง ผศ.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดี ที่ได้จัดทำแผนยกระดับคุณภาพมาตรฐานของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับของมหาวิทยาลัยทั่วโลก

                            ผศ.พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มรภ.เพชรบุรี เล่าว่า การเตรียมความพร้อมนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะสำเร็จได้นั้น ต้องมีผู้นำอย่างอธิการบดี คณบดี ในแต่ละคณะที่ได้ให้ความสำคัญ ซึ่งผู้บริหารของ มรภ.เพชรบุรี ได้มอบหมายให้ตนพัฒนาฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ โดยเพิ่มเติมในส่วนงานของต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานทั้งภายในและภายนอก เตรียมพร้อมแต่ละคณะ แต่ละหน่วยงานของมหาวิทยาลัยให้มีศักยภาพ พร้อมจับมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอาเซียน

                            ผศ.พิมพ์ระวี ได้พัฒนาฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ดึงคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่เข้ามาทำงานจากกลุ่มคณะกรรมการอาเซียนที่มหาวิทยาลัยได้มีการจัดตั้งขึ้น ขอความร่วมมืออาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัย โดยเลือกเจ้าหน้าที่เก่งภาษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาในประเทศอาเซียนนั้นๆ แบ่งแยกรับผิดชอบตามประเทศ ภาษาที่ตนเองถนัด แต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีจุดแข็ง จุดอ่อนที่แตกต่างกันไป เช่น ฟิลิปปินส์ มีจุดแข็งด้านการเกษตร ต้องให้คณะกรรมการที่ทำงานประเทศฟิลิปปินส์ ประสานความร่วมมือกับคณะเกษตรของมหาวิทยาลัย, อินโดนีเซีย มีจุดแข็งด้านเศรษฐศาสตร์ ก็ให้คณะทำงานประสานไปยังคณะเศรษฐศาสตร์ หรือคณะที่สามารถบูรณาการร่วมกัน

                            ปัจจุบัน มรภ.เพชรบุรี ได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอาเซียน 20 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย The Regional Centre for Vocational and Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO VOCTECH) ประเทศบรูไน Universiti Kebangsaan Malaysia ประเทศมาเลเซีย Hanoi National University of Education The Regional Centre for Vocational and Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO VOCTECH) บรูไน Universiti Kebangsaan Malaysia มาเลเซีย Hanoi National University of Education เวียดนาม Luang Prabang Teacher Training College ลาว Gunadarma University อินโดนีเซีย หรือ National United University ไต้หวัน และ Guangxi University for Nationalities ประเทศจีน เป็นต้น”

                            ปี 2553 ได้พัฒนาบุคลากรภายในองค์กร ปี 2554 สร้างคณะกรรมการกลุ่มอาเซียนบวก สร้างความเข้าใจให้แก่อาจารย์ก่อน ปี 2555-2556 ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วม เช่น การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาและอาจารย์ เรียนภาษาประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ที่มีเจ้าของภาษาเป็นผู้สอน จัดกิจกรรมศึกษาดูงานในประเทศอาเซียน และจัดทำงานวิจัยร่วมกับประเทศอาเซียน หาแนวทางสร้างหลักสูตรร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 

                            “มหาวิทยาลัยต้องเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างโอกาสให้แก่นักศึกษา โดยการสานสัมพันธ์อันดี แลกเปลี่ยน เปิดโอกาสให้นักศึกษาและบุคลากรได้เห็นประเทศต่างๆ ในอาเซียน ให้พร้อมก้าวเข้าสู่โลกของการแข่งขัน ช่วงระยะปี 2554-2557 มรภ.เพชรบุรี ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ พัฒนาบุคลากรได้สนับสนุนให้คณาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการและไปศึกษาต่อ ด้านสื่อโสตทัศนูปกรณ์ได้พัฒนาห้องเรียนให้มีความพร้อมทันสมัย และสนับสนุนทางวิชาการในด้านศูนย์ภาษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนงานวิชาการให้มีคุณภาพและมาตรฐานรวมถึงการปรับปรุงด้านภูมิทัศน์รองรับนักศึกษาไทยและต่างชาติ

                            ประชาคมอาเซียน จึงเป็นเสมือนประตูที่เปิดโอกาสของการเรียนรู้ และโลกของการทำงานที่จะชี้นำไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จให้แก่นักศึกษา อยากรู้ว่า มรภ.เพชรบุรี เตรียมพร้อมนักศึกษา บุคลากร เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในรูปแบบกิจกรรมใด ติดตามได้ที่ http://www.pbru.ac.th/th หรือ โทร.0-3249-3300-6

 

 

---------------------

(เปิดวิสัยทัศน์ : มรภ.เพชรบุรี ก้าวสู่อาเซียน พัฒนาบุคลากร เชื่อมสัมพันธ์ : โดย...ชุลีพร อร่ามเนตร)

 

 

 

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ komchadluek ดูทั้งหมด

252

views
Credit : komchadluek


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน