'ประวัติ-ผลงาน'10รางวัลกวีสุนทรภู่อาเซียน
'ประวัติ-ผลงาน'10รางวัลกวีสุนทรภู่อาเซียน
'ประวัติ-ผลงาน'10รางวัลกวีสุนทรภู่อาเซียน : สำราญ สมพงษ์รายงาน
สำหรับรางวัลกวีสุนทรภู่ ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม นอกจากจะมีกวีไทยแล้ว ยังมีกวีในกลุ่มประเทศอาเซียนอีก 9 ประเทศด้วยที่ได้รับรางวัลนี้ โดยมีดังนี้
1. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประเทศไทย 2. A.Hashim Hamid ZAssociate Professor Dr.Awang Haji Hashim bin Haji Abdul Hamid บรูไน 3. Mr.Veb Sonกัมพูชา 4. Mr.Agus R Sarjono อินโดนีเซีย 5. Dara Kanlagna ลาว 6. Miss Zurinah Hassan มาเลเซีย 7. Mr.U Saw Lwin เมียนมาร์ 8. Miss.Merlie M.Alunanฟิลิปปินส์ 9. Mr.Edwin Thumboo สิงคโปร์ 10. Mr.Tran Dang Khoa เวียดนาม
โดยกวีอาเซียนทั้งหมดจะได้รับโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นเอกอัครราชูปถัมภก มรดกวัฒนธรรมไทยและวิศิษฏศิลปินในวันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยนั้น
ทางเฟซบุ๊กสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากลได้เผยแพร่ประวัติรางวัลกวีสุนทรภู่ดังนี้
1.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโต และผู้ชายคนเดียวในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 5 คน ของนายฮกหรือสมบัติ และนางสมใจ (เก้าวงศ์วาร) พงษ์ไพบูลย์ บิดาเป็นหลงจู๊ โรงฝิ่น แต่ภายหลังบิดากับมารดาหย่าร้างกันศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านทวน และจบชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียวิสุทธรังสี จังหวัดกาญจนบุรี เรียนมัธยมปีที่ 7 ที่โรงเรียนพิชัยญาติกรุงเทพฯ แล้วย้ายไปเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 8 ที่โรงเรียนทวีธาภิเษก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อศึกษาจบก็ได้กลับไปบวชที่วัดทุ่งสมอ จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างจำพรรษาได้ถือธุดงค์ไปศึกษาธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ ณ สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี และปริญญาศิลปศาสตร์กิตติมศักดิ์จากสหวิทยาลัยทวารวดี(วิทยาลัยครูกาญจนบุรี) ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาและวรรณคดี) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาไทย) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากได้พบโคลงที่บิดาเขียนไว้เมื่อครั้งยังหนุ่ม จึงอยากเขียนได้เช่นนั้นบ้าง ผลงานมีทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว เมื่อเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยอยู่ชมรมวรรณศิลป์มาก่อน
กวีนิพนธ์ของเนาวรัตน์แสดงสายสัมพันธ์ระหว่างศาสนา ธรรมชาติกับมนุษยชาติ โดยใช้พื้นฐานทางพุทธปรัชญา และวัฒนธรรมไทยที่กวีได้เรียนรู้ได้ซึมซับจนเกิดความกระจ่างแจ้งในใจ แล้วจึงสื่อสาระที่กลั่นกรองซึ่งไม่มีข้อจำกัดทางความเชื่อ ศาสนา หรือวัฒนธรรมใดๆ เพราะกวีได้ใช้ธรรมชาติเป็นสื่อแสดงสัจธรรม โดยพรรณนาถึงความสัมพันธ์กันอย่างเอื้ออาทรของสรรพสิ่งในโลกธรรมชาติ ชีวิตแห่งธรรมชาติและความสมดุลที่ธรรมชาติได้สร้างให้แก่โลกสัจธรรมแห่งธรรมชาตินี้จักกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้หยุดทะเยอทะยาน หยุดเข่นฆ่าล้างผลาญ ก่อให้เกิดความสงบในใจและเกิดสันติสุขสำหรับมวลมนุษย์โดยไม่แบ่งแยกเผ่าพันธุ์หรือเชื้อชาติ เพราะกวีนิพนธ์ของเนาวรัตน์แสดงถึงความเป็นกลางและเมตตาธรรม แสดงความเป็นมิตรกับคนทั้งโลก ไม่รุกราน ไม่ข่มขู่ไม่ยัดเยียดให้เชื่อ
หากโน้มน้าวอย่างนุ่มนวลอันเป็นลักษณะเด่นของพุทธปรัชญาและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งความคิดของกวีดังได้กล่าวแล้วข้างต้นความสามารถในการใช้รูปแบบของกวีนิพนธ์ของเนาวรัตน์นั้นเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เขาเป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านฉันทลักษณ์แบบแผน และทั้งด้านเพลงพื้นบ้าน ถึงขนาดที่ว่าในเพลงกล่อมเด็ก เนาวรัตน์ก็อาจสอดแทรกสาระทางสังคมอันเข้มข้นได้ นอกจากนี้ เขายังแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นกวีผู้เปี่ยมไปด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กวีนิพนธ์ของเขาได้ฉายให้เห็นความสอดคล้องประสานระหว่างเสียงเสนาะแห่งคีตศิลป์กับความงามแห่งวรรณศิลป์ ที่สำคัญ เนาวรัตน์ได้สืบทอดขนบแห่งวรรณศิลป์โบราณ ในรูปของสัมผัสอักษร สัมผัสสระมาปรับประยุกต์เพื่อใช้สื่อหรือแสดงความคิดของตนได้อย่างกลมกลืน นับได้ว่าเนาวรัตน์สร้างกวีนิพนธ์ขึ้นมาโดยใช้ทำนองเสียงที่กลั่นกรองจากธรรมชาติ ใช้ลีลาความเคลื่อนไหวของธรรมชาติ และใช้พลังแห่งเสียงดนตรีจนกระทั่งแม้ผู้มิได้อยู่ในวัฒนธรรมไทยก็อาจสดับเสียงเสนาะในบทกวีของเขาได้
2. A.Hashim Hamid ZAssociate Professor Dr.Awang Haji Hashim bin Haji Abdul Hamid บรูไน รองศาสตราจารย์ ดร. อาวัง ฮะยี ฮะซิม บิน ฮะยี อับดุลฮามิด เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ที่เมืองกำปงซเตียปาละวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ สถาบันบรูไนศึกษา
การศึกษา
2498 ระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนเลลาเม็นชาไน Lela Menchanai ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
2503-2509 ระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสุลต่านมูฮัมมัด จามาลูล อาลัม ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
2510 ศึกษาที่วิทยาลัยครูบรูไนมาเลย์ (the Brunei Malay Teacher College) ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
2512 ได้รับประกาศนียบัตรการประถมศึกษา
2514 ได้รับประกาศนียบัตรด้านการศึกษา
2516 ได้รับประกาศนียบัตรด้านการอุดมศึกษา
2518-2519 ศึกษาสาขามาเลย์ศึกษา มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ (the University of Singapore)
2520-2524 ได้รับปริญญาตรี สาขาสังคมศาสตร์ (เกียรตินิยม) และได้รับประกาศนียบัตรจาก the City of Birmingham Polytechnic ประเทศสหราชอาณาจักร
2530 ได้รับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยมาลายา (the University of Malaya) กรุงกัวลาลัมเปอร์ สาขาสังคมศาสตร์การเมือง
2538 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาศาสนา (Sociology of Religion) โดยเสนอวิทยานิพนธ์เรื่อง “อิสลามในประเทศบรูไน: การวิเคราะห์ทางสังคมวิทยา วัฒนธรรม” (Islam in Brunei: A Sociological Analysis of Culture)
เกียรติประวัติ
เอ ฮะซิม ฮามิด ได้รับการยอมรับและความซาบซึ้งในการเสนอผลงานเชิงสร้างสรรค์ ท่านได้รับรางวัลต่างๆ จากผลงานของท่าน เช่น รางวัลซีไรต์ ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ปี 2546
รางวัล Dharma Bakti จากสมาคมนักเขียนแห่งชาติ (Gapena, ประเทศมาเลเซีย) ปี 2546
Anugerah Sastera MASTERA (ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ปี 2551)
เอ ฮะซิม ฮะมิด ผลิตงานเขียนเชิงสร้างสรรค์มากมาย และหลากหลายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ผลงานของท่านมีทั้ง กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น ละคร เรียงความรวมทั้งบทความวิจารณ์วรรณคดี ท่านได้เขียนกวีนิพนธ์มากกว่า 100 บท เรื่องสั้นกว่า 20 เรื่อง เรียงความกว่า 10 เรื่อง ละครกว่า 20 เรื่อง (Langgam Suara) และหนังสือกว่า 10 เล่ม จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ทั้งในและนอกประเทศ
3. Mr.Veb Son กัมพูชา ซอน เวน
วันเกิด 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 อาชีพ กวีและนักประพันธ์ อาชีพปัจจุบัน กวีและนักประพันธ์ที่ปรึกษาคณะกรรมการกลางสมาคมนักเขียนเขมร(KWA) และศาสตราจารย์สาขากวีนิพนธ์ ที่คณะการละคร มหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์
การศึกษา
2497-2501 บวชเพื่อศึกษาต่อด้านภาษาบาลี
2500-2508 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และเริ่มเรียนดนตรี ที่โรงเรียนดุริยางคศิลป์แห่งชาติ (ปัจจุบัน คือ คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์
ประสบการณ์การทำงาน
2508-2518 นักดนตรี แซกโซโฟน และนักประพันธ์เพลง สำหรับวงออเคสตราของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเขมร
2522-ปัจจุบัน เขียนและประพันธ์เพลง นวนิยาย กวีนิพนธ์ ฯลฯ
2540-2555 จัดอบรมการเขียนกวีนิพนธ์มากกว่า 30 หลักสูตร ของสมาคมนักประพันธ์เขมร (KWA)
2548-2556 ศาสตราจารย์ด้านกวีนิพนธ์แห่งคณะการละคร มหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์
2543-2551 เจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาหนังสือที่สมาคมเด็กกัมพูชา (Cambokids Association)
2541-2553 เป็นเจ้าหน้าที่พาร์ตไทม์ของสำนักพิมพ์ในฐานะที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการการเขียนและบรรณาธิการของสมาคมอาสาชันตี (SVA)
2547-2554 ที่ปรึกษาด้านการเขียน การเรียบเรียงและการจัดพิมพ์หนังสือของสมาคมการอ่านแห่งกัมพูชา (Room to Read Cambodia Association;RTL) หนังสือ : กวีนิพนธ์ 10 บท และเรื่องเล่า/นิทานประกอบภาพสำหรับเด็ก 20 เรื่องความสำเร็จ
2534 ประพันธ์กวีนิพนธ์สำหรับเทศกาลเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นที่โรงละครแห่งชาติ และได้รับเหรียญทอง (Gold Medal) ผู้ชนะเลิศคนแรกสำหรับกวีนิพนธ์ ด้านการศึกษา จากกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์แห่งประเทศกัมพูชา กวีนิพนธ์เรื่องดังกล่าวคือ “คำแนะนำของกวี”(the advice of poet)2540 ได้รับถ้วยรางวัล 7 Makara Cup จากกลอนนิยายเรื่อง “สรวงสวรรค์ในความฝัน” (Heaven in Dream) โดยคณะกรรมการกลางสมาคมนักเขียนเขมร (KWA) 3 พฤษภาคม 2553 ได้รับรางวัลวรรณคดีลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 3 (The 3rd Mekong Literature Award) ที่เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาวในสาขากวีนิพนธ์จาก นวนิยายคำกลอน เรื่อง “เขานางแก้ว” (Mount Princess Keo)
4. Mr.Agus R Sarjono อินโดนีเซีย อากุส อาร์ ซาร์โจโน เกิดที่บันดุง ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2505 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการเรียนและการสอนภาษาและวรรณคดี จาก IKIP ที่บันดุง ใน พ.ศ. 2531 และเข้าศึกษาต่อสาขาวัฒนธรรมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2545
อากุส อาร์ ซาร์โจโน มีผลงานด้านการประพันธ์ทั้งบทกวี เรื่องสั้น บทความ บทวิจารณ์ และบทละคร ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางทั้งในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน รวมทั้งในหนังสือและวารสารต่างๆ ของเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา หนังสือรวมบทกวีบางเล่มของเขาเช่น Kenduri Airmata (งานเลี้ยงด้วยน้ำตา, บันดุง : 2537, 2539) Suatu Ceritadari Negeri Angin (เรื่องเล่าจากดินแดนแห่งสายลม, ยอร์กจาการ์ตา&จาการ์ตา :2544, 2546, 2553 และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2544) Frische Knochenaus Banyuwangi (ศพจากบันยูวังกี, เบอร์ลิน : 2544) Diterbangkan Kata-kata (พริ้วไปกับถ้อยคำ, จาการ์ตา: 2549) และ Lumbung Perjumpaan (บังเอิญได้พบกัน, จาการ์ตา : 2554) นอกจากหนังสือรวมบทกลอนที่กล่าวมาแล้วนี้ อากุสอาร์ ซาร์โจโน ยังมีผลงานอื่นๆ อีก เช่น หนังสือเรื่อง Bahasadan Bonafiditas Hantu (ภาษาและความสำเร็จที่ไร้ตัวตน, 2544) Sastradalam Empat Orba(บทบาทของวรรณกรรมในระบอบการปกครองใหม่, 2544) และ บทละครเรื่อง Atas Nama Cinta (ในนามแห่งความรัก, 2547)
นอกจากนี้ อากุส อาร์ ซาร์โจโน ยังทำหน้าที่บรรณาธิการหนังสือทางด้านวรรณกรรม การสอน ศิลปะ และวัฒนธรรม อีกมากกว่า 20 เรื่อง เขาได้ร่วมมือกับ แบร์ทอล แดมส์เฮาส์เซอร์ (Bethold Damshauser) ในการแปลและบรรณาธิการหนังสือชุดของกวีชาวเยอรมัน เช่น ไรเนอร์ มาเรีย ริก (Rainer MariaRilke) แบร์โทลต์ เบรช (Bertolt Brecht) พอล ซีลัน (Paul Celan) โจฮัน วูลฟ์กัง วอน เดอเต (Johann Wolfgang Von Goethe) ฮันส์ มักนุส เอ็นเซ็นเบอร์เกอร์(Hans Magnus Enzensberger) ฟรีดริช นิตซ์เช (Friedrich Nietzsche) และ จอร์จ ทรักล์ (Georg Trakl)
อากุส อาร์ ชาร์โจโน เป็นอาจารย์ที่ภาควิชาการละครของ STSI เมืองบันดุง และเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมของคณะกรรมการศิลปะแห่งนครจาการ์ตา ระหว่างปี 2545-2549) เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการของ Jurnal Kritik (จาร์การ์ตา) และผู้จัดการบริหาร Jurnal Sajak
อากุส อาร์ ชาร์โจโน ได้รับรางวัลวรรณกรรมแห่งภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ Hadiah Aastra Manteray ของประเทศมาเลเซียเมื่อปี 2555 จากผลงานเรื่องLumbung Perjunpaan และยังเป็นนักเขียนรับเชิญที่สถาบันเอเชียศึกษา (International Institute for Asian Studies (IIAS) ที่เมืองไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยได้รับทุนจากมูลนิธิ Poets of All National Foudation ในปี 2544ต่อมาในปี 2545-2546 ได้รับเชิญจาก The Boll-Haus Foundation เมืองลังเก็นโบรช ประเทศเยอรมนี และในปี 2553 ได้รับเชิญเป็นนักวิชาการ อาคันตุกะ ที่ มหาวิทยาลัยบอนน์ ประเทศเยอรมนี ในฐานะที่อากุส อาร์ ซาร์โจโน เป็นทั้งกวีและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของอินโดนีเซีย เขาจึงได้รับเชิญไปร่วม ในงานเทศกาลหรืองานประชุมวิชาการต่างๆ ในต่างประเทศ ทั้งในยุโรป เช่น ที่ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ และในบรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
5. Dara Kanlagna ลาว นางดารา วีระวงศ์ กันละญา (หรือนามแฝงว่า ดวงจำปา) ได้ปรากฏบนปกหนังสือและตามหน้าวารสารต่างๆ เป็นจำนวนมากทั้งในฐานะนักเขียนและบรรณาธิการ นอกจากนี้ นางดารา วีระวงศ์ ยังเป็นผู้ก่อตั้งวารสารวรรณศิลป์ซึ่งเป็นวารสารในแวดวงวรรณกรรมของประเทศลาว พิมพ์เผยแพร่โดยกระทรวงสารสนเทศและวัฒนธรรมลาว
นางดาราเกิดในปี พ.ศ. 2483 เป็นธิดาคนโตของท่านมหาสีลา วีระวงศ์ และนางมาลี วีระวงศ์เริ่มชีวิตการทำงานเป็นครูโรงเรียนประถมศึกษา และเริ่มงานเขียนไปด้วย ในเวลาเดียวกัน โดยเธอจะหยิบปากกาขึ้นมาเขียนในยามว่างจากการสอน
ในปี พ.ศ. 2507 นางดารา วีระวงศ์ สมรสกับ นายบุนทะวงศ์ กันละญา และเมื่อสามีต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตในต่างประเทศ เธอได้ลาออกจากงานสอน และเดินทางติดตามสามีไปด้วย ทั้งที่ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร และที่นั่นเธอได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านวรรณกรรม และยังได้พัฒนาทักษะ ด้านการเขียนและการแปลอีกด้วย นางดาราและสามีเดินทางกลับประเทศลาวในปี พ.ศ.2519
ผลงานของนางดารามีทั้งเรื่องสั้น กวีนิพนธ์ บทความ และบทละคร นอกจากนี้เธอยังมีผลงานแปลวรรณกรรมสำคัญๆ ของต่างประเทศด้วย เช่น เรื่อง“แม่” ของนักเขียนชาวรัสเซีย แม็กซิม กอร์กี และผลงานของนักการเมืองอเมริกัน แพ็ทริก เฮ็นรี นางดารามีผลงานเขียนเป็นจำนวนมากเป็นเรื่องสั้นมากกว่า 60 เรื่อง และกวีนิพนธ์มากกว่า 80 บท ซึ่งบทกวีเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ร่วมกับนักเขียนลาวอีกหลายท่าน นอกจากนี้ เธอยังได้เขียนบทละครเรื่อง “หอมกลิ่นบัวแดง” ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาได้มีผู้นำไปปรับปรุง และสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง “ดอกบัวแดง” ในปี พ.ศ. 2530ปัจจุบันนางดาราพำนักอยู่ที่เวียงจันทน์ กับบุตรธิดาทั้ง 4 คน และยังคงสร้างสรรค์งานเขียนอยู่จนทุกวันนี้ นางดาราได้รับเกียรติและรางวัลต่างๆ มากมาย เช่นเป็นทูตกิตติมศักดิ์ของยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2535 ได้รับรางวัล NIKKEI ASIA ด้านวัฒนธรรมจากญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2539 รางวัลมูลนิธิโกมล คีมทอง ในปี พ.ศ.2545 รางวัลช่อการะเกด ในปี พ.ศ. 2551 รางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2553 ได้รับเหรียญ First Laos Victory Medal of Labor จากรัฐบาลลาว ในปี พ.ศ. 2552 และได้รับการแต่งตั้งเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ในปี พ.ศ. 2552
6. Miss Zurinah Hassan มาเลเซีย ซูรินาห์ ฮัสซัน เกิดเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2492 ที่ ทิคัม บาตู ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในเมืองอะลอ สตาร์ รัฐเคดาห์ เริ่มการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่รัฐเคดาห์ หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยไซเอนส์มาเลเซีย ที่ปีนัง เธอจบปริญญาตรีด้านอักษรศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2517 จากนั้นจึงเริ่มทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชามาเลย์ศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา ก่อนจะย้ายมาประจำที่มหาวิทยาลัยไซเอนส์มาเลเซีย ต่อมาเธอได้เข้ารับราชการที่กรมสารนิเทศ กระทรวงสารนิเทศ สื่อสาร และวัฒนธรรม และได้ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ ปี พ.ศ. 2540เพื่อเป็นนักเขียนเต็มเวลา นอกจากนี้เธอยังใช้เวลาหลังเกษียณศึกษาต่อ ในระดับบัณฑิตศึกษาจนได้รับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย และปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมลายาอีกด้วย
ซูรินาห์มีผลงานการประพันธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และนับจากนั้นเธอก็มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็น บทกวีเรื่องสั้น และบทความต่างๆ ผลงานเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ ของประเทศ นอกจากนี้ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2541 ซูรินาห์ ฮัซซันยังได้รับเกียรติเป็นนักเขียนรับเชิญแห่งสถาบันอารยธรรมมาเลย์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซียด้วย ซูรินาห์ ฮัสซันได้รับรางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2547 ในส่วนของงานด้านกวีนิพนธ์ บทกวีของซูรินาห์ ฮัสซัน ให้ความรู้สึกสดชื่น เพลิดเพลิน เพราะเธอหยิบยกธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ มาเสนอซูรินาห์นำเสนอทัศนคติในการดำเนินชีวิตและปัญหาต่างๆ ในสังคมด้วยถ้อยคำที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง เธอมีความเห็นอกเห็นใจชีวิตที่สิ้นหวังของผู้คนในชนบทเพราะเธอเห็นว่าแม้ผู้คนเหล่านี้จะทำงานหนักเพียงใด ก็ไม่สามารถบรรเทาความยากจนและความทุกข์ทนได้ตราบเท่าที่สังคม ยังมีการแบ่งแยกกันเช่นนี้
7. Mr.U Saw Lwin เมียนมาร์อู ซอ ลวิน (หรือนามแฝงว่า หม่อง ทเว ทิต) เกิดที่นครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2490 เป็นผู้มีบทบาทด้านศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศพม่า โดยเฉพาะด้านกวีนิพนธ์มานานกว่า 40 ปี เขาเริ่มเข้าสู่วงการวรรณกรรมโดยได้เขียนบทกลอนเรื่อง You Kyi Chet ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน Cornel Magazine ในปี 2505 ในปี 2523 อู ซอ ลวิน เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการวารสาร Sarpay Louke Thar ภายใต้การกำกับดูแลของ Saya Nat New ต่อมาได้เป็นบรรณาธิการบริหารของวารสาร Moe Wai ระหว่างเดือนมิถุนายน 2524 ถึง เดือนกรกฎาคม 2528 และระหว่างเดือนสิงหาคม 2529 ถึง เดือนตุลาคม 2529 หลังจากนั้นได้รับตำแหน่งบรรณาธิการบริหารวารสาร Cherry Magazine ในปี พ.ศ. 2530-2531 อีก 1 ปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2532 ได้เข้าร่วมในกองบรรณาธิการวารสาร Sarpay Journal Magazine ร่วมกับ Saya Phe Myint และ Ko Khun Jer Mhine และในปี 2533 เขาได้รับตำแหน่งบรรณาธิการวารสารThint Bawa ในปี 2547 เป็นบรรณาธิการบริหารวารสาร Htaik Yin Pho ในปี 2548 ก็ย้ายไปเป็นบรรณาธิการบริหารของ Family Magazine และตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน เขาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการอาวุโสของ Myanmar Times Journal
อู ซอ ลวิน ได้รับรางวัลบรรณาธิการดีเด่นจากองค์กร Sar Pay Myat Noe Thu ซึ่งตั้งอยู่ที่นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดย Dr. Naing Pan Hla รางวัลดังกล่าวมอบให้กับบรรณาธิการ ที่เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำหนังสือฉบับพิเศษ ในงานรำลึก 120 ปี ของ Sajagyi Thakhin Ko Taw Mhine ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2539
8. Miss.Merlie M.Alunan ฟิลิปปินส์ เมอร์ลี เอ็ม อะลูนัน วันเกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ที่อยู่ เขตเดลกาโด (Delgado Subdivision) ถนนกาอิบาน (Caibaan) เมืองตะโคลบัน (Tacloban) ประเทศฟิลิปปินส์การศึกษา ปริญญาตรีด้านการศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ปริญญาโท อักษรศาสตร์ สาขาวิชาวรรณคดีและการเขียนเชิงสร้างสรรค์หน่วยงานสังกัด วิทยาลัย UPV Tacloban ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 4 จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ศาสตราจารย์ ระดับ 1 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 ถึงเดือนมีนาคม 2550 ศาสตราจารย์ ระดับ 5 ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน รางวัลพ.ศ. 2527 ได้รับรางวัล Likhaan Award for Poetry จาก UP Creative Writing Center ได้รับรางวัล Don Carlos Palanca Memorial Awards สาขาวรรณคดี จากบทกวีภาษาอังกฤษ ในปี 2527, 2530,2532, 2533, 2537 และ 2553 สำหรับปี พ.ศ. 2550 ได้รับรางวัลจากเรื่องสั้นที่เขียนในภาษาเซบูอาโน พ.ศ. 2537 และ 2538 ได้รับรางวัล Free Press LiteraryAward สาขากวีนิพนธ์
พ.ศ. 2538 ได้รับรางวัลที่ 2 ในการประกวด Homelife Poetry Writing Contest
พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัลผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น Chancellor’s Award
พ.ศ. 2540 รางวัลเกียรติยศ Lilian Jerome Thornton Award สาขากวีนิพนธ์
พ.ศ. 2546 รางวัล Catholic Mass Media Award สำหรับคอลัมน์ดีเด่น ในหนังสือพิมพ์เซบูเดลินิวส์
พ.ศ. 2547 รางวัลกวีนิพนธ์ชนะเลิศ Centennial Award จาก Homelife Magazine
พ.ศ. 2550 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ Tula sa Cebuano, Gawad Komisyon ng Wikang Filipino
รางวัลเกียรติยศและชื่อเสียงอื่นๆ
นักเขียนรับเชิญที่ มหาวิทยาลัย National University of Singapore 17-27 พฤศจิกายน 2000 (พ.ศ. 2543)
ศาสตราจารย์อาคันตุกะของหน่วยงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยในเอเซีย (Asian Universities Network – AUN) ณ มหาวิทยาลัยไซเอนส์ (Sains) ปีนังประเทศมาเลเซีย ระหว่าง 2-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
ไดัรับรางวัล Centennial Medallion จากหนังสือเรื่อง Amina Among the Angels ในฐานะหนึ่งในหนังสือ 100 เล่ม ของสำนักพิมพ์ UP เพื่อเป็นเกียรติในการเฉลิมฉลอง 100 ปีแห่งอิสรภาพของประเทศหนึ่งในผู้เข้ารอบสุดท้ายรางวัล Metrobank Outstanding Teacher กันยายน 2548 ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ 13 ธันวาคม 2551 รางวัล Sangyaw Achievement Award จากเมืองตะโคลบัน เมื่อ 2 กรกฎาคม 2552 ได้รับทุน Ananda Coomaraswamy สาขาวรรณคดี จาก สถาบันSahitya ประเทศอินเดีย กันยายน 2553
9. Mr.Edwin Thumboo สิงคโปร์ เอ็ดวิน ทุมบู เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ในประเทศสิงคโปร์ เขามีบิดาเป็นครูเชื้อสายอินเดียซึ่งนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ และมารดาชาวจีน-เปอรานากันแต้จิ๋ว เขาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมาลายาสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษและประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2496 ในมหาวิทยาลัยนี้นี่เองที่ทำให้เขาได้พบกับเพื่อนนักเขียนอาทิ อี เทียง ฮง (Ee Tiang Hong) และหว่อง พุย นำ (Wong Phui Nam) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นบุคคลสำคัญของวงการวรรณกรรม ของมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2499 ทุมบูเป็นหนึ่งในนักเขียนกลุ่มแรกที่มีผลงานรวมบทกวีตีพิมพ์
หลังจากเป็นข้าราชการพลเรือน ปี พ.ศ. 2509 เขาได้กลับไปเป็นผู้ช่วยอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เขาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษและวรรณคดี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520-2536 ในปี พ.ศ. 2523 เขาได้รับตำแหน่งคณะบดีคณะอักษรศาสตร์และสังคมศาสตร์ และได้ดำรงตำแหน่งนี้ถึง 3 วาระด้วยกัน ทุมบูได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง เขาได้ก่อตั้งโครงการCreative Arts ซึ่งทำหน้าที่ดูแลและให้คำปรึกษาเหล่านักเขียน รุ่นเยาว์จากสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และอนุปริญญาขึ้น ทุมบูได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2540
ทุมบูเห็นว่ากวีของสิงคโปร์ในยุคหลังนี้มีอิสระมากขึ้น จึงควรมีส่วนรับผิดชอบ ในการสร้างสรรค์วรรณกรรมของประเทศ ดังนั้นเขาจึงได้ถ่ายทอดความคิดเห็นด้านการเมืองและสังคมลงในงานเขียน เช่น ขอบโลก (Rib of Earth) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2499 พระเจ้าตายได้ (God Can Die) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2520และยูลิสซิสกับเมอร์ไลออน (Ulysses by the Merlion) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2522 นอกจากนี้ทุมบูยังได้ตีพิมพ์แผนที่ลำดับสาม (A Third Map) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2536 กลอนสำหรับเด็กเรื่อง ความสุขวัยเยาว์ เล่ม 1-2 (Child’s Delight 1&2) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2515 และเพื่อน : บทกวี (Friend : Poems) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2546 นอกจากนี้ยังมีผลงานรวมบทกวีเกือบ 50 บทชื่อการเดินทาง (Still Travelling) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2551 และรวมผลงานเอกของเอ็ดวิน ทุมบู (The Best of EdwinThumboo) ที่วางจำหน่ายเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา
นอกจากงานเขียนแล้ว ทุมบูได้รวบรวมและแก้ไขหนังสือรวมบทกวีภาษาอังกฤษ จากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียซึ่งได้แก่ ไม้ดอก (The Flowering Tree) ปี พ.ศ. 2513 กวีทั้งเจ็ด (Seven Poets) ในปี พ.ศ. 2516 และภาษาที่สอง (The Second Tongue) ในปี พ.ศ. 2522 ทุมบูยังได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือรวม วรรณกรรมหลายภาษา 2 เล่ม ได้แก่ รวมบทกวีของสิงคโปร์ (The Poetry of Singapore) ปี พ.ศ. 2528 และเดอะ ฟิกชั่น ออฟ สิงคโปร์ (The Fiction ofSingapore) ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการวัฒนธรรมและข้อมูลแห่งอาเซียน
10. Mr.Tran Dang Khoa เวียดนาม เจิ่น ดาง ควา เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2501 ในจังหวัดฮาย เยือง (Hai Duong) เขาสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาวรรณกรรมเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยวัฒนธรรมฮานอย และสถาบันวรรณคดีโลก เอ็ม. กูกกี (M. Goocky) ประเทศรัสเซีย
เจิ่น ดาง ควา เริ่มชีวิตการทำงานเป็นลูกเรือ ต่อมาได้เข้าประจำการในหน่วยทหารราบ ได้รับยศเป็นพันโทพิเศษ และเคยเป็นบรรณาธิการ ให้กับนิตยสารเวียดนาม พีเพิล อาร์มี (Vietnam People Army) นอกจากนี้ เขายังเคยเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของสมาคมนักเขียนเวียดนามถึง 7 วาระอีกด้วยปัจจุบันเขาทำงานให้กับเรดิโอ เวียดนาม วอยซ์ (Radio Vietnam Voice) เจิ่น ดาง ควา ได้รับการขนานนามว่าเป็นอัจฉริยะกวีตั้งแต่เขาอายุได้เพียง 7-8 ปี หนังสือรวมเล่มบทกวีของเขาชื่อ “จากลานหน้าบ้าน (From Conor of My Yard)” ได้ถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์กิมดง ตั้งแต่เขาอายุ 10 ปี นอกจากนี้ เขายังเขียนบทวิจารณ์และบทร้อยแก้วต่างๆ อีกด้วย
ผลงานที่สร้างชื่อให้เจิ่น ดาง ควา ได้แก่ บทกวีชื่อจากลานหน้าบ้าน (From Conor of My Yard) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2511 บทกวีขนาดยาวเรื่องลานบ้านกับฟ้ากว้าง (The Yard Conor and the Space Sky) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2511 รวมบทกวีโดยเจิ่น ดาง ควา (Poems by Tran Dang Khoa) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2513 บทกวีเรื่องวีรบุรุษ (Ballade on Hero) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2518 บทกวีเรื่องบทลงโทษ (Punishment) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2517 บทกวีขนาดยาวเรื่องพายุฝน(Thunderstorm) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2526 บทกวีเรื่องริมหน้าต่างเครื่องบิน (Near the Window of Airplane) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2526 บทกวีของเขาได้รับการแปลและตีพิมพ์ในหลายประเทศรางวัลด้านวรรณกรรมที่เขาได้รับ ได้แก่ รางวัลชนะเลิศการประกวดแต่งกลอน จัดโดยหนังสือพิมพ์อแวนเจอรส์ ไพโอเนียรส์(Avangers Pioneers) 3 ครั้ง ได้แก่ รางวัลประจำปี พ.ศ. 2511, 2512 และ 2514 รางวัลระดับดีเยี่ยมในการแข่งขัน ประกวดการแต่งกลอนจัดโดยหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ วัน เหงะ (Van Nghe) ในปี พ.ศ. 2524-2525 และยังเคยได้รับรางวัลเนชั่นแนล ไพรซ์ (National Prize) สำหรับ “คลื่นลูกแรก” แห่งสาขาศิลปะและวรรณกรรมในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย