บิ๊กตู่เปิดโมเดล สภาปฏิรูป น้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นธงนำ
วันนี้สังคมไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทุกคนต้องเผื่อแผ่แบ่งปันดูแลซึ่งกันและกัน มีน้ำใจให้กัน เพื่อที่ประเทศเราจะได้เป็นประเทศที่น่ารัก ในสายตาของชาวต่างชาติ และเป็นสิ่งที่ดีงามของสังคมไทยต่อไปอย่างยั่งยืน ขอบคุณอีกครั้ง ขอให้ทุกคนมีความสุข สวัสดีครับ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดแนวทางการพัฒนาประเทศที่สำคัญ ของ คสช. เป็นรายงานประชาชนทุกวันศุกร์อีกครั้ง….
เราต้องน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ คือ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ด้วยความมีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้เงื่อนไขความรู้คู่คุณธรรม
สำหรับความสำคัญของการพัฒนาประเทศ เราจะต้องมีการพัฒนาแบบองค์รวม ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา โดยต้องสร้างความสมดุลทั้งคน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่พร้อมและเพียงพอ
สำหรับคุณภาพของคนไทยจะดีขึ้น ถ้าหากเราทำได้อย่างนั้น จะมีหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย มีความยากจนลดลง ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพคนและสังคมเป็นอย่างแรก การสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความโปร่งใสในการบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
สำหรับวิสัยทัศน์ คสช. อันนี้เราได้กำหนดไว้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 คือสังคมจะต้องอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง สำหรับยุทธศาสตร์หลักที่ คสช. ยึดถือเป็นแนวทางในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
3. ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
4. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
6. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
7. ยุทธศาสตร์ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ในการใช้บริการอย่างแท้จริง
8. ยุทธศาสตร์ในเรื่องการปรับปรุงระบบโทรคมนาคม เทคโนโลยีของชาติให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคตให้ทัดเทียมอาเซียน และประชาคมโลก
9. ยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอรัปชั่นอย่างยั่งยืน
สิ่งที่คนไทย ประเทศไทย ยังเป็นปัญหา และต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ต้องมีความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชน ในทุกระดับชั้น ทุกเพศ ทุกวัย
เรื่องที่ 1 อยากจะเรียนว่าเราน่าจะกำหนดค่านิยมหลักของคนไทยขึ้นมาให้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้เพื่อเราจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง ฉะนั้นคนต้องเข้มแข็งก่อน คนในชาติจะต้องเป็นอย่างไร ดังนี้
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญู ต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทางตรงและทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย และขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อม โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป ตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และต่อชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ผมรวบรวมไว้ได้ประมาณ 12 เรื่องที่เป็นค่านิยมของคนไทย
เรื่องความก้าวหน้าของ คสช. ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในด้านความมั่นคง
เราได้มีกิจกรรมความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศ อันแรกคือเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา กองทัพบกได้มีการจัดการฝึกอบรมการต่อต้านเครือข่ายวัตถุระเบิดแสวงเครื่องระหว่างกองทัพบกไทยกับ กองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก ณ โรงเรียนข่าวทหารบก 2. การอบรมหลักสูตรการจัดเตรียมสนามรบด้านการข่าว สำหรับงานป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ ระหว่างวันที่ 9 -20 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์ฝึกข่าวกรองกลาโหมออสเตรเลีย ณ โรงเรียนข่าวทหารบก
ท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุด รองหัวหน้า และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง ได้ให้การต้อนรับการเยือนจากผู้นำมิตรประเทศ เช่น ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมาร์ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสิงคโปร์ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อหารือความร่วมมือต่างๆ และรับทราบสถานการณ์ภายในประเทศไทย ซึ่งทุกท่านมีความเข้าใจและเป็นกำลังใจให้กับคนไทยทุกคน ในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาของชาติให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว ตลอดจนยืนยันความสัมพันธ์และความร่วมมือทุก ๆ ด้าน ซึ่งยังคงดำเนินการต่อไปเช่นเดิม
ในส่วนการดำเนินการในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ท่านปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2557
เมื่อ 4 กรกฎาคม พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ/รองหัวหน้า คสช. เป็นหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ได้ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ ประจำประเทศไทย และคณะที่เข้าเยี่ยมคารวะเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับรัฐกาตาร์ ทั้งนี้เอกอัครราชทูตกาตาร์ฯ ได้กล่าวว่า ผู้นำรัฐกาตาร์ได้ฝากแสดงความชื่นชมมายังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ได้เข้ามาสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นกับประชาชน พร้อมทั้งได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทยกับรัฐกาตาร์
เรื่องการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ คสช. โดย กนร. ได้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม รวมเป็น 8 จังหวัดในปัจจุบัน ได้แก่ สมุทรสาคร อยุธยา ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี และ สงขลา พร้อมทั้งให้ผู้ที่ประกอบกิจการเรือประมงที่มีแรงงานต่างด้าวทำงานอยู่ ได้จัดทำบัญชีรายชื่อ สัญชาติ และจำนวน แจ้งกับแรงงานจังหวัดตามภูมิลำเนาที่เรือจดทะเบียนไว้ในทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล ในสัปดาห์ต่อไป จะมีการจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ใน กทม. เพิ่มจำนวน 10 ศูนย์ฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานใน กทม.
ในด้านการค้ามนุษย์ ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ DSI ปรับกฎระเบียบด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมความไปถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดูแลตามหลักมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา TIP Report ต่อไป
งานด้านเศรษฐกิจ
จากแนวโน้มของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อาจมีผลกระทบต่อการส่งออกในห้วงปลายไตรมาสที่ 2 คสช. ได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณามาตรการเยียวยาผู้ส่งออกและผู้ที่อยู่ในวงจรสินค้าเกษตรที่อาจได้รับผลกระทบ ด้วยมาตรการต่างๆ เช่น ให้เอ็กซิมแบงค์ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เยียวยาผู้ส่งออกSMEs ขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินในปีนี้ไว้ให้ได้ไม่กลายเป็น NPL รวมทั้งอาจพิจารณา refinancing program ให้กับลูกหนี้ที่เป็นผู้ส่งออกด้วย
ในเรื่องการทำกิจกรรมการตลาดสินค้าส่งออก เนื่องจากในห้วง1-2 ปีที่ผ่านมานั้น กระทรวงพาณิชย์ได้เน้นเรื่องการขายข้าว วันนี้เราจะทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเปิดตลาดใหม่ ๆ และการกระตุ้นตลาดเดิมของเราในสินค้าทุกประเภท ต้องเร่งทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะตลาดในยุโรป ที่สินค้าหลายตัวจะถูกกระทบจาก GSP ที่จะหมดลงสิ้นปีนี้ และอาจเสียเปรียบด้านราคา เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ดังนั้นเราต้องเร่งกระชับความสัมพันธ์กับคู่ค้าในยุโรปและผู้ค้าอื่น ๆ ด้วย
ส่งเสริมและเร่งพัฒนาการค้าชายแดน เรายังมีอนาคตที่สดใส สำหรับการส่งออกของไทยได้อีกนาน ประเทศรอบบ้านเรามีความต้องการสินค้าไทยสูง เราได้เปรียบเรื่องระยะทาง เส้นทาง แต่ยังมีปัญหาเส้นทางที่เป็นคอขวดในด่านเส้นทางเข้า–ออก ด่านศุลกากร ได้มอบให้กรมศุลกากร กระทรวงคมนาคม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ เพื่อปรับปรุงพัฒนาช่องทางเข้า-ออก ถนนเส้นทาง โดยให้เริ่มดำเนินการได้ภายใน ธันวาคม 2557 โดยอาจจะต้องตัดขั้นตอนการดำเนินการที่เป็นระเบียบราชการ ที่ไม่มีความจำเป็นและเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณออก เช่น ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ ที่ต้องใช้งบประมาณสูงหลาย 10 ล้านบาท ในขณะที่ทุกฝ่ายทราบดีอยู่แล้วว่าจะต้องดำเนินการ ในเรื่องนี้และประชาชนทุกฝ่ายเห็นด้วยและได้รับประโยชน์ ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้กำกับดูแลตำรวจทางหลวง ให้ไปดูแลอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ผู้ประกอบการ ในการสัญจรผ่านเข้า-ออก วันนี้ทราบว่าจะมีการจราจรที่ติดขัดเป็นจำนวนมาก ตามด่านต่าง ๆ ซึ่งเราจะต้องอำนวยความสะดวกให้รวดเร็วขึ้น
ในเรื่องของ BOI ได้เร่งติดตามโครงการที่ได้รับอนุมัติในห้วง 1-2 ปีที่ผ่านมาว่า เราได้ดำเนินการลงทุนจริงมากน้อยเพียงใด เราคือเขา เขาเป็นคนที่ขอเข้ามา ฉะนั้นต้องดำเนินการตรวจสอบว่าเขาได้ดำเนินการจริงมากน้อยเพียงใด ปัญหาและอุปสรรคที่ติดอยู่มีอะไรบ้าง จะแก้ไขได้อย่างไรและผลประโยชน์ที่เป็นสิ่งตอบแทนให้กับรัฐจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง บางอย่างมีกำหนดข้อยกเว้นหลายประการไปทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ไปพอสมควร แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้กับบริษัทต่างชาติเหล่านั้นด้วย
มาตรการเร่งกระตุ้นการท่องเที่ยว สำหรับ High season ที่จะมาถึงห้วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ จะสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยว วางแผนการเดินทางสำหรับปลายปี ฉะนั้นเราต้องเร่งทำกิจกรรมการตลาดในทุกตลาดสำคัญ ทั้งประเทศญี่ปุ่น ประเทศอินเดีย ฮ่องกงASEAN สหภาพยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ผ่านมาการบินไทยจะเป็นกลไกสำคัญ เวลานี้อาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง อาจจะต้องมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสภาธุรกิจท่องเที่ยวจับมือสายการบินต่างประเทศหลายๆ สาย รวมทั้ง chartered airlines ที่เป็นพันธมิตรของไทย friends of Thailandเร่งออก campaigns มาเมืองไทย ในช่วงตุลาคมปีนี้ถึงมีนาคมปีหน้า นอกจากนั้น อาจพิจารณาถึงมาตรการที่รัฐบาลจะต้องดูแลในเรื่องประกันภัยให้กับนักท่องเที่ยวในช่วงที่เรามีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า เราได้รับทราบจากข้อมูลว่า มีการประเมินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าในปีหน้านั้น มูลค่าของการท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มที่สูงขึ้นซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีซึ่งทุกคนต้องช่วยกัน
เร่งดำเนินการในการนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของความร่วมมือเจรจาการค้า ทั้งในกรอบพหุภาคี และทวิภาคีที่ติดขัดมาเป็นเวลานาน อันเนื่องมาจากข้อกฎหมายและปัญหาการเมืองของไทย สถานการณ์ในเมืองไทย เพื่อให้ไทยสามารถปฏิบัติได้ตามข้อตกลงในกรอบอาเซียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขบัญชีว่าด้วยกำเนิดสินค้าเฉพาะราย สินค้าของอาเซียนเป็นฉบับ ฮาร์โมไนซ์ HS 2012
ในเรื่องของการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 14 ได้อนุมัติการดำเนินการตามผลการประชุมระดับผู้นำครั้งที่ 8 ของแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย ซึ่งมีประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย ที่จะมีการปรับปรุงด่านช่องทางการค้าขายชายแดน ท่าเรือ มอเตอร์เวย์ และศูนย์การกระจายสินค้าในประเทศไทย
เรื่องเร่งรัดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน พื้นที่ห่างไกล เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้ประชาชน ที่อยู่ห่างไกล ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องเดินทางเข้ามาหางานในเมืองใหญ่ ลดความแออัดของเมือง และปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่จะตามมา นอกจากนี้ยังป้องกันการลักลอบการค้าที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดน การลักลอบสวมสิทธิ์สินค้าเกษตรต่าง ๆ
ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมาได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการ SMEs ได้รับฟังข้อเสนอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ในที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าSMEs เป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ จะต้องพร้อมพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างการยกระดับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีขอบเขตงานที่กว้างขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ มีการบูรณาการร่วมกับส่วนราชการทุกกระทรวงและภาคเอกชน ทั้งในเรื่องการสนับสนุนงบประมาณ การบริหารจัดการ ให้เกิดความรวดเร็ว รวมถึงการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
1. สังคมจิตวิทยา นอกจากการสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายแล้ว คสช.มียุทธศาสตร์เร่งด่วนที่จะดำเนินการคือ การลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ด้วยการแก้ไขปัญหาปากท้อง ความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม การสร้างระบบความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ โดย คสช.ได้มอบหมายให้ ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ( กอ.รมน.) กระทรวงมหาดไทย องค์กรส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าไปดำเนินการแบบบูรณาการในแต่ละพื้นที่ ในประเด็นที่ชุมชนเหล่านั้น มีความต้องการ ซึ่งแต่ละชุมชนมีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น อาจจะมีปัญหาเรื่องรายได้ การแก้ไขปัญหาหนี้สิน การส่งเสริมสุขอนามัย การพัฒนาระบบการศึกษา การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นต้น
สำหรับการดำเนินการในเรื่องใด ๆ ที่สามารถบูรณาการกันได้ในพื้นที่ ก็ให้เร่งดำเนินการโดยทันที หากเรื่องใดที่ยังไม่มีงบประมาณหรือเกินกว่าขีดความสามารถในพื้นที่ ให้นำเสนอมาที่ คสช. หากพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงและสอดคล้องกับแนวทางตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 มีงบประมาณรองรับ ก็จะมอบหมายให้กระทรวงและส่วนราชการที่รับผิดชอบไปดำเนินการโดยเร็ว หากเรื่องใดที่อยู่นอกเหนือแผนงานของกระทรวง ทบวง กรม คสช. จะมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) นำไปเป็นข้อมูลในการจัดทำงบประมาณประจำปี 2558 ร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ หัวหน้าบัญชาการทหารเรือ) ได้ร่วมประชุมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการแก้ไขปัญหาบ่อขยะ การลักลอบตัดไม้ การบุกรุกป่าและอุทยาน นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2557 จะได้เดินทางร่วมกับผู้แทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการบุกรุกป่าอุทยานสิรินาถ และโรงงานกำจัดขยะซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ณ จังหวัดภูเก็ตซึ่งเราได้ไปดูในเรื่องของการจัดระเบียบในพื้นที่ชายหาดที่ป่าตอง จังหวัดภูเก็ตตรงนี้ต้องขอความร่วมมือไปยังชายหาดทุกแห่งในประเทศซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเรา ถ้าหากว่าเราไปสร้าง ห้าง ร้าน ร้านอาหารต่าง ๆ ที่ไม่เป็นระเบียบในบริเวณริมชายหาดซึ่งไม่เป็นที่น่าชื่นชม ไม่น่าดู น่าเที่ยว เราต้องขอความร่วมมือ อาจจะเดือดร้อนอยู่บ้าง ต้องขออภัยด้วย ถ้าวันนี้เราไม่ทำ วันหน้าเราจะทำไม่ได้เช่นเดิมและจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังไปเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
ในส่วนของกระทรวงคมนาคม และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (ขสมก.) ไปพิจารณาทบทวนโครงการจัดซื้อรถเมล์ ขสมก. ในเรื่องความคุ้มค่า ความโปร่งใส ความมีประสิทธิภาพ และประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยไม่เป็นภาระในเรื่องการเงินการคลัง วันนี้เรามีปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะซึ่งไม่มากนักและทำอย่างไรจะสามารถลดหนี้สาธารณะลงให้ได้มากที่สุด ฉะนั้นจะต้องไปศึกษาเปรียบเทียบแนวทางของการเช่า หรือการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมทุน แม้กระทั่งการร่วมการจัดซื้อ ในประเด็นสำคัญในเรื่องความสะดวกปลอดภัยของผู้โดยสาร ความคุ้มค่า การซ่อมบำรุง การดูแลรักษา และให้ ขสมก.เร่งดำเนินการให้มีรถโดยสารใหม่ให้ประชาชนได้ใช้โดยเร็ว
การปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้สูงอายุดังกล่าว คสช.อนุมัติให้ปรับเพิ่มเงินบำนาญขั้นต่ำให้ได้รับไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,000 บาท
เรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญ ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นได้มีการเข้าพบปะหารือของคณะผู้บัญชาการทหารสูงสุดประเทศเมียนมาร์กับ คสช. สรุปประเด็นสำคัญ ที่ไทยและพม่าจะร่วมมือกันในการดูแลช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ถูกจำกัดอยู่ในพื้นที่ควบคุมมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว ขาดอิสระเสรีภาพ เป็นปัญหามายาวนาน มีผู้ลี้ภัยจาการสู้รบพำนักอยู่ศูนย์พักพิงของไทย 9 แห่งจำนวนมากกว่า หนึ่งแสนสามหมื่นราย ซึ่งไทยและพม่าจะอำนวยความสะดวกให้บุคคลเหล่านั้นได้เดินทางกลับประเทศโดยสวัสดิภาพเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น การร่วมมือกันในการพิสูจน์สัญชาติผู้อพยพชาวโรฮิงญา การปักปันเขตแดนในพื้นที่ที่ไม่มีปัญหา และการไม่สนับสนุนกลุ่มต่อต้านของทั้งสองประเทศ รวมทั้งการร่วมมือกันพัฒนาในเรื่องพลังงาน ซึ่งเรายังมีปัญหาพอสมควร ทั้งนี้ทางการสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้เแสดงความขอบคุณ คสช.ที่เรามีมาตรการที่จะดูแลช่วยเหลือลูกเรือประมงชาวสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ให้ได้รับความปลอดภัยและมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น
สำหรับการเตรียมการเพื่อเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้น คสช.ได้เร่งรัดให้เตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมถนนโครงข่ายต่างๆ ช่องทางเข้า-ออกด่านศุลกากร คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ระบบรางที่จะต้องมีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ทั้งอาเซียน และให้กระทรวงพาณิชย์และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปเร่งเจรจาทางด้านกฎกติกาทางการค้า แก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคให้เอื้อต่อการค้าการลงทุนในกรอบของอาเซียน และทั้งนี้ฝ่ายไทยต้องไม่เสียประโยชน์ การส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ตามแนวชายแดน เช่น การปลูกป่าอาเซียนที่กองทัพบกได้เริ่มดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว
ในด้านปัญหารัฐวิสาหกิจ ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ โดยฝ่ายไทยต้องไม่เสียประโยชน์ การส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ซุปเปอร์บอร์ด เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา ได้มีแนวทางดำเนินการในการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจ ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (1) การแก้ปัญหาเรื่องความโปร่งใส ความมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ (2) การปรับปรุงคุณภาพการบริการประชาชนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและตามความคาดหวังของประชาชน โดยมิได้มุ่งหวังที่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว (3) การสร้างความเข้มแข็งทางการเงินให้กับรัฐวิสาหกิจ เพราะบางรัฐวิสาหกิจอาจจะยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ (4) การบูรณาการการลงทุนของรัฐวิสาหกิจเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และเกิดความต่อเนื่องเชื่อมโยง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐ คสช. ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาทำงานในเรื่องดังกล่าว และจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้กับประชาชนและสาธารณชนได้ทราบตามห้วงเวลาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ จะมีคณะกรรมการที่จะเข้าไปตรวจสอบกิจการของรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไร มีความเหมาะสมหรือไม่ แล้วถ้าหากว่ามีอยู่จะต้องทำการฟื้นฟูกิจการอย่างไร จะเร่งดำเนินการภายใน 30 วัน
เรื่องการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว วันนี้อยากจะเรียนว่ามีอยู่ 2 แนวทาง/การปฏิบัติ 1. เป็นการปฏิบัติของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบและระบายข้าว ของ คสช. จะมีที่รับบัญชีจากวันที่ 1 มิถุนายน เป็นต้นมา เพื่อจะไปตรวจสอบตามโกดังข้าวต่าง ๆ ทั้งนี้ เพี่อจะได้ตรวจสอบถึงความพร้อม หรือความมีคุณภาพของข้าวว่า สามารถจะดำเนินการอย่างไรได้ต่อไป ในเรื่องของการระบายข้าว หากเก็บกักไว้นานก็จะเสื่อมคุณภาพ และราคาก็จะมีปัญหาต่อไป ในอนาคตจะทยอยมีการระบายข้าวต่อไป สิ่งนี้จะแจ้งให้มีการแข่งขันโดยเสรีในอนาคต แต่ในส่วนที่มีปัญหาก็คงเป็นเรื่องของการดำเนินการทางกฎหมาย ทั้งแพ่งและอาญา ในส่วนของ ป.ป.ช. ท่านก็จะตรวจสอบของท่านไป ส่วนของ คสช. ก็จะตรวจสอบของเรา เป็นลักษณะการตรวจสอบและการถ่วงดุลทั้ง 2 ฝ่าย ทั้ง 2 ด้าน ข้อมูลก็คนละข้อมูลกันในตอนท้ายคงต้องมาสรุปข้อมูลให้ตรงกันอีกครั้ง
การตรวจสอบทางบัญชีก่อนหน้าวันที่ 1 มิถุนายน จะเป็นเรื่องของ ป.ป.ช. ดำเนินการ เพราะเป็นเรื่องการของจำนำข้าว เก็บข้าว รักษาข้าว ของ คสช. จะรับบัญชีมาตั้งแต่วันที่ 1มิถุนายน เพื่อตรวจสอบจำนวนข้าวที่มีอยู่ และเราจะระบายข้าวอย่างไร นี่เป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการอีก 2 – 3 คณะที่จะดำเนินการต่อไป
เรื่องความมั่นคง
เรื่องการจับกุมอาวุธสงคราม วันนี้ คสช. ได้ออกหมายเรียก หมายจับ ไปหลายรายด้วยกัน โดยได้ดำเนินการจับกุมอย่างต่อเนื่อง วันนี้มีผู้มามอบตัวหลายราย มีการสอบสวน สืบสวนที่เป็นประโยชน์ และได้อาวุธ/ยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ มาเพิ่มขึ้น ซึ่งนี่เป็นความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ คสช. ต้องการที่จะสืบสวนข้อมูลต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง วันนี้ก็มีความก้าวหน้ามาตามลำดับ ซึ่งจะแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป โดยได้มีการสอบสวนอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เรื่องการบริหารจัดการน้ำ สาธารณูปโภค ที่ทุกคนเรียกร้องอยากให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขึ้น สิ่งนี้เราต้องมีความละเอียดรอบคอบในการวางแผนงาน คสช. ได้เร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ในปี 57 เราจะทำอะไรบ้าง และปี 58 งบประมาณประจำปี 58 จะทำอย่างไร อาจจะมีการหาเงินเพิ่ม ด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ ตลอดจนจะต้องมีการวางแผนงาน ทั้งน้ำและสาธารณูปโภค ในห้วงระยะกลางคือ 5 ปี ระยะยาวคือ 10 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ในแผนที่ 12 – 13 ต่อไปในอนาคต
เรื่องที่สังคมอยากทราบ
เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งที่สังคมคงอยากทราบคือในเรื่องของการจะที่เราจะเดินไปข้างหน้ากันอย่างไร เรื่องแรก คือ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่ง คสช. จะทำไว้โดยฝ่ายกฎหมาย ก็จะมีไม่เกิน 50 มาตรา ระบุให้รัฐบาลที่จะได้มีการจัดตั้งขึ้นมาภายในเดือนกันยายน 2557 ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะแก้ปัญหาของชาติบ้านเมืองที่มีเป็นจำนวนมากให้เป็นผลสัมฤทธิ์ตามความคาดหวังของประชาชน ซึ่งอาจจะต้องมีข้อจำกัดบางประการอยู่บ้างในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้หากใช้วิธีการบริหารราชการปกติทุกเรื่องอย่างที่ทุกคน หลาย ๆ ฝ่ายต้องการ ก็จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ได้แน่นอน ฉะนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ ต้องให้เวลา คสช. ให้โอกาส และเครื่องมือในการทำงานนี้ด้วย
เรื่องอำนาจ คสช./รัฐบาล มีการตรวจสอบถ่วงดุลกันเท่านั้น การบริหารจะเน้นหนักให้รัฐบาลเป็นผู้บริหารราชการ ด้านความมั่นคงจะเน้นหนักให้ คสช. ดูแลรับผิดชอบ สำหรับความร่วมมือระหว่าง 2 ฝ่าย คือการหารือร่วม ประชุมร่วม แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกัน มีการประชุมเมื่อจำเป็น และเสนอแนะข้อพิจารณาต่าง ๆ ให้รัฐบาลนำไปสู่การปฏิบัติ ในเรื่องอื่นๆ เป็นไปในลักษณะคำแนะนำที่ คสช. จะมีต่อรัฐบาล
การปรองดอง/การปฏิรูป
การปรองดอง
ต้องการให้สังคมเข้าใจ และแยกออกจากกันว่า การปรองดองคืออะไรการปฏิรูปคืออะไร การปรองดองคือ การสร้างสภาวะแวดล้อมสู่การปฏิรูป เพื่อให้ลดความขัดแย้งลงมีการพบปะพูดคุยกัน ระบายความคิดเห็นได้บ้าง ถ้าเราปรองดองกันไม่ได้ ก็ไปปฏิรูปกันไม่ได้แน่นอน เพราะฉะนั้นต้องหาทางออกจากความขัดแย้งให้ได้ก่อน จากทุกพวกทุกฝ่าย ในประเด็นของการปรองดองนั้นต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ/ทุกกลุ่มฝ่ายต้องลดความบาดหมาง กินใจ หรือความไม่ไว้วางใจต่อกัน และต้องทำอย่างต่อเนื่อง วันนี้เราทำให้ไม่เกิดการรับรู้ร่วมกัน มีการคบค้าสมาคมกัน มีความสุขร่วมกัน สดชื่น รื่นเริง แต่ขณะเดียวกันก็มีการรับฟังความคิดเห็นของทุกพวกทุกฝ่าย ในระดับพื้นที่ จนกระทั้งถึงระดับสำนักงานคณะกรรมการปรองดองและการปฏิรูปของ คสช. โดยทุกฝ่ายจะต้องหาจุดที่จะเข้าไปร่วมกันตรงนั้น ว่าจะหาทางออกของความขัดแย้งได้อย่างไร ทั้งในระยะเร่งด่วน และยั่งยืนในอนาคต ต้องทราบว่าขัดแย้งกันด้วยอะไร และจะแก้ด้วยอะไร
ถ้าทุกคนไม่เห็นชอบก็จะเดินหน้าไปไม่ได้ ต่อให้มีดนตรีทุกวัน มีเพลงฟังทุกวัน แต่ถ้าใจไม่ยอมรับกัน ก็ไม่สามารถแก้อะไรได้เลย แล้วจะอยู่กันอย่างไรต่อไปในอนาคต วันนี้ต้องช่วยกัน จะทะเลาะเบาะแว้งกันต่อไปไม่ได้แล้ว ต้องยอมรับในความต่าง ความชอบส่วนตัว ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ ผมอยากให้ไปดูบทเรียนของต่างประเทศ ที่น่าติดตามอยู่ขณะนี้คือประเทศอินโดนีเซีย ที่กำลังเลือกตั้งประธานาธิบดีอยู่ วันนี้ก็มีผลการเลือกตั้งในระยะที่ 1 ออกมาแล้ว ได้ฟังเขา เขามีประชาธิปไตยที่ผ่านมาประมาณ 20 ปีเท่านั้นเอง
แต่ปัจจุบันนี้เขามีประชาชนเป็นอันดับ 3ของโลก และเขาก็ยอมรับในความเห็นต่าง ความชอบที่แตกต่างกัน วันนี้เขาก็ยอมรับในผลของการเลือกตั้งในระยะที่ 1 โดยได้บอกว่า เขาได้ยอมรับในกติกาว่า ควรจะต้องเป็นอย่างไร แต่ทั้งนี้เราก็ต้องนำเขามาเป็นแบบอย่างเหมือนกัน ต้องนำอดีตมาเป็นบทเรียนว่าเราขัดแย้งกันอีกไม่ได้ ในเรื่องของประชาธิปไตย ดูตัวอย่างประเทศใหญ่ ๆ แต่ถ้าเราสร้างกลไกของประชาธิปไตยให้ดีแล้ว เหมือนที่เรากำลังจะทำในขั้นของการปฏิรูป ถ้าทุกคนร่วมมือกัน ก็จะไม่เกิดความขัดแย้งต่อไปในอนาคต เราก็จะเป็นอย่างที่เขาเป็น เราเสียเวลามามากแล้วเกี่ยวกับเรื่องของการเป็นประชาธิปไตยของไทย หลายสิบปีมาแล้ว นี่คงต้องแก้ไขให้ได้โดยเร็ว
การปฏิรูป
ขณะนี้ทางสำนักงานปฏิรูปฯ ของ คสช. ได้รวบรวมคน/ข้อมูลจากหลายภาคส่วนไว้แล้ว ในการทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ต้องการให้ทุกส่วนมีการเตรียมการจัดผู้แทน เพื่อไปสมัครเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป ในระยะที่ 2 โดยจะมีกระบวนการคัดสรรที่กำหนดไว้แต่เดิมประมาณ 11 กลุ่ม น่าจะประมาณ 550 คน และจะต้องไปเพิ่มเติมในส่วนของการคัดเลือกจากจังหวัดต่าง ๆ ด้วย เพื่อเป็นผู้แทนจังหวัด น่าจะจังหวัดละ 5 คน รวมเป็น380 คน ในส่วนของจังหวัดต้องคัดเลือกให้เหลือจังหวัดละ 1 คน โดยประมาณ ซึ่งจาก 380 คน ก็จะเหลือ 76 คน รวมกับจากกลุ่มปฏิรูป ที่รับสมัครจากทั่วไปอีก 11 กลุ่ม (550 คน) เหล่านั้นก็จะคัดสรรให้เหลือไม่เกิน 250 คน และแบ่งลงกลุ่มต่าง ๆ ให้ได้ทั้ง 11 กลุ่ม โดยจะต้องมีส่วนร่วมในทุก ๆ กลุ่ม ฉะนั้นเมื่อถึงเวลานั้นผู้ที่สมัครจากหน่วยงาน หรือจากทุกภาคส่วนที่มีสิทธิในการเข้ามาสมัครนั้น จัดอยู่ในนั้นรวมหมดแล้ว ถ้าไปสมัครไว้ตรงนั้น แล้วเมื่อตั้งขึ้น
- องค์กรสิทธิฯประสานเสียงร้องให้ปล่อยตัว14นักศึกษา หลังถูกขังเรือนจำ กลุ่มปชต.ใหม่แถลงสู้ต่อ
- “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” ทรงเป็นประธาน ในพิธีไหว้ครูและพระราชทานเหรียญรางวัลการศึกษาแก่นักเรียนนายร้อยประจำปีการศึกษา
- “รมว.พลังงาน” จ่อขยับภาษีแอลพีจีภาคขนส่ง
- สหรัฐพร้อมช่วยชาติในอาเซียนรับภาระผู้อพยพ
- “ททท.”ชี้คนจีนแห่เที่ยวไทย-คาดปีนี้ไม่ต่ำกว่า 6ล้านคน