สงวน มงคลศรีพันเลิศ จ.กระบี่ : ทำได้จริง “เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง”


11 

         “สงวน มงคลศรีพันเลิศ” หรือ “ลุงหงวน” วัย 53 ปี เป็นปราชญ์ชาวบ้านแห่งหมู่บ้านเขากลม ตำบลหนองทะเล จังหวัดกระบี่   ได้รับรางวัลมามากมายทั้งในระดับจังหวัด ระดับประเทศ อาทิ รางวัลเกษตรกรดีเด่นปี 2548 สาขาปศุสัตว์ รางวัล 76 คนดี แทนคุณแผ่นดิน ปี 2552 รางวัลการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านประชาชนทั่วไป ปี 2550 รางวัลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ชนะเลิศอันดับ 1 ระดับจังหวัดปี 2550 เป็นต้น  

          ล่าสุด นี้ผลงานสร้างสรรค์ของเขา ยังทำให้เมืองกระบี่เป็นแคนดิเดตระดับโลก ติดโผ 1 ใน 50 โครงการที่พึ่งตนเองได้จริง ขณะนี้ “ยูเนสโก” กำลังพิจารณาคัดเลือกและจะประกาศผลในเร็ว ๆ นี้ 

          ปัจจุบัน “ลุงหงวน” เป็นทั้งเกษตรกรและครูในฐานะประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม โดยมุ่งมั่นทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่คิดค้นขึ้นทั้งหมด 28 เรื่องให้กับนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้คนจากทั่วประเทศ รวมถึงฝรั่งและเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เดินทางมาศึกษาดูงานแทบทุกวัน ณ โรงเรียนชีวิตแห่งนี้ 

          เส้นทางชีวิตลุงหงวนก่อนที่จะกลับมาปักหลักที่บ้านเขากลมนั้น เคยผ่านชีวิตการทำงานเป็นลูกจ้างมาแล้ว แต่รายได้ก็แทบไม่เหลือทุกเดือน สุดท้ายจึงตัดสินใจกลับมาเริ่มต้นชีวิต “เกษตรกร” เต็มขั้น ท่ามกลางเสียงครหาของผู้คนว่าจะไปรอดหรือไม่ 

          ทว่าระยะเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านการคิดค้น สังเกต ตั้งคำถาม ใฝ่หาความรู้และลงมือทำจริง มีทั้งการลองผิดลองถูกจนบังเกิดผลสำเร็จจริง กลายเป็นบ่อเกิดขององค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์มากมายสำหรับคนที่ต้องการเดิน บนเส้นทาง “พึ่งตนเอง”  

          นอกจากองค์ความรู้ 28 เรื่องที่นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะแบบหมดเปลือกแล้ว ปราชญ์ชาวบ้านผู้นี้ยังมีหลักคิดที่แหลมคมลึกล้ำยิ่ง 

          “วันนี้คนไทยวิกฤตมาก คือ วิกฤตความคิด ไม่ได้วิกฤตเรื่องอื่น ในโรงเรียนเขาตัดยอดเรื่องวิธีคิดหมดเลย สมัยปู่ย่าตายาย ท่านสอนให้เรารู้เรื่องตัวเองเป็นหลัก แต่วันนี้เขาสอนให้รู้เรื่องคนอื่น แต่ห้ามรู้เรื่องเราเอง”  

          “ประเทศไทยโชคดีที่เรามีพ่อ คือ องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีแนวคิดการพึ่งตนเองเป็นหลัก ซึ่งเราจะต้องมองตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น กลับมาพึ่งตนเองให้ได้ ตั้งความคิดให้ถูก” 

           ลุงหงวนย้ำว่า แนวทางพึ่งตนเองนั้น เราจะต้องเตรียม 4 อย่างคือ 1.เตรียมตัวก่อนตาย 2.เตรียมกายก่อนแต่ง 3.เตรียมน้ำก่อนที่จะแล้ง 4.เตรียมแรงก่อนที่จะทำงาน แต่ทั้งหมดนี้ต้องควบคุมด้วย “ความรู้” ที่อยู่บนพื้นฐาน “ความจริง” กำกับด้วยคำว่า “พอ”   

 

           ปัจจุบัน “ลุงหงวน” เป็นทั้งเกษตรกรและครูในฐานะประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม โดยมุ่งมั่นทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่คิดค้นขึ้นทั้งหมด 28 เรื่องให้กับนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้คนจากทั่วประเทศ รวมถึงฝรั่งและเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เดินทางมาศึกษาดูงานแทบทุกวัน ณ โรงเรียนชีวิตแห่งนี้ 

           เส้นทางชีวิตลุงหงวนก่อนที่จะกลับมาปักหลักที่บ้านเขากลมนั้น เคยผ่านชีวิตการทำงานเป็นลูกจ้างมาแล้ว แต่รายได้ก็แทบไม่เหลือทุกเดือน สุดท้ายจึงตัดสินใจกลับมาเริ่มต้นชีวิต “เกษตรกร” เต็มขั้น ท่ามกลางเสียงครหาของผู้คนว่าจะไปรอดหรือไม่ 

           ทว่าระยะเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านการคิดค้น สังเกต ตั้งคำถาม ใฝ่หาความรู้และลงมือทำจริง มีทั้งการลองผิดลองถูกจนบังเกิดผลสำเร็จจริง กลายเป็นบ่อเกิดขององค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์มากมายสำหรับคนที่ต้องการเดิน บนเส้นทาง “พึ่งตนเอง”  

           นอกจากองค์ความรู้ 28 เรื่องที่นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะแบบหมดเปลือกแล้ว ปราชญ์ชาวบ้านผู้นี้ยังมีหลักคิดที่แหลมคมลึกล้ำยิ่ง 

           “วันนี้คนไทยวิกฤตมาก คือ วิกฤตความคิด ไม่ได้วิกฤตเรื่องอื่น ในโรงเรียนเขาตัดยอดเรื่องวิธีคิดหมดเลย สมัยปู่ย่าตายาย ท่านสอนให้เรารู้เรื่องตัวเองเป็นหลัก แต่วันนี้เขาสอนให้รู้เรื่องคนอื่น แต่ห้ามรู้เรื่องเราเอง”  

 

          สำคัญที่สุดคือ เมื่อทำเพื่อตัวเองแล้วต้องขยายผลไปสู่ชุมชน มีการเสียสละมากขึ้น ต้องนำความจริงมาเป็นที่ตั้ง เอาความสุขมาเป็นตัวชี้วัด ที่ขาดไม่ได้คือ การมีน้ำใจ รู้จักให้คนอื่น 

          “เขาบอกว่า เกษตรกรยากจน แต่วันนี้เรากลับมาที่เดิมได้ แต่ห้ามทำแบบเดิม ๆ สรุปคือ คนเอาของเก่ามาทำแบบเดิม ๆ มันผิดทันที ท่านต้องเป็นมืออาชีพอย่างเดียวเท่านั้น” 

          ลุงหงวนสรุปความจนว่ามี 5 จน คือ 1.จนที่ดิน คือ ไม่มีที่ทำกิน 2.จนปัญญา แม้จะมีที่ดินทำกินเยอะ แต่จนปัญญาไม่รู้จะทำอะไรกิน ขี้เกียจ 3.จนเวลา เรื่องนี้คนกรุงเทพฯเจอเยอะไม่มีเวลา 4.จนใจ 5.จนตังค์ไม่มีเงินใช้ แต่ถามว่า 5 เรื่องนี้มันจนจริงมั้ย…? 

          ในทางกลับกัน ”คนรวย” ก็มี 5 ข้อ คือ 1.มีที่ดินเป็นของตนเอง ขอแค่ 1 ไร่ก็ทำให้รวยได้ (รวยที่ดิน) 2.มีสามี ภรรยา ลูกและผู้ปกครอง แต่ต้องคุยกันรู้เรื่อง (รวยญาติมิตร) 3.มีแสงแดด ช่วยปรุงอาหาร (รวยทรัพยากรธรรมชาติ) 4.รวยอากาศ ฝรั่งเมืองนอกยังนั่งเครื่องบินมาสูดอากาศที่กระบี่ และ 5.รวยน้ำ มีข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ 

          “นี่คือคำตอบว่า วันนี้เกษตรกรไม่ได้จน แต่มันจนจริง ๆ ถ้า…ไม่พึ่งตนเอง” 

 

          ลุงหงวนบอกว่า วันนี้ใครที่คิดจะพึ่งตนเอง ก้าวแรกที่จะต้องทำอันดับแรก คือ 1) ต้องมีปรัชญาความพอเพียง คือต้องมีหลักคิดมาก่อน 

          ต้องเปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตจึงจะเปลี่ยน  

           วิธีการคิดให้ท่อง 4 ข้อ คือ ตั้งคำถามว่า ทำ…ทำไม, ทำอย่างไร, ทำเมื่อไร และทำให้ใคร…? 

          ขั้นตอนที่ 2) คือ ใช้ปัญญา ความพากเพียร ความกล้าหาญ และ 3) แสวงหาความรู้ และใช้ความรู้ เพราะความสำเร็จของคนไม่ใช่ “พรสวรรค์” แต่เป็น “พรแสวง” ทั้งสิ้น 

          โลกนี้อยู่ในระบบทุนนิยม ถามว่าทุนนิยมผิดมั้ย…ตอบว่าไม่ผิดถ้าเรารู้จักบริโภค มันเป็นโลกาภิวัตน์ ยังไงเราก็หนีไม่พ้นวงจรนี้ แต่ปัจจุบันคนเลือกบริโภคไม่เป็น โดนครอบงำด้วยสื่อ เชื่อตามนั้น คนหลงไปหมดแล้ว วันนี้ประเทศไทยสอนมากกว่าเรียน 

           “สมัยพ่อแม่คิดให้รอด ไม่คิดให้รวย แต่รวยน้ำใจ รวยเพื่อน คนสมัยก่อนเอาชีวิต เอาความสุขเป็นเป้าหมาย เอาตังค์มาเป็นเครื่องมือ แต่สมัยนี้เอาชีวิตเข้าแลก ขายตัวก็ยอม ทิ้งลูกแลกกับเงิน ติดยาเสพติดเต็มไปหมด” 

           ฉะนั้น วิกฤตมากเท่าไหร่…ดีเท่านั้น เพราะคนจะกลับมาหาความจริงมากขึ้น แต่ทำไมคนยังไม่กลับบ้าน เพราะวันนี้ความฝันของเขายังไม่หมด วันนี้คนที่ทำงานมีเงินเดือน เราอย่าไปถามว่าได้เงินเดือนเท่าไหร่ แต่ให้ถามว่าเหลือเท่าไหร่ 

              ลุงหงวนฝากข้อคิดถึงคนรุ่นใหม่ที่จะกลับมาถิ่นเกิด หรือกลับมาทำการเกษตรว่า เรามีทุนทางธรรมชาติมหาศาลอยู่แล้ว แต่อย่ากลับมาเป็น “อาชีพเกษตรกร” ให้กลับมาเป็น “มืออาชีพ” เท่านั้น ซึ่งเกษตรกรมืออาชีพต้องมี 7 เรื่อง คือ 1.มีที่ดินและดินดี 2.มีน้ำ 3.มีอากาศ 4.มีจุลินทรีย์ 5.มีพืช 6.มีสัตว์ 7.มีคน 

            สุดท้ายคนก็จะตายลงดิน 

            สิ่งที่ปราชญ์ชาวบ้านคนนี้ห่วงใยที่สุดในเวลานี้ก็คือ คนแห่ขายที่ดิน ไม่มีที่ทำกินแล้ว   

           “คนไทยต้องคิดไว้เสมอว่า…อย่าทิ้งผืนแผ่นดิน”    . 

ประชาชาติธุรกิจ


uasean

 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ chaoprayanews.com ดูทั้งหมด

587

views
Credit : chaoprayanews.com


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน