ไทยถอยหลังรังเพื่อนอาเซียนติดหล่มพัฒนาการเมืองเศรษฐกิจ

 

ไทยถอยหลังรั้งเพื่อนอาเซียนติดหล่มพัฒนาการเมืองเศรษฐกิจ

การชุมนุมยืดเยื้อไม่จบ เหตุเข้าข่ายซีโร่ซัมเกม สองฝ่ายต้องการเป็นผู้ชนะ ฉุดขาดโอกาสพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจเผยใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จะหลุดกับดัก เผยไทยเดินถอยหลังขณะทีเพื่อนบ้านอาเซียน เดินหน้าสู่การพัฒนา สัญญาณหลุดวงโคจรแหล่งเงินทุน

 

 

งานบรรยาสรุปสำหรับสื่อมวลชน เรื่อง “การชุมนุมทางการเมือง :ภาพสะท้อนการเติบโตของประชาธิปไตยในดินแดนอาเซียน “ จัดโดย ชมรมนักข่าว ณ อาคารสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง มองความขัดแย้งจากชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นจะมีความยืดเยื้อออกไปอีกยาวนาน เพราะรัฐบาลเป็นฝ่ายได้เปรียบจึงเล่นเกมลากยาวได้ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ที่เรียก ชนะได้หมด แพ้เสียหมด (zero sum game) ทั้งสองฝ่ายจึงแข่งขันกันเพื่อเป็นผู้ชนะ ไม่มีผู้ต้องการเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้การสู้เกิดขึ้นยาวนานฝ่ายหนึ่งต้องการล้มล้างอำนาจรัฐบาล ขณะที่ฝ่ายรัฐบาล มีฐานมวลชนกลุ่มที่ผูกพันธ์ และชื่นชอบนโยบายผลประโยชน์ตอบแทนด้วยประชานิยมจากรัฐบาล

ทั้งนี้จึงมองว่า การต่อสู้ครั้งนี้ มีโอกาสยืดเยื้อยาวนานและยังไม่มีจุดจบ ทำให้ไทยต้องติดอยู่ในกับดัก "วงจรอุบาทว์" ที่มีนักการเมืองแสวงหาอำนาจ ด้วยการได้มาซึ่งการซื้อเสียงและโกงการเลือกตั้ง รัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งก็ดำเนินนโยบายระยะสั้นที่เอาใจฐานเสียงทางการเมืองแทนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว จึงทำให้ประชาชนอีกฝ่ายที่ไม่พอใจรัฐบาลที่มีอำนาจลุกขึ้นมาขับไล่รัฐบาล

รศ.ดร.สมชาย กล่าวต่อว่า การเมืองจะเกิดประโยชน์ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงต่อประเทศก็ต่อเมื่อ นักการเมืองทั้งสองฝ่าย มองเห็นประโยชน์ของประเทศเปิดการเจรจาแบบแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย (Win Win) หรือการที่ทั้งสองฝ่ายต่อสู้ไปจนเริ่มเกิดความเสียหายด้วยกันทั้งสองฝ่ายจนไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ (Negative sum game ) เพราะต่างคนต่างเสียหายทั้งคู่ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายคู่ขัดแย้งเดินเข้าสู่แนวทางเจรจา

“การต่อสู้นี้มีโอกาสที่จะลากไปอีกยาวนาน เพราะรัฐบาลเป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงลากยาวออกไป ต้องการให้เลือกตั้งก่อนแล้วจึงค่อยปฏิรูป จึงถือว่ามีความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ตัวอย่างที่จบแบบผลประโยชน์ประเทศเป็นตัวนำคือ จีน และญี่ปุ่นทะเลาะกัน เรื่องหมู่เกาะ เซนกากุ ที่ทั้งสองฝ่ายรู้ดีว่ายิ่งทะเลาะกันยิ่งมีแต่เสียหายทั้งคู่ จึงหันมาจบยึดผลประโยชน์ชาติเป็นหลักยุติการทะเลาะ แต่นักการเมืองไทย ยังไม่มีใครที่มองผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก“

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า เมืองไทยต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีในการปฏิรูปเรียนรู้การพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกันกับโมเดลการปฏิรูปประชาธิปไตยของยุโรป ที่ไม่ได้มีความหมายแค่เพียงการเลือกตั้ง แต่ต้องเริ่มต้นจากการได้มาซึ่งการเลือกตั้ง การคงอยู่ และการจบ หรือลงจากตำแหน่ง ซึ่งหากมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ก็จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนประเทศอย่างมีอนาคตในระยะยาว มากว่า คำนึงถึงผลประโยชน์ระยะสั้น ที่มีโอกาสทำให้ไทยเสียโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในระยะยาว

เขายังเปรียบเทียบสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในอาเซียน พบว่า มีทั้งเหมือนและคล้ายกัน โดยโครงสร้างของไทยคล้ายกันกับกัมพูชาที่สุด ซึ่งปัญหาเริ่มต้นจากการเปิดเสรีเศรษฐกิจด้วยระบบทุนนิยม เข้ามามีบทบาท ทำให้เกิดช่องทางทางคนรวยและคนจนมากขึ้น ขณะที่ระบบการศึกษายังไม่พัฒนา รู้เท่าทันนักการเมือง จึงทำให้ประชาชนไม่สามารถแยกแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว กับผลประโยชน์ของชาติออกจากกัน นักการเมืองจึงใช้นโยบายประชานิยมเข้ามาสร้างคะแนนนิยม

เขามองว่า เมืองไทยจะต้องตกอยู่สภาพเช่นนี้อีกยาวนาน แม้จะเริ่มมีหลายฝ่ายก้าวขึ้นมาเรียกร้องการปฏิรูป แต่ยังมีพลังสร้างอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงค่านิยมของคนในสังคมที่ไม่ต้องยอมรัปคอร์รัป พร้อมกับต้องการปฏิรูปชัดเจน

ประเทศที่กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นประชาธิปไตยที่เกือบจะสมบูรณ์คือ มาเลเซีย และสิงคโปร์ เนื่องจากมีพื้นฐานการศึกษาที่แข็งแรง ประชาชน ไม่ยอมรับกับระบบคอร์รัปชัน ขณะที่ลาว และเวียดนาม มีจุดเปลี่ยนแปลงน้อยมากที่จะนำไปสู่ความวุ่นวายจนเกิดการชุมนุมทางการเมือง เนื่องมาจาก เป็นประเทศระบอบสังคมนิยม ที่รัฐบาลยังมีอำนาจในการควบคุมสื่อ ประชาชนจึงไม่มีการแตกแยกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน ขณะที่ พม่า มีรัฐบาลทหารที่แข็งแกร่ง และพร้อมในการวางโครงสร้างการเปิดรับทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังโอกาสเกิดความวุ่นวายทางการเมืองได้ เพราะเริ่มถูกบีบให้เปิดประเทศจากกลุ่มทุนต่างชาติ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดของประชาชน ที่จะเริ่มลุกขึ้นมาไม่ยอมรับอำนาจทหาร หากยังคงบริหารโดยยึดผลประโยชน์ในแบบเดิม

ขณะที่ฟิลิปปินส์ ได้ผ่านพ้นจากความวุ่นวายทางการเมืองแล้ว หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปครั้งใหญ่ขับไล่ ประธานาธิปบดี มากอส ที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น  ทำให้คนเริ่มหันมามองประโยชน์ของชาติ เช่นเดียวกันกับอินโด ก็หลุดจากอำนาจของซูฮาโต แล้ว จึงเหลือเพียงไทยประเทศเดียวที่ยังถูกครอบงำโดยอำนาจทางการเมืองด้วยทุนนิยม

“ประเทศไทยดูจะเดินถอยหลังหากเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน  ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับกัมพูชา เนื่องมาจาก โครงสร้างของคนรวยกับคนจน มีอยู่มาก และคนยังอ่อนด้อยทางการศึกษา และยังไม่มีค่านิยมการไม่ยอมรับคอร์รัปชัน อย่างจริงจังที่ลงลึกไปถึงระดับเยาวชน” เขากล่าว

ด้านนายทรงฤทธิ์ โพนเงิน นักเขียนและนักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญประเทศลุ่มน้ำโขง กล่าวถึงความวุ่นวายทางการเมืองของกัมพูชาว่าเป็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันกับประเทศไทย ที่มีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็น 2 ขั้ว แต่ทางกัมพูชา มีพลังของคนรุ่นใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาให้กับนายสม รังสี พรรคการเมือง ขั้วตรงกันกับกับ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรี ของกัมพูชา ถึง 2 ล้านเสียง ที่มีแนวโน้ม เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญขึ้นในกัมพูชาได้ในอนาคต

เขามองว่า ฮุนเซน  นายกรัฐมนตรีกัมพูชาคนปัจจุบัน พยายามยื้อการเลือกตั้งออกไป เพราะรู้ดีกว่า ฐานเสียงของตัวเองหายไปมาก จึงพยายามเดินหน้าแผนปฏิรูปบางส่วนโดยการเปิดทางให้พรรคฝ่ายค้านเข้ามามีบทบาทในการเป็นคณะกรรมาธิการ ในสภา”

อย่างไรก็ตาม ทุนข้ามชาติกับการเมือง มีส่วนที่ฉุดการพัฒนาประประชาธิปไตยและเศรษฐกิจของประเทศ กลางเป็นวงจรอุบาทว์ ที่เข้ามาซื้อเสียงเพื่อรักษาอำนาจ ฐานเสียง ระบบทุนนิยมที่อุปถัมภ์การเมืองเช่นนี้เติบโตขึ้นมาในสังคมของกัมพูชาอย่างยาวนาน ที่ทำให้คนเกิดช่องทางของคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้น

ด้าน อาจารย์สกุล สื่อทรงธรรม กรรมการ ANFREL และมูลนิธิองค์กรสื่อกลางเพื่อประชาธิปไตย ให้ความเห็นว่า กระบวนการได้มาซึ่งประชาธิปไตยของประเทศไทยไม่สมบูรณ์ เนื่องมาจากขาดองค์ประกอบหลายด้าน อาทิ สื่อขาดความเป็นกลาง และยังเปิดทางให้เกิดการซื้อเสียงมากมาย ทำให้ระบบการเลือกตั้งของไทยขาดความบริสุทธิ์ยุติธรรม

 

“มีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมาย การทำให้การเลือกตั้งนั้นบริสุทธิ์ ทำไมการซื้อเสียงเกิดขึ้นได้ เพราะมีหัวคะแนน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซื้อเสียงเกิดขึ้นได้เพราะผู้เลือกตั้งขาดข้อมูลความรู้ จึงถูกชักจูงได้ง่าย การเลือกตั้งจึงไม่เป็นโครงสร้างที่ดี

 

ผู้สมัครต้องให้ข้อมูลนโยบายหลังจากได้รับการเลือกตั้ง คนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้พรรค เช่น หัวคะแนน ต้องได้รับการอบรม มีการให้ข้อมูล ถือเป็นประชาธิปไตยที่ดี แต่เราไม่ค่อยให้ความสำคัญ สื่อชอบความหวือหวา การนำเสนอของสื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนเกิดความคิดใหม่”

อ้างอิงจากแหล่งที่มาของข่าว

ASEAN Journalists Club AJC


uasean
 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ presscouncil.or.th ดูทั้งหมด

397

views
Credit : presscouncil.or.th


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน