ประกันฯสายพันธุ์ไทยตบเท้าขยายธุรกิจสู่ AEC

ท่ามกลางกระแสการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ธุรกิจประกันเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตา ด้วยมูลค่าตลาดที่มหาศาล จากเบี้ยประกันรวมปี 55/56 อยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นประกันชีวิต 1.39 ล้านบาท และประกันวินาศภัย 8.8 แสนล้านบาท ถือเป็นแหล่งเงินและตลาดเปิดใหม่ที่มีอนาคต ซึ่งไม่แปลกที่ทั้งทุนไทยและทุนนอกต่างจ้องตาเป็นมัน

MAP001+

สำหรับประเทศไทย ถือว่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความแข็งแกร่ง ด้านธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต ซึ่งประกอบด้วย ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์

แต่ไทยมีจุดที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆในกลุ่มตรงที่มี ภูมิศาสตร์ ซึ่งอยู่ตรงกึ่งกลางในอาเซียน การเดินทางจึงสะดวกรวดเร็ว (คงเหลือเพียงการจัดระบบคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานให้ทันรองรับการเปิดเสรี)

ดังนั้นบริษัทประกันต่างๆของไทย จึงเร่งขยายตลาดเพื่อนบ้านรอบๆไทย ที่ถือเป็นตลาดเปิดใหม่สำหรับธุรกิจประกัน และมีหลายรายได้เข้าไปเปิดสำนักงานตัวแทนในประเทศเหล่านี้  ได้แก่ ประเทศเมียนม่าร์ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ดังนั้นจึงขอกล่าวถึงธุรกิจประกันชีวิตเป็นอันดับแรก

ทั้งนี้ประเทศเมียนม่าร์ หรือพม่า เป็นประเทศเนื้อหอมที่ บริษัทต่างๆ และประเทศต่างๆที่มีความเข้มแข็งต่างแห่เข้าไปลงทุน หรือเปิดบริษัท โดย บริษัทเมืองไทย ประกันชีวิต เป็นรายแรกที่ได้รับอนุมัติจากประเทศพม่า ให้สามารถจัดตั้งสำนักงานผู้แทน (Representative Office) เพื่อทำหน้าที่ในการให้บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจประกันชีวิต สำหรับประชาชนในพม่าและให้ประชาชนรู้จักเมืองไทยประกันชีวิตมากขึ้น เพราะถือเป็นโอกาสดีในการขยายธุรกิจที่พม่าซึ่งเปิดให้ต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่อ จากจำนวนประชากรมากกว่า 60 ล้านคน

สำหรับการรับมือธุรกิจประกันชีวิตจากต่างประเทศจะเข้ามาในไทยนั้น สาระ ล่ำซำ กรรมการผุ้จัดการใหญ่ ของเมืองไทยประกันชีวิต เผยว่า “ได้เตรียมความพร้อมไว้พอสมควร ทั้งเรื่องแบบประกันที่หลากหลายพร้อมเป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้  ส่วนหนึ่งคือแบบประกันประเภทคุ้มครองและออมเงิน ถือเป็นตลาดที่บริษัทมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว”

“รวมถึงแบบประกันกึ่งลงทุนอย่าง ยูนิเวอร์แซลไลฟ์และยูนิตลิงค์ ก็มีความพร้อมเช่นกัน ส่วนด้านการบริหารก็ได้จัดตั้งฮับไว้ในพื้นที่หัวเมืองรวม 5 ภาค เพื่อรองรับการบริหารในแต่ละจุดอย่างทันการณ์ และลงทุนในระบบไอทีเพื่อให้เป็น “ดิจิตอล อินชัวเรอร์” ด้วยการใช้ระบบดิจิตอลเข้ามาสนับสนุนในการทำงานทุกขั้นตอน”

ก่อนหน้านี้ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิตได้เข้าไปร่วมทุนกับรัฐบาลกัมพูชา โดยตั้งบริษัท คัมโบเดีย ไลฟ์ อินชัวร์รันส์ และถือว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกที่ได้เข้าไปลงทุนในกัมพูชา อีกด้วย เพราะที่ผ่านมากัมพูชาไม่เคยอนุญาตให้บริษัทประกันชีวิตรายใดเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศของตัวเอง ส่วนประกันวินาศภัยในประเทศกัมพูชานั้นมีอยู่ด้วยกันประมาณ 6-7 บริษัทด้วยกัน แต่หากนึกถึงความน่าลงทุนยังแพ้พม่า เพราะการเมืองยังมีปัญหาไม่แพ้ไทย

ทั้งนี้ บริษัท คัมโบเดีย ไลฟ์ อินชัวร์รันส์ มีทุน จดทะเบียนเริ่มต้นที่ 7 ล้านดอลลาร์ หรือ คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 210 ล้านบาท มีรัฐบาลกัมพูชาถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 51% บริษัท กรุงเทพประกันภัย ถือหุ้น10% กรุงเทพประกันชีวิต 10% ที่เหลือเป็น บริษัทประกันจากอินโดนีเซีย 19% และ บริษัทประกันในฮ่องกง 10% เมื่อคิดเป็นสัดส่วนการถือครองหุ้นครั้งนี้แค่ 10% แต่คิดเป็นเม็ดเงินแค่ 21 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ได้มาก

ซึ่งนายโชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ให้ความมั่นใจว่า เป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการขยายฐานธุรกิจในอนาคต เพราะได้เริ่มเปิดขายกรมธรรม์มาตั้งแต่ต้นปี 2555 ถึง ปัจจุบันก็ขายกรมธรรม์ในกัมพูชา มาแล้ว 2 ปีกับ 1 เดือน

ด้านบริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต ก็ได้เสริมทัพจาก ไดอิจิ ไลฟ์ บริษัทสายพันธุ์ญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาถือหุ้นบริษัท 24% ให้การสนับสนุน ในการรุกตลาดเออีซี อย่าง เต็มที่ ซึ่งกำลังพัฒนาหลายๆด้าน เพื่อให้มีความพร้อม และความแข็งแกร่งมากกว่านี้ โดยจะนำประสบการณ์จากการขยายงานไปในภูมิภาคนี้ได้แก่อินโดนีเซีย และเวียดนาม เข้าสู่บริษัท ซึ่งผู้บริหารกระซิบว่ากำลังหารือว่าจะรุกประเทศเพื่อนบ้านแห่งใดก่อน

นอกจากนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ยังไม่ให้ข้อมูลชัดเจน คือบริษัทไทยประกันชีวิต โดยไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เผยว่า บริษัทกำลังศึกษาการรุกตลาดเออีซีอยู่ ซึ่งเป็น ที่มาที่เปิดทางให้ เมจิ ยาซึดะ ไลฟ์  เข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 15%  ของทุนจดทะเบียน 10,600 ล้านบาท เมื่อปลายปี2556 โดย สิ่งที่ไทยประกันชีวิต คาดหวังจากเมจิ ยาซึดะ ไลฟ์ คือ ความรู้ความชำนาญ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับบำนาญ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อให้บริษัทสามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

การเปิดทางให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในไทยประกันชีวิต ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรก ที่กลุ่มไชยวรรณ กลุ่มที่ถือหุ้นใหญ่ไทยประกันชีวิต 100% ยอมสละหุ้นออกมา เพราะต้องการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ตลาดเออีซี เพื่อไม่ให้ตกกระแสนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีบริษัทประกันวินาศภัยของไทยก็เตรียมเกมที่จะรุกตลาดเออีซี ซึ่งในโอกาสหน้า MThai Newsจะได้นำเสนอต่อไป

MThai News

 ,,
ติดต่อทีมข่าว : news@mthai.com
 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ mthai ดูทั้งหมด

335

views
Credit : mthai


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน